Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538
"ดิ๊กสัน มาร์เก็ตติ้ง ยอมเจ็บตัวเพื่ออนาคต"             
 


   
search resources

ดิ๊กสัน มาร์เก็ตติ้ง
คียูมาร์ส เชอร์เดล
Commercial and business




ดิ๊กสัน มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท ดิ๊กสัน คอนเซ็ปต์ ฮ่องกง ซึ่งมีสาขาอยู่ทั่วโลก และกลุ่มห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล ภายใต้การนำของสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์ เริ่มเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เมื่อปี 2532 ด้วยทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท

สินค้าที่ดิ๊กสัน มาร์เก็ตติ้ง(ประเทศไทย) เริ่มนำเข้ามาจำหน่ายในช่วงแรก เป็นเสื้อผ้าสำหรับสุภาพบุรุษชั้นนำที่ทั่วโลกรู้จักดี 3 ยี่ห้อ คือ โปโล ราฟท์ ลอเรน, ปิแอร์ บัลแมง (ปัจจุบันเลิกทำตลาดไปแล้ว) และชาร์ล จูดองส์

โดยในส่วนของโปโลนั้นเน้นกลุ่มนักธุรกิจที่มีรายได้สูงขณะที่ปิแอร์ บัลแมง และชาร์ล จูดองส์นั้นจับกลุ่มนักธุรกิจระดับรองลงมา

คียูมาร์ส เชอร์เดล กรรมการผู้จัดการ บริษัทดิ๊กสัน มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) กล่าวถึงสาเหตุที่ดิ๊กสันเข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทยช่วงนั้นว่า เพราะไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในเอเชียที่ดิ๊กสันฯ ยังไม่ได้เข้ามาตั้งสาขา

ส่วนสาเหตุที่เลือกร่วมธุรกิจกับเซ็นทรัลก็เพราะเป็นกลุ่มที่มีอำนาจในธุรกิจค้าปลีก และเป็นรายใหญ่ในวงการนี้ ประกอบกับมีความชำนาญด้านเสื้อผ้าอยู่แล้ว

สำหรับคียูมาร์ส เชอร์เดลนั้น เขาเข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เมื่อประมาณปี 2525 ก่อนการเกิดของดิ๊กสัน ประเทศไทย 7 ปี เริ่มจากการบริหารธุรกิจเครื่องประดับ "อิสซาเบลล่า" ของบริษัท ไอบีแอล (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นธุรกิจร่วมทุนระหว่างเซ็นทรัล ดีพาทเมนท์สโตร์ นักลงทุนท้องถิ่น และบริษัท อิสซาเบลล่า จำกัด ประเทศอังกฤษ

การเป็นผู้บริหารอิสซาเบลล่านี่เองที่ทำให้เขารู้จักกับกลุ่มเซ็นทรัล และมีความสนิทสนมกับสุทธิธรรม จิราธิวัฒน์เป็นพิเศษ จนมีโอกาสได้ใช้ประสบการณ์ในการทำตลาดเครื่องประดับมาทำตลาดเสื้อผ้าสุภาพบุรุษทั้ง ๆ ที่กลุ่มเป้าหมายจะต่างกันอย่างสิ้นเชิง

ดิ๊กสัน มาร์เก็ตติ้ง ใช้เวลาในการลงหลักปักฐานสินค้า 3 ตัวแรกอยู่ 3 ปี จึงขยายกิจการต่อด้วยการเป็นผู้แทนจำหน่ายเสื้อผ้าชายสไตล์แองโกลอเมริกัน ยี่ห้อ "HENRY COTTON'S" จากอิตาลี โดยตั้งบริษัท โมเดิร์น เทรดดิชั่นส์ จำกัด ขึ้นมารับผิดชอบ

หลังจากนั้นไม่นานดิ๊กสันก็แตกไลน์ออกไปสู่ตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนตัว โดยซื้อแฟรนไชส์ "The Body Shop" ของอังกฤษเข้ามาทำตลาด ภายใต้การบริหารงานของบริษัท เอิร์ธ แคร์ คอมปานี จำกัด

