Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538
"เมื่อหม่อมคึกฤทธิ์อสัญกรรม "ตันติพัฒน์พงศ์" จะฮุบแบงก์ ?"             
 


   
search resources

ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ
เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์
Banking




มูลค่าซื้อขายหุ้นแบงก์กรุงเทพฯ พาณิชย์การ ที่การติดอันดับสูงสุดสามวันต่อเนื่องกัน ภายหลังการอสัญกรรมของ พล.ต. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนถึงขบวนการสร้างราคาที่อาศัยความอ่อนไหวจากกระแสข่าว เฉกเช่นเคยเป็นมาในอดีต เช่น ราคาหุ้นพุ่งชนซิลลิ่งเพื่อขานรับข่าวศาลอุทธรณ์ยกฟ้องเสี่ยสองในข้อหาปั่นหุ้น

ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายย่อยมุ่งหวังการเก็งกำไรระยะสั้น ๆ ยังมีมหาเศรษฐีสัญชาติไทยเชื้อชาติจีนไต้หวันจากตระกูล "ตันติพิพัฒน์พงศ์" ที่เข้ามา "ลงทุน" ทยอยซื้อหุ้นบีบีซีเงียบ ๆ ช่วงตลาดซบเซาหลังสงครามอ่าวเปอร์เซียจนกระทั่งปัจจุบันได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในแบงก์กรุงเทพฯ พาณิชย์การอันดับหนึ่ง ขณะที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ของแบงก์ชาติเป็นอันดับสอง

เรื่องเซอร์ไพร์สของตระกูลนี้ กับการถือหุ้นใหญ่แบงก์กรุงเทพเคยเกิดขึ้นในอดีต เมื่อพิพัฒน์ ตันติพิพัฒน์พงศ์ หรือ CHAN TAK SHUI มหาเศรษฐีที่สร้างตัวจากโรงงานอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋อง ได้รับเชิญจากบอร์ดแบงก์กรุงเทพให้เป็นกรรมการตั้งแต่ปี 2527 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน

ล่าสุด ทายาทหนุ่มคนกลางวัย 28 ปีชื่อ เติมพงษ์ ตันติพิพัฒน์พงศ์ ก็ได้สร้างเซอร์ไพร์สซ้ำสองเมื่อรายงานต่อ ก.ล.ต. ว่ากลุ่มตันติพิพัฒน์พงศ์ถือหุ้นบีบีซีเกินกว่า 5% โดยลักษณะกระจายถือหุ้นในนาม 5 บริษัทในเครือ ได้แก่ บริษัทอุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทยถือ 3.62% หรือ 29 ล้านหุ้น บริษัทพรภัทร์ถือ 0.81% หรือ 6.5 ล้านหุ้น บริษัทวังเพชรกับบริษัทพิพัฒน์ศักดิ์ (เดิมชื่อพิพัฒน์ธนกิจ) ถือหุ้นแห่งละ 0.55% หรือ 4.4 ล้านหุ้น และบริษัทพรพัฒนาถือหุ้น จำนวน 4.7% รวมปริมาณหุ้นทั้งหมด 10.24% ของทุนจดทะเบียน 8 พันล้านบาท โดยคิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 1,822.6 ล้านบาท ในราคาหุ้นละ 22.25 บาท

"เรื่องการส่งตัวแทนเข้าเป็นกรรมการในแบงก์บีบีซีนั้น ขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นและคณะกรรมการของแบงก์ด้วยว่าจะยอมหรือไม่ ที่สำคัญก็คือคุณเกริกเกียรติ ในฐานะเจ้าของแบงก์จะมีคำเชิญและยินดีหรือไม่ เพราะถึงแม้ว่าเราจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่จนถึงขณะนี้ เรายังรู้สึกว่าเป็นเพียงนักลงทุนคนหนึ่งเท่านั้น" คำกล่าวของเติมพงษ์ต่อ "กรุงเทพธุรกิจ"

ขณะที่เกริกเกียรติมีทีท่าแบ่งรับแบ่งสู้ อ้างว่าสุดแท้แต่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่จะมีขึ้นในเดือน เมษายนปีหน้านี้

"เป็นเรื่องธรรมดามาก ถ้าผู้ถือหุ้นใหญ่ต้องการจะส่งตัวแทนเข้ามาเป็นกรรมการ โดยที่ผ่านมา ผู้ถือหุ้นกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี หรือกลุ่มของคุณสอง วัชรศรีโรจน์ ผมก็พร้อมที่จะเปิดโอกาสตลอดและพร้อมที่จะเข้าไปนั่งคุยด้วยเสมอ" เกริกเกียรติแถลง

