Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน15 มกราคม 2546
เซเว่นฯ ซื้อร้านแฟมิลีมาร์ท             
 


   
search resources

ซี.พี.เซเว่นอีเลฟเว่น, บมจ.
สยามแฟมมิลี่มาร์ท, บจก.




นายสุวิทย์ กิ่งแก้ว รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี.เซเว่น อีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาเซเว่นฯ ได้เข้าไปติดต่อทาบทามซื้อกิจการของร้านสะดวกซื้อแฟมิลี่มาร์ท เช่นเดียวกับกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ซึ่งได้รับการปฏิเสธจากแฟมิลี่มาร์ท อย่างไรก็ตามบริษัทจะยื่นข้อเสนอเข้าไปใหม่อีกครั้งในเร็วๆนี้ ซึ่งความต้องการซื้อกิจการร้านแฟมิลี่มาร์ท เนื่องจากเห็นว่าสาขากว่า 80% อยู่ในทำเลที่ดี ทำยอดขายอยู่ในระดับที่น่าพอใจ หากเซเว่นฯเจรจาซื้อแฟมิลี่มาร์ทได้เป็นผลสำเร็จก็ จะเปลี่ยนชื่อร้านใหม่เป็นเซเว่น อีเลฟเว่น

นายสุวิทย์ ให้ความเห็นอีกว่า การที่กลุ่มนายเจริญต้องการเข้าไปซื้อกิจการแฟมิลี่มาร์ท เพราะต้องการช่องทางการจำหน่ายสินค้า ซึ่งเป็นแนวคิดทั่วไปของผู้ผลิตรายใหญ่ที่มีสินค้าจำนวนมาก และมีเงินทุนหนา การมีช่องทางจำหน่ายเป็นของตัวเองจะเป็นการต่อยอดธุรกิจของสินค้าในเครือ เพราะสามารถทำกิจกรรมส่งเสริมการขายระหว่างสินค้าหนึ่งกับสินค้าหนึ่งได้ ซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่โดยปกตแล้วลูกค้าที่เข้ามาซื้อสินค้าในคอนวีเนี่ยนสโตร์ จะไม่ซื้อสินค้าเพียงอย่างเดียว แต่จะซื้อสินค้าอื่นที่จัดรายการควบคู่ไปด้วย

“หากคุณเจริญซื้อแฟมิลี่มาร์ทได้จริง เซเว่นฯคงได้รับผลกระทบด้านยอดขายไปด้วย เพราะในร้านเซเว่นฯมีสินค้าของกลุ่มคุณเจริญจำนวนมาก ทั้งเครื่องดื่ม อุปโภค บริโภค ฯลฯ และส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ขายดี”

หวั่นคอนวีเนี่ยนสโตร์กลุ่ม‘เทสโก้’

เหตุผลหลักอีกประการที่เซเว่นฯต้องการเครือข่ายสาขาของร้านแฟมิลี่มาร์ท เพราะต้องการเร่งขยายสาขาคอนวีเนี่ยนสโตร์ให้ครอบคลุมพื้นที่สำคัญของประเทศไทยไว้ก่อน เนื่องจากขณะนี้กลุ่มเทสโก้ ได้เข้าซื้อกิจการคอนวีเนี่ยนสโตร์ในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีจำนวนสาขาไม่มากนัก แต่คาดว่าในอีก 3 ปีข้างหน้า เทสโก้ น่าจะนำคอนวีเนี่ยนสโตร์ดังกล่าวมาขยายสาขาในประเทศไทยด้วย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายในปัจจุบันที่เทสโก้ จะขยายสขาเข้ามาในย่านชุมชนมากขึ้น ด้วยขนาดและรูปแบบของร้านที่เล็กลง โดยจะเป็นในลักษณะของเทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส หรือ เทสโก้ โลตัส ซูเปอร์มาร์เก็ต และเทสโก้ โลตัส ก็มีนโยบายที่จะเปิดร้านคอนวีเนียนสโตร์ในประเทศไทยอยู่แล้ว

นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า กลุ่มเทสโก้ถือเป็นคู่แข่งสำคัญที่น่ากลัวสำหรับเซเว่นฯ เพราะมีเงินทุนจำนวนมาก และถือเป็นกลุ่มค้าปลีกข้ามชาติที่มีศักยภาพการลงทุนสูงที่สุด การปรับทิศมาขยายสาขาคอนวีเนี่ยนสโตร์ของเทสโก้ในไทย เป็นเพราะกฎหมายค้าปลีกไทยที่กำลังออกมาบังคับใช้จะมีข้อกำหนดสำคัญ คือ เรื่องโซนนิ่ง ที่ห้ามค้าปลีกขนาดใหญ่ หรือดิสเคานต์สโตร์ ขยายสาขาในเมือง

ดังนั้นเทสโก้คงต้องปรับรูปแบบการขยายค้าปลีกใหม่ โดยมุ่งขยายในพื้นที่ขนาดเล็กแทน ส่วนรูปแบบ‘เทสโก้ โลตัส เอ็กซ์เพรส’ ที่มีอยู่ในปั๊มน้ำมันขณะนี้ ไม่ใช่คอนวีเนี่ยนสโตร์ แต่เป็นรูปแบบซูเปอร์มาร์เก็ตย่อส่วน สินค้าที่จะหน่ายจะแตกต่างจากคอนวีเนี่ยนสโตร์ที่เน้นอาหารและเครื่องดื่มเป็นหลัก