นอกจากนี้ยังนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ "The Bead Shop" จากอังกฤษ ซึ่งมีคอนเซ็ปต์เด่นอยู่ที่ลูกค้าแต่ละคนสามารถเลือกลูกปัดที่ต้องการมาออกแบบเป็นสายสร้อย กำไร ต่างหู แบบต่าง ๆ ได้ด้วยไอเดียของตัวเอง โดยมีดีไซเนอร์ของบริษัทช่วยให้คำแนะนำเรื่องความเหมาะสมและสวยงาม

เดือนกรกฎาคม 2538 ที่ผ่าน โมเดิร์น เทรดดิชั่นส์ ก็ได้นำเสื้อผ้าสุภาพบุรุษ และสตรียี่ห้อ "G 2000" ซึ่งเป็นสินค้าของบริษัท จี 2000 (แอพพาเรล) ประเทศฮ่องกง ที่ประสบความสำเร็จมาแล้วเกือบทั่วเอเชียเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย โดยมีการเปิดจุดขายแรกในห้างสรรพสินค้าเซนก่อนที่จะเปิดร้านแรกที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าวเมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ภายใต้การบริหารงานของบริษัท โมเดิร์น เทรดดิชั่น

การเป็นผู้แทนจำหน่ายเสื้อผ้า G 2000 ของโมเดิร์น เทรดดิชั่นครั้งนี้ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของดิ๊กสัน มาร์เก็ตติ้ง เพราะแม้ว่าจะเป็นบริษัทลูกผสมไทย-ฮ่องกง แต่ที่ผ่านมาบริษัทเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าจากยุโรป และอเมริกาทั้งสิ้น เพิ่งมี G 2000 เป็นตัวแรกที่มาจากฮ่องกง ก่อนที่นำสินค้าตัวอื่นๆ เข้ามาทำตลาดอีกหลายตัว

โดยล่าสุดในกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ก็เพิ่งมีการเปิดตัวเสื้อผ้าสตรี "Theme" ของบริษัท ธีม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จากประเทศฮ่องกง เช่นกัน และวางแผนที่จะเปิดตัวเสื้อผ้ายี่ห้อ U 2 ซึ่งเป็นของบริษัทเดียวกับ G 2000 อีกด้วย

คียูมาร์กล่าวถึงสาเหตุที่ดิ๊กสันหันมาให้ความสนใจนำเสื้อผ้าจากฮ่องกงเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยว่า เพราะถ้ามองในแง่ของการเป็นผู้นำแฟชั่นเสื้อผ้าประเภทสะดวกสบายในการสวมใส่แล้ว ฮ่องกงถือว่ามีความก้าวหน้าเท่าทันสหรัฐอเมริกามาก จนเรียกได้ว่าเป็นสหรัฐอเมริกาเล็ก ๆ ทีเดียว

ที่สำคัญการนำเสื้อผ้าจากฮ่องกงเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ยังเป็นการก้าวเข้าไปจับกลุ่มเป้าหมายใหม่ของดิ๊กสันด้วย เพราะที่ผ่านมาเสื้อผ้าที่บริษัทจัดจำหน่ายจับกลุ่มบีขึ้นไป ขณะที่เสื้อผ้าของฮ่องกงจะจับกลุ่มบีลงมา โดยเน้นกลุ่มคนหนุ่มสาวที่อยู่ในวัยเริ่มต้นทำงาน ที่ต้องการบริโภคเสื้อผ้าแฟชั่นจากต่างประเทศในราคาที่สามารถจ่ายได้ เพราะถ้าเทียบแล้วเสื้อผ้านำเข้าจากฮ่องกงจะขายได้ในราคาถูกกว่านำเข้าจากสหรัฐอเมริกาและยุโรปถึงครึ่งต่อครึ่ง

