Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์24 กรกฎาคม 2549
นักการเงินแนะสูตรฝ่าวิกฤติ"ของแพง ค่าแรงคงที่" ปรับพฤติกรรมใช้ชีวิต ประหยัด-อย่าก่อหนี้เพิ่ม             
 


   
search resources

Economics




นักการเงินแนะนำวิธีการฝ่าวิกฤติค่าครองชีพยุคนี้ ต้องช่วยตัวเองให้มากที่สุด เปลี่ยนวิถีชีวิต ลดฟุ่มเฟือย สำรวจตัวเอง-ค่าใช้จ่ายว่ารับมือไหวหรือไม่ ถือครองเงินสดให้มากขึ้น หาบัตรส่วนลดสินค้ามาเป็นตัวช่วย แต่ต้องชำระตรงเวลา เตือนคนฝากเงินหวังดอกเบี้ยสูงหากไถ่ถอนก่อนกำหนดดอกเบี้ยเหลือ 0.75%

สถานการณ์ระหว่างอิสราเอลกับเลบานอนที่ประทุอยู่ ส่งผลให้ราคาน้ำมันทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ราคาน้ำมันในประเทศปรับตัวขึ้นตาม พร้อมด้วยการทำนายของผู้คนในวงการน้ำมันว่า น้ำมันดีเซลอาจสูงเกิน 30 บาทต่อลิตร เบนซินอาจได้เห็นที่ 35 บาทต่อลิตร สิ่งที่ตามมาคือการขอปรับขึ้นค่าโดยสารและราคาสินค้าที่เดินหน้าขอปรับขึ้น

โดยกรมการขนส่งทางบกอนุมัติปรับขึ้นค่าโดยสารรถโดยสารประจำทางต่างจังหวัดของบริษัท ขนส่ง จำกัด(บขส.) และรถร่วมบริการ กิโลเมตรละ 3 สตางค์ ส่วนรถโดยสาร ขสมก. กรณีรถปรับอากาศเพิ่มขึ้น 1 บาทตามระยะทาง จากเริ่มต้น 12 บาท เป็น 13 บาท ขณะที่รถโดยสารธรรมดาเพิ่มขึ้น 50 สตางค์ เนื่องจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นขณะนี้กระทบต้นทุนรถโดยสารธรรมดา 50 สตางค์ ทำให้รถของ ขสมก. เพิ่มจาก 7 บาท เป็น 7.50 บาท รถร่วมเอกชนจาก 8 บาท เป็น 8.50 บาท รถมินิบัสจาก 6.50 บาท เป็น 7 บาท มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคมนี้

อีกไม่ช้าขึ้นราคา

ขณะที่มีสินค้าอีกหลายรายการที่ขอปรับราคาขึ้นต่อกระทรวงพาณิชย์ แต่ทางกระทรวงพยายามยืดระยะเวลาการขึ้นราคาออกไป เช่นเดียวกับสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ระยะนี้ที่ผู้ค้าน้ำมันในประเทศ ประกาศปรับราคาลงมา ท่ามกลางความตรึงเครียดระหว่างอิสราเอลกับเลบานอน เชื่อว่าท้ายที่สุดคงปรับขึ้นในอีกไม่ช้า

หรือแม้แต่การตัดสินใจของคณะกรรมการนโยบายการเงินที่พิจารณาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ส่วนจะปรับดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรหรือไม่ คงไม่ใช่สาระสำคัญ หากธนาคารแห่งประเทศไทยยังมุ่งเน้นที่การสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ด้วยการยึดแนวทางควบคุมเงินเฟ้อด้วยกลไกดอกเบี้ย แน่นอนว่าทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นในประเทศอาจจะยังไม่ถึงจุดสิ้นสุด

เห็นได้จากการคุมเข้มการใช้จ่ายภาคประชาชน ที่ยังคงยึดถือเกณฑ์การผ่อนชำระขั้นต่ำของบัตรเครดิต(ลูกค้าเก่า) 10% ที่จะเริ่มใช้ในเดือนเมษายน 2550 ตามเดิม

เมื่อราคาน้ำมันยังอยู่ในช่วงขาขึ้น ค่าโดยสารปรับเพิ่มขึ้น สินค้าอุปโภคบริโภคเตรียมปรับขึ้น รวมทั้งทิศทางอัตราดอกเบี้ยในประเทศที่มีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้อีกนั้น ย่อมกระทบต่อกระเป๋าสตางค์ของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยที่รายรับยังคงเท่าเดิมส่งผลต่อกำลังซื้อย่อมลดลง รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้

ถือเงินสดมากขึ้น

นักบริหารเงินแนะนำว่า ท่ามกลางวิกฤติที่เกิดขึ้นทุกคนใช้สินค้าเท่าเดิม แต่ต้องจ่ายมากขึ้น แถมค่าครองชีพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รายรับยังเท่าเดิม ดังนั้นประชาชนควรปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตด้วยการใช้จ่ายให้น้อยกว่าเดิม ลดรายการสินค้าที่ฟุ่มเฟือย

