Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538
"SAT ก็ยังเน้นเฉพาะการจำเพื่อไปสอบ" ดร.ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์             
 

   
related stories

"ดีขึ้นกว่าระบบเดิม แม้จะดูค่อนข้างซับซ้อนในการหามาตรฐาน" นพ. นที รักษ์พลเมือง
"โรงเรียนกวดวิชา "ติวระยะสั้นจะสำคัญน้อยลง"

   
search resources

ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์
Education




ดร. ฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ ผู้อำนวยการ มูลนิธิสถาบันเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวให้ความเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า "เพราะระบบเดิมมันเป็นตัวทำลายระบบการศึกษามัธยมปลายของเรากว่า 80% แต่ผมว่าต่อไปแทนที่พ่อแม่ผู้ปกครองจะต้องขับรถส่งลูกเพื่อไปติวเข้าสอบเอนทรานซ์ ก็ต้องขับไปส่งติว SAT เหมือนกัน มันมีการติวได้แน่นอน เพราะเราไม่ใช้วิธีการสอบเขียนเรียงความ แต่เป็นช้อยส์เลือกเหมือนระบบเดิม ๆ ฉะนั้นแล้วมันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร"

โดยที่ผ่านมา ทางสหรัฐอเมริกาเริ่มวิเคราะห์ผลเสียของ SAT เพราะโดยเห็นข้อสอบ SAT ก็ยังเน้นเฉพาะการจำเพื่อไปสอบ ซึ่งเด็กไม่ค่อยมีโอกาสที่จะเขียน ทำให้เด็กไม่มีพัฒนาการทางด้านเรียงความ

ในความคิดเห็นของ ดร. ฉลองภพมองว่า ระบบใหม่นี้สามารถทดสอบเด็กในเรื่องเรียงความได้ เพราะมีเวลา และก็ไม่บีบเด็กเกินไป เพราะไม่ได้สอบรวดเดียวทุกวิชา กรมวิชาการก็มีเวลาตรวจข้อสอบ หรือจะเป็นทบวงก็แล้วแต่ เพียงแต่จะให้มีข้อสอบแบบเรียงความนี้กันมากน้อยแค่ไหน

แต่อย่างไรก็ตาม ดร. ฉลองภพยอมรับการตรวจข้อสอบแบบปรนัยยังอาจจะยากลำบากอยู่

"แล้วเรื่องจะให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งสามารถกำหนดวิชาที่จะให้เด็กสอบได้เอง ผมเห็นว่ามันจะทำให้เราเสียทรัพยากรไปโดยใช่เหตุ เนื่องจากมหาวิทยาลัยเรามักทำอะไรไม่ค่อยสอดคล้องกันอยู่แล้ว" ดร. ฉลองภพให้ความเห็น พร้อมกับให้ตัวอย่างว่า เด็กที่จะเข้าไปเรียนแพทย์ในขั้นที่อยู่มัธยมปลาย เด็กจะต้องรู้ว่าต้องมีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ พวกนี้เท่าไร ฉะนั้นวิชาต่าง ๆ ที่เด็กสอบก็ไม่จำเป็นต้องสอบเหมือนกันทุกคน

ดร. ฉลองภพให้ความเห็นอีกว่า ทบวงกับกระทรวงศึกษาต้องร่วมกัน เพราะไม่ร่วมกันแล้วคนที่รับเคราะห์คือเด็ก ซึ่งในการพัฒนาคุณภาพคน "ไม่ใช่จะเอาเรื่องสอบเรื่องเดียวมาดู ยิ่งต่างคนต่างออกนโยบาย เด็กก็ยิ่งสับสน สุดท้ายคือว่าทุกอย่างต้องไปติว เพื่อสอบให้ได้ ตรงนั้นเด็กเราก็ไม่สามารถพัฒนาได้"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us