ดังนั้นถ้าจัดหมวดหมู่ของสินค้าแล้ว จะพบว่ากลุ่มดิ๊กสันมาร์เก็ตติ้งเป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าจาก 3 แหล่ง คือ เริ่มจากสินค้าจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งขณะนี้มีเพียงโปโล แต่ผู้บริหารดิ๊กสันแย้มพรายให้ฟังว่าในอนาคตจะมีเสื้อผ้าสไตล์ลำลองชื่อดังเข้ามาจำหน่าย ซึ่งหลายคนพากันคาดหมายว่าอาจจะเป็น GAP หรือ BANANA REPUBLIC

แหล่งที่สอง คือ สินค้าจากยุโรป ซึ่งมีอยู่มากมายหลายตัวและเป็นกลุ่มที่ทำรายได้หลักให้บริษัทอยู่ในปัจจุบัน โดยในเร็ว ๆ นี้จะนำเสื้อผ้าสตรีระดับสูงยี่ห้อ "FACONNABLE" จากฝรั่งเศสเข้ามาทำตลาดเพิ่มอีก 1 ยี่ห้อ

แหล่งล่าสุด สินค้าจากเอเชีย ซึ่งประเดิมด้วยสินค้าจากฮ่องกง

นอกจากเสื้อผ้า เครื่องประดับและของใช้ส่วนตัวแล้ว บริษัทยังสนใจที่จะนำเฟอร์นิเจอร์จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดอีกด้วย

คียูมาร์สกล่าวว่า การที่ดิ๊กสันกรุ๊ปทำตลาดสินค้าหลากหลายประเภท จะทำให้บริษัทมีประสบการณ์ทางการตลาดมากขึ้น

"โดยสิ่งที่เรามั่นใจมากที่สุดก็คือ ประสบการณ์ในการทำตลาดเสื้อผ้า แม้ว่าตอนนี้บริษัทอาจจะต้องทนทุกข์กับอัตราภาษีนำเข้าสูงถึง 45% แต่ในอีก 2 ปีข้างหน้าภาษีจะลดลงมาเหลือ 25% และเหลือเพียง 5% ในอีก 2 ปีถัดจากนั้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นจะมีคนนำเสื้อผ้าจากต่างประเทศเข้ามาทำตลาดมากมาย เพราะสามารถแข่งขันด้านราคากับสินค้าในประเทศได้ แต่เราไม่ห่วง เพราะตอนนั้นเราก็คงสามารถยึดตลาดไว้ได้มากแล้ว"

ด้วยเหตุนี้ดิ๊กสันจึงมีจุดยืนที่แน่ชัดที่จะทำเป็นผู้นำเข้าเสื้อผ้าแบรนด์อินเตอร์ต่อไป โดยไม่สนใจที่จะทำตลาดเสื้อผ้าโลคัลแบรนด์ เพราะนอกจากจะเพื่อซื้ออนาคตแล้ว บริษัทยังได้เรียนรู้โนว์ฮาวด้านการทำตลาด การผลิต การออกแบบที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในเรื่องการส่งออกรูปแบบการตกแต่งร้าน ที่ต้องทำตลาดสเป็กของเมือนอกทำให้ต้นทุนของสินค้าสูงอยู่บ้างก็ตาม

"แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการลงทุนแล้วสูญเปล่า หากเจ้าของสินค้าเปลี่ยนใจดึงสินค้ากลับไปทำเอง เราจึงคิดถึงเรื่องการดึงเจ้าของสินค้าเข้ามาร่วมทุนกับเราด้วยในอนาคต อย่างจี 2000 นี่เป็นที่แน่นอนแล้วว่าอีก 2 ปีข้างหน้าเขาจะเข้ามาร่วมลงทุนกับเรา เพื่อเขาจะได้ให้ความร่วมมือกับเรามากขึ้น ส่วนบริษัทอื่น ๆ ก็มีการเจรจาในแนวนี้ต่อไป" จักรพงษ์ เฉลิมชัย ผู้จัดการทั่วไปของดิ๊กสัน มาร์เก็ตติ้ง และโมเดิร์น เทรดดิชั่นส์ ซึ่งเป็นผู้ช่วยมือหนึ่งของคียูมาร์สเล่าถึงแนวทางป้องกันให้ฟังทิ้งท้าย

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us