Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน24 กรกฎาคม 2549
เร่งสรุปผลสรรหาเอ็มดีบตท.             
 


   
search resources

บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย (บตท.)
Real Estate
Loan




นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะประธานกรรมการบรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้การสรรหากรรมการผู้จัดการ บตท. คนใหม่ใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว โดยได้มีการสัมภาษณ์ผู้สมัครจำนวน 5 ราย ไปเมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา และคาดว่าสรุปผลนำเสนอต่อบอร์ด บตท. ในการประชุมบอร์ดช่วงสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ จากการรับสมัครได้มีผู้แสดงความสนใจยื่นใบสมัครเข้ามาจำนวน 6 ราย ได้แก่ นายพศิน พงษ์พิทักษ์โสภณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน นายฐิติภัทร ฝากตัว นายขจรศักดิ์ เจียรธนากุล ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัทบริหารสินทรัพย์รัตนสิน นายธีรภัทร ตันศุขะ นายพิสุทธิ์ ชลากรกุล กรรมการและกรรมการบริหารธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และนางดวงพร อาภาศิลป์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) แต่ล่าสุดได้มีผู้สมัครถอนตัวไป 1 ราย

แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง กล่าวว่า หลังจาก บตท. ได้กรรมการผู้จัดการคนใหม่เข้ามาบริหารงานแล้ว จะเร่งเดินหน้างานต่างๆ ที่คั่งค้างอยู่ทันที ทั้งการบริหารจัดการแก้ปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) และการดำเนินการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์(ซีเคียวรีไทเซชั่น) ในโครงการบ้านเอื้ออาทร บ้านมั่นคง ที่ได้ตกลงไว้กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ไปก่อนหน้านี้

ทั้งนี้ คาดว่า บตท. ไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนแล้ว เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ได้ดำเนินการแก้ปัญหาเอ็นพีแอลให้ลดลงไปได้มาก จากที่มีอยู่กว่า 1,800 ล้านบาท เหลือเพียงกว่า 1,000 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเอ็นพีแอลในส่วนที่เหลือนี้ อาจจะขายให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ (เอเอ็มซี) ซื้อไปบริหารในราคาที่คิดขั้นต่ำสุด 50% เชื่อว่าจะขาดทุนเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น

"เมื่อก่อนคิดว่าขายแล้วขาดทุนมาก เพราะจะเอาทั้งก้อนขาย สมัยก่อนที่คิดว่ามีประมาณ 1,800 ล้าน จะขายทั้งก้อน มันก็จะขาดทุนประมาณ 800 ล้านบาทเลย เพราะทุนจดทะเบียน บตท. มี 1,000 พันล้าน หากขายทั้งก้อนก็จะขาดทุนเลย 800 ล้านบาท ซึ่งพอขาดทุนก็ต้องเพิ่มทุนเลย แต่คราวนี้เราเคลียร์หนี้ได้บางส่วนแล้ว ส่วนที่เหลือขายขั้นต่ำก็ยังเหลือเงินอีก 500 ล้านบาท การที่จะเพิ่มทุนก็ไม่จำเป็นแล้ว" แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับการแก้ปัญหาเอ็นพีแอลที่เหลือ ในส่วนที่เกิดจากโครงการเอกสยามมีมูลค่า 250 ล้านบาท คิดว่าจะไม่ขายให้กับบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) เพราะเป็นหนี้ดีที่สามารถขายให้เอกชนในราคาตลาดได้ แต่ที่เกิดจากโครงการบ้านพนารีประมาณ 70 ล้านบาท คงแยกขายไม่ได้ เพราะเป็นโครงการที่แย่มาก ไม่มีสินทรัพย์ที่มีมูลค่ามากพอ คาดว่าคงจะขายรวมกับกองเอ็นพีแอลอื่นๆ

นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บตท. กล่าวว่า แผนการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของ บตท.ที่มีอยู่กว่า 1,800 ล้านบาทนั้น ได้มีแยกเอ็นพีแอลออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1.หนี้เอ็นพีแอลที่เกิดจากการทุจริตในโครงการสินเชื่อที่อยู่อาศัย 30 ปี โดยเป็นสินเชื่อในโครงการเอกสยามและโครงการบ้านพนารี ซึ่งมีมูลหนี้รวมกันประมาณ 300 ล้านบาท

2.เป็นหนี้ที่ลูกค้าผู้มีรายได้น้อยประสบปัญหาจากภาวะเศรษฐกิจไม่ดี ซึ่งมีมูลหนี้อยู่ประมาณ 700 ล้านบาท โดยลูกหนี้ในส่วนนี้ทาง บตท.ได้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีตามขั้นตอนของกฎหมาย มีการเข้าไปตรวจสอบว่าลูกหนี้กลุ่มนี้ บตท.จะสามารถเข้าแก้ไขได้อย่างไร ในเบื้องต้นได้ดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับลูกค้ากลุ่มนี้ด้วยการลดเบี้ยปรับ ยืดเวลาการผ่อนชำระและลดวงเงินผ่อนชำระต่องวดลง

และ 3.ลูกหนี้ที่จงใจหยุดการผ่อนชำระเนื่องจากเห็นว่า บตท.ประสบปัญหาภายในองค์กรมาก ในส่วนนี้มีมูลหนี้สูงถึง 800 ล้านบาท ซึ่งหากบตท.แก้ไขปัญหากับลูกค้ากลุ่มนี้ได้ ก็จะทำให้เอ็นพีแอลเหลือเพียง 1,000 ล้านบาท หรือประมาณ 25% ของพอร์ตสินเชื่อรวมเท่านั้น

“ถ้า บตท.แก้ปัญหาหนี้เสียที่เกิดขึ้น 1,800 ล้านบาทนี้ได้ จนทำให้เหลือ 1,000 ล้านบาท โดยส่วนที่เหลือนี้ บตท.จะดำเนินการขายให้กับเอเอ็มซีอื่นเป็นผู้บริหารแทน ซึ่งกระบวนการขายเอ็นพีแอลกลุ่มนี้ อยู่ระหว่างเจรจาตกลงราคากับเอเอ็มซี เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสม และคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆ นี้” นายสมบัติ กล่าว

นอกจากนี้ คาดว่าในเบื้องต้น บตท. จะทำซีเคียวริไทเซชั่นสินเชื่อในโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ วงเงิน 30,000 ล้านบาทก่อน จากที่ก่อนหน้านี้ได้มีการหารือกับนายวัฒนา เมืองสุข รักษาการรัฐมนตรีว่าการ พม. โดยตกลงกันว่าจะให้บตท.และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ทำซีเคียวรีไทเซชั่นสินเชื่อบ้านเอื้ออาทรในพอร์ตของ ธอส.ที่มีอยู่ประมาณ 240,000 ล้านบาท ทั้งนี้เห็นว่าในความเป็นจริงแล้ว บตท. มีศักยภาพที่จะทำซีเคียวรีไทเซชั่นได้ในวงเงินมากกว่านี้ อย่างไรก็ดี ต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาลว่าจะสนับสนุนโครงการนี้มากน้อยเพียงใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us