|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ขณะนี้สายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศมีแผนที่จะศึกษาการเคลื่อนไหวของเงินทุนต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือกับเจ้าหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะต้องอาศัยข้อมูลตัวเลขการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศ เช่น ตัวเลขบัญชีผู้มีถิ่นฐานต่างประเทศ (นอนเรซิเดนท์) จากธปท. ขณะที่ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์คือ ตัวเลขการซื้อขายของนักลงทุนต่างประเทศถือว่าเป็นข้อมูลที่ยังไม่เพียงพอเท่าที่ควร ดังนั้นจึงจะมีการศึกษางานวิจัยร่วมกับเจ้าหน้าที่ของธปท.
ทั้งนี้ สาเหตุที่สนใจที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเงินลงทุนต่างประเทศ เพราะปัจจุบันนี้เงินทุนของนักลงทุนต่างประเทศในตลาดหุ้นไทย ถือว่ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจากในอดีต และถือว่ามีผลต่อการเคลื่อนไหวของดัชนีตลาดหุ้น เพราะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีความผันผวน เมื่อกระแสเงินทุนจากต่างประเทศมีการเคลื่อนย้าย อย่างไรก็ตาม การศึกษาบทวิจัยดังกล่าว คงจะยังไม่มีการนำไปเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายแต่อย่างใด
"ในช่วง 2 ปีก่อน ซึ่งผมเพิ่งเข้ามาร่วมงานกับตลาดหลักทรัพย์นั้น ก็มีความตั้งใจตั้งแต่แรกว่า อยากจะทำการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเงินทุนจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยอยู่แล้ว ซึ่งปัจจุบันนี้ตลาดหุ้นไทยถือว่ามีค่าพี/อี เรโชที่อยู่ในระดับต่ำ และเป็นตลาดหุ้นที่มีความผันผวน เพราะนักลงทุนรายทั่วไปของตลาดหุ้นไทยมีความอ่อนไหว ขณะเดียวกันสัดส่วนของนักลงทุนต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้การเคลื่อนไหวของตลาดทุนไทยจะเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นทั่วโลก ซึ่งจะแตกต่างจากอดีตที่ตลาดหุ้นเกิดใหม่จะมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่แตกต่างจากตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว" นายเศรษฐพุฒิกล่าว
สำหรับแนวทางที่จะทำให้ภาวะตลาดหุ้นมีเสถียรภาพนั้น แนวทางหนึ่งก็คือ การเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของนักลงทุนสถาบันในประเทศให้มากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าถ้าภาครัฐออกกฎหมายการออมภาคบังคับขึ้นมาจะช่วยเพิ่มนักลงทุนสถาบันอย่างมาก และจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้นไทยสายงานวิจัยและข้อมูลสารสนเทศได้มีการศึกษาการออมภาคบังคับช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและตลาดทุนไทยได้อย่างไร ซึ่งมองว่าการออมภาคบังคับเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยสร้างฐานนักลงทุนสถาบันอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาตลาดทุนของไทย
นอกจากนี้ ยังช่วยบรรเทาความวิตกในเรื่องวิกฤตการณ์ผู้สูงอายุซึ่งก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในแต่ละประเทศ โดยในหลายประเทศทั่วโลกนำระบบการออมภาคบังคับมาประยุกต์ใช้ในรูปแบบการดำเนินการและการจัดการเงินออมของแรงงานที่แตกต่างกัน โดยเม็ดเงินออมระยะยาวจำนวนมหาศาลจะส่งผลดีต่อธุรกิจบริหารจัดการกองทุน กรณีประเทศไทยจากการประมาณการพบว่าหากการออมภาคบังคับใช้แล้วภายในระยะเวลา 5 ปี จะมีเม็ดเงินกว่า 4 แสนล้านบาท เข้าสู่ระบบ
นายอมฤต ศุขะวณิช รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด หลังจากสถานการณ์ทางการเมืองมีความชัดเจนมากขึ้น นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาลงทุนมากขึ้นเช่นกัน แต่ยังต้องดูความชัดเจนในเรื่องการพิจารณาเรื่องการยุบ 5 พรรคการเมือง ว่าจะมีคำวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวอย่างไร ซึ่งหากมีคำวินิจฉัยให้มีการยุบพรรคการเมืองอาจจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและจิตวิทยาในการลงทุน
ทั้งนี้เชื่อว่าในช่วงสั้นๆ อาจจะมีการเม็ดเงินที่คลายกังวลต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้กลับเข้ามาลงทุนบ้าง แต่หากว่าปัญหายังยึดเยื้อออกไปโดยไม่มีความชัดเจนหรือผลที่ออกมาเป็นปัจจัยลบอาจจะส่งผลทำให้เม็ดเงินที่น่าจะเข้ามาชะลอการเข้ามาในขณะที่เม็ดเงินที่เข้ามาลงทุนก่อนหน้านี้จะทยอยออกไปเพื่อลดความเสี่ยง
"ตอนนี้วอลุ่มการซื้อขายส่วนใหญ่ยังเป็นนักลงทุนรายย่อยในประเทศ แต่เหตุที่ดัชนีไม่สามารถปรับขึ้นได้เพราะเป็นการซื้อในหุ้นขนาดเล็กๆ ต่างจากนักลงทุนต่างชาติหากจะเข้ามาซื้อหรือขายจะเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่มีผลต่อดัชนี" นายอมฤตกล่าว
นายเกษมสิทธิ์ ปฐมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ จำกัดเปิดเผยว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้เดินทางไปสิงคโปร์และมีโอกาสได้หารือกับนักลงทุนต่างประเทศ พบว่านักลงทุนต่างประเทศสนใจที่จะเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นไทย แต่ที่ยังไม่เข้ามาลงทุนเพราะยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัจจัยทางการเมืองที่ยังมีความไม่ชัดเจน ซึ่งถือเป็นปัจจัยหลักที่มีน้ำหนักอย่างมากในขณะนี้ เพราะปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการลงทุนของภาครัฐ เช่นโครงการเมกกะโปรเจกต์ ซึ่งถ้าปัจจัยดังกล่าวคลี่คลายลง เชื่อว่าจะทำให้มีเงินทุนจากนักลงทุนต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุน ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในไตรมาสของปีนี้
|
|
|
|
|