ปัจจุบันบอร์ดของแบงก์บีบีซีมีกรรมการอยู่ 12 คนหลังสิ้นบารมี พล.ต. ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ก็เหมือนสิ้นยุคธุรกิจครอบครัว เพราะบอร์ดใหม่มีประยูร กาญจนดุล รักษาการประธานกรรมการ พชร อิศรเสนา ณ อยุธยา เป็นประธานคณะกรรมการบริหารแทนอินทิรา ชาลีจันทร์ เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่แบงก์ บริหารแบงก์ภายใต้การกำกับของบอร์ดที่มีคนของทางการเข้ามาร่วมด้วยได้แก่ ปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการแบงก์ชาติ แทน ม.ร.ว. อรพินทร์ ดิศกุล และวิเชียร นิติธรรม ผู้ช่วยผู้อำนวยการแบงก์ออมสิน

"หากนายเติมพงษ์ซึ่งถือหุ้น 7.79% แล้วจะมานั่งเป็นกรรมการด้วย เชื่อว่าบอร์ดธนาคารคงไม่ขัด เนื่องจากไม่ถือเป็นการผิดระเบียบปฏิบัติแต่อย่างใด" คำกล่าวของปกรณ์

จึงเป็นที่แน่ชัดว่าชื่อของเติมพงษ์ ตันติพิพัฒน์จะได้รับเป็นกรรมการแบงก์บีบีซีโดยสิทธิ์ในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่จะต้องสละเก้าอี้กรรมการในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สินเอเชียก่อน

ความสัมพันธ์รุ่นคุณแม่ระหว่างคุณหญิงสุภัทรา ตันติพิพัฒน์พงศ์ มารดาของเติมพงษ์กับอินทิรา ชาลีจันทร์ในแวดวงสังคมสงเคราะห์ ดังนั้นเติมพงษ์จึงเกรงใจอินทรา ต้องรายงานการซื้อหุ้นให้ทราบบ้างเป็นระยะ ๆ

"ครอบครัวตันติพิพัฒน์พงศ์และชาลีจันทร์ เราก็รู้จักและสนิทสนมกันดีโดยก่อนที่คุณเติมพงษ์จะตัดสินใจเข้าไปซื้อหุ้น ก็ได้เข้าไปพบคุณแม่ของผม เพื่อที่จะบอกว่าสนใจที่จะลงทุนในบีบีซี เพราะประเมินแล้วว่า ในระยะยาวจะได้ผลตอบแทนที่ดี ซึ่งระหว่างผมและคุณเติมพงษ์ ก็ได้มีการพูดคุยกันมาตั้งแต่ช่วงก่อนซื้อหุ้นด้วยซ้ำ โดยคุณเติมพงษ์บอกว่า ถึงแม้จะเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับหนึ่งของเรา แต่ผมก็ไม่ได้รู้สึกวิตกกังวล และน่าจะยินดีด้วยซ้ำที่หุ้นของแบงก์ได้รับความสนใจ" เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์ กรรมการผู้จัดการแบงก์บีบีซี กล่าว

ขณะที่ปากปราศรัย แต่ภายในใจนั้นเกริกเกียรติยังมีภารกิจหนักอึ้งเกี่ยวกับปัญหาหนี้เสีย ที่ต้องเร่งให้เห็นผลภายในปี 2539 นี้ เวลามีเหลืออยู่ไม่มากนัก ขณะที่แรงกดดันจากกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ มีมากขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะจากทางแบงก์ชาติที่กดดันให้เพิ่มทุนเป็น 1 หมื่นล้าน เปลี่ยนกรรมการบริหารชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหาร ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ทำธุรกิจบีไอบีเอฟทั้งในและนอกประเทศได้ รวมทั้งอนุญาตรับประกันจัดจำหน่ายตราสารหนี้ได้ด้วย

อนาคตของแบงก์บีบีซีจึงยังให้ความมั่นใจกับกลุ่มตันติพิพัฒน์พงศ์อีกมาก เฉกเช่นเดียวกับเส้นทางเดินของเจริญ สิริวัฒนภักดีในกรณีแบงก์มหานคร เพียงแต่รอจังหวะโอกาสเท่านั้นระหว่างรอก็ทะยอยซื้อหุ้นแบงก์บีบีซีเพิ่มขึ้น เพื่อให้มีสัดส่วนถือครองหุ้นมากที่สุด โดยเฉพาะรอเมื่อมีการเพิ่มทุนอีกในปีหน้า การเปลี่ยนแปลงใหญ่อาจเกิดขึ้น ถึงเวลานั้นจะเรียกฉายาว่า "แบงก์คึกฤทธิ์" อีกไม่ได้แล้วต่อไป !!

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us