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องแก้ปัญหาที่ตัวเราเอง เพราะเวลานี้ไม่มีใครช่วยเราได้ ต้องประคองตัวภายใต้สถานการณ์นี้ไปก่อน การลดรายจ่ายถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด หลีกเลี่ยงการก่อหนี้เพิ่ม ถือครองเงินสดให้มากขึ้นไว้รองรับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

คุณต้องไม่ลืมว่าค่าไฟฟ้าปรับขึ้นมาแล้ว คุณใช้ไฟเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายมากกว่าเดิม ค่าก๊าซหุงต้มที่เตรียมรองตัวอีก ค่าเดินทางที่เพิ่มขึ้นทั้งของตัวเราเองและคนในครอบครัว หรือแม้กระทั่งภาระดอกเบี้ยจากการผ่อนบ้าน สิ่งเหล่านี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นทั้งสิ้น ดังนั้นการถือครองเงินสดไว้จำนวนหนึ่งน่าจะช่วยแก้ปัญหาได้

ที่ผ่านมาสถาบันการเงินหลายแห่งเร่งระดมเงินฝากกันมาก โดยเสนออัตราดอกเบี้ยที่สูงจูงใจ ทำให้คนหันมาฝากเงินเพื่อรับดอกเบี้ยที่สูงมากขึ้น เห็นได้จากตัวเลขเงินสดในระบบช่วง 5 เดือนแรกของปี 2549 ที่ลดลงจากสิ้นปี 2548 ถึง 42,212 ล้านบาทคิดเป็น 6.69% ขณะที่เงินฝากทั้งออมทรัพย์และฝากประจำเพิ่มขึ้นกว่า 4.3 แสนล้านบาท

นั่นคือผลของการระดมเงินฝาก ที่ทำให้การถือครองเงินสดของภาคประชาชนและภาคธุรกิจลดลง เพื่อแสวงหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดบนความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด

แต่สถานการณ์ในวันนี้การถือครองเงินสดในมือให้มากขึ้นกว่าเดิมถือเป็นเรื่องที่จำเป็น เพราะเราต้องจ่ายเพื่อให้ได้สินค้าและบริการเหมือนเดิมในราคาที่สูงขึ้น

รักษาสิทธิก่อนเสียสิทธิ

สำหรับคนที่ฝากเงินไว้กับสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เสนอดอกเบี้ยฝากในอัตราที่สูงก็ต้องทราบไว้ด้วยว่า เงินฝากประจำ 6-7-9 เดือนถึงจะได้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ หากท่านไม่สามารถทำตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ ดอกเบี้ยที่เคยระบุไว้ที่ 5% ก็จะลดลงเหลือแค่ดอกเบี้ยออมทรัพย์ที่ 0.75% เท่านั้น

คนที่ฝากเงินไปแล้ว ทางที่ดีก็ควรรอให้ครบกำหนดเพื่อให้ได้สิทธิจากอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว แต่เม็ดเงินใหม่ที่หามาได้เวลานี้ต้องสำรองไว้เพื่อเหตุการณ์ในอนาคตไว้บ้าง ไม่เช่นนั้นปัญหาจะลามเป็นลูกโซ่

ผู้ที่มีภาระต้องผ่อนชำระบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล หรือผ่อนบ้าน รถยนต์ ต้องสำรวจตัวเองก่อนว่าพร้อมรับมือกับสถานการณ์เช่นนี้หรือไม่ หากประเมินแล้วอาจรับมือไม่ไหวควรต้องลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลง เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิต เพื่อประคองให้รายรับที่มีอยู่เพียงพอต่อภาระที่ต้องจ่าย โดยเฉพาะบรรดาบัตรเครดิต สินเชื่อบุคคล พยายามชำระให้ตรงกำหนด เพื่อหลีกเลี่ยงค่าปรับและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ หากค่าใช้จ่ายยังสูงกว่าก็ต้องหารายได้เพิ่มเพื่อชดเชยค่าใช้จ่าย ทางเลือกสุดท้ายหากไม่ไหวจริง ๆ อาจต้องพึ่งพาบริการสินเชื่อต่าง ๆ ควรเลือกดูรายที่คิดดอกเบี้ยต่ำที่สุด หรือเสนอโปรโมชั่นที่จะช่วยเราได้มากที่สุด

อีกวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบ้านได้คือการใช้บัตรเครดิตที่ให้ส่วนลดในการซื้อสินค้า เช่น บัตรของห้างสรรพสินค้า หรือดิสเคานต์สโตร์ต่าง ๆ บางแห่งให้ส่วนลดน้ำมันด้วย แม้ส่วนลดนั้นอาจจะไม่มาก แต่หากเราซื้อสินค้าเหล่านั้นบ่อยก็จะช่วยทำให้เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้ระดับหนึ่ง

ถ้าสามารถควบคุมการใช้จ่ายทุกทางแล้ว น่าจะช่วยให้เรามีเงินสดเหลือมากขึ้นกว่าเดิม ส่วนจะพอต่อการรับมือกับภาวะการณ์เช่นนี้หรือไม่ ผู้ใช้จ่ายเท่านั้นที่จะให้คำตอบได้ดี   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us