ปรับตัวหนี“เออาร์ที”

นายสุวิทย์ กล่าวต่อว่า การเปิดดำเนินงานของบริษัท รวมค้าปลีกเข้มแข็ง จำกัด หรือ“เออาร์ที” เป็นแนวคิดที่ดีในการช่วยเหลือนโชวห่วยไทย แต่เออาร์ที ควรรีบเปิดตัวร้านค้าปลีกต้นแบบ เพื่อให้โชวห่วยไทยเห็นความแตกต่างการบริหารรูปแบบเดิม และรูปแบบใหม่เพื่อเข้ามาเป็นสมาชิกมากขึ้น การที่โชวห่วยไทยไม่เห็นรูปแบบการทำงาน และข้อดีจากร้านที่เปิดดำเนินการจริง ทำให้ลังเลในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก

การเปิดตัวรูปแบบการทำงานของเออาร์ที ในขณะนี้ยังเน้นจำหน่ายสินค้าประเภทอุปโภคบริโภคเป็นหลัก แตกต่างจากเซเว่นฯที่ปรับตัวสู่ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และบริการรูปแบบต่างๆ เช่น บริการของเคาน์เตอร์เซอร์วิส แคตาล็อกเซลส์ แต่ในอนาคตหลังจากเออาร์ทีเปิดร้านต้นแบบได้ระยะหนึ่ง จะต้องปรับตัวใหม่โดยหันมาให้บริการด้านอาหารและเครื่องดื่มมากขึ้นเช่นเดียวกับร้านเซเว่นฯ เพราะเป็นสินค้าที่ทำกำไรสูงประมาณ 30% แตกต่างจากการจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ทำกำไรเพียง 10-15% เท่านั้น

จากการที่ร้านค้าโชวห่วยจำนวนกว่า 200,000 รายในประเทศไทย สนใจจะเป็น

สมาชิกของเออาร์ที ทำให้ในระยะต่อไปเซเว่นฯจำเป็นต้องปรับตัวหนีการแข่งขันจาก

เออาร์ที ด้วยการเพิ่มบริการที่แตกต่างขึ้นไปอีก คือ รูปแบบของแคตตาล็อกเซลส์ ที่หลังจากเปิดตัวไปเมื่อปีก่อน พบว่าได้รับความสนใจจากลูกค้าสูงมาก มียอดขายในระดับที่น่าพอใจ

ปัจจุบันเซเว่นฯมีสาขาทั่วประเทศจำนวน 2,100 แห่ง ในปีนี้วางเป้าหมายเปิดเพิ่มอีก 300 แห่ง ซึ่งการเข้ามาทาบซื้อกิจการแฟมิลี่มาร์ทของนายจริญ และการเตรียมเปิดตัวคอนวีเนี่ยนสโตร์ของเทสโก้ ยังไม่ส่งผลกระทบให้ธุรกิจเกิดภาวะโอเวอร์ซัปพลาย เพราะจากจำนวนประชากร 62 ล้านคนของไทย สามารถมีคอนวีเนี่ยนสโตร์ได้ถึง 10,000 แห่ง

อย่างไรก็ตามในปีนี้ดิสเคานต์สโตร์ยังไม่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายค้าปลีก ที่มีสาระสำคัญเรื่องโซนนิ่ง ดังนั้นปีนี้จะเห็นการขยายสาขาของคอนวีเนี่ยนสโตร์อีกไม่ต่ำกว่า 20 แห่ง แน่นอน จากการเร่งขยายสาขาของผู้ประกอบการหลัก 4 ราย คือ เทสโก้ โลตัสส,บิ๊กซี,คาร์ฟูร์ และแม็คโคร

สงครามกระทบกำลังซื้อไม่มาก

นายสุวิทย์ ยังได้กล่าวถึงภาพรวของธุรกิจค้าปลีกในปี 2545 ว่าจะขยายตัวประมาณ 3-5% จากมูลค่าธุรกิจค้าปลีกที่ผ่านระบบจ่ายภาษีของรัฐจำนวน 1.3 แสนล้านบาท แต่ปีนี้การเติบโตน่าจะมีมากขึ้น โดยดูได้จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่อยู่ในระดับสูงขึ้น โดยเฉพาะในไตรมาสแรกของปีนี้ ที่มีเทศกาลจับจ่ายใช้สอยหลายรายการ เช่น ปีใหม่ ตรุษจีน คาดว่าไตรมาสแรกของปีนี้ภาพรวมค้าปลีกน่าจะเติบโตได้ 5%

สำหรับสถานการณ์การก่อสงครามระหว่างสหรัฐฯ-อิรัก ที่อาจจะเกิดขึ้นในปีนี้ ไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนัก โดยช่วงแรกของการเกิดสงครามผู้บริโภคจะหยุดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟื่อย ทำให้สินค้าดังกล่าวอาจมียอดขายลดลงในระดับ 20% ส่วนสินค้าอุปโภคบริโภค ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันผู้บริโภคจะซื้อลดลงประมาณ 5% แต่หลังจากเห็นว่าสงครามไม่ส่งผลกระทบต่อราคาสินค้า จากการควบคุมอย่างเข้มงวดของภาครัฐ กำลังซื้อก็จะกลับคืนมาในที่สุด

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us