Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2538
"ไมโครเนติค-เอ็มไอเอส พันธมิตรพลิกโฉมอินฟอร์เมชั่นออนไลน์"             
 


   
search resources

ไมโครเนติค
เอ็มไอเอส
วิรัตน์ แสงทองคำ
Computer




เมื่อปีที่แล้ว ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เลือกบริษัทไมโครเนติค จำกัด ให้เป็นผู้วางระบบซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการปิดฉากการซื้อขายด้วยวิธีเคาะกระดานสู่จออิเล็กทรอนิกส์ และด้วยการเป็นผู้วางรากฐานให้กับระบบดังกล่าวนี่เอง ทำให้ไมโครเนติคกลายเป็นผู้วางระบบซื้อขายหลักทรัพย์ให้กับบริษัทค้าหลักทรัพย์อีกเป็นจำนวนมาก

ตรงนี้เองที่เป็นข้อต่อสำคัญของการเป็นพันธมิตรกันระหว่างไมโครเนติคและบริษัทบริการข้อมูลผู้จัดการจำกัด หรือเอ็มไอเอสในปัจจุบัน

ล่าสุดไมโครเนติคมีฐานลูกค้าที่เป็นโบรกเกอร์ค้าหลักทรัพย์ ที่บริษัทเป็นผู้วางระบบคอมพิวเตอร์สำหรับซื้อขายหลักทรัพย์ให้จำนวน 35 รายจากที่มีอยู่ทั้งหมด 56 ราย

ขณะที่ไมโครเนติคเป็นผู้วางระบบ เอ็มไอเอสเป็นเจ้าของข้อมูลมหาศาล การร่วมมือกันจึงเกิดขึ้น

การเซ็นสัญญาระหว่าง 2 บริษัทเมื่อวันที่ 26 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้อมูล "ไฟแนนเชียลเดย์ออนไลน์" นับเป็นก้าวสำคัญอย่างยิ่ง

วิรัตน์ แสงทองคำ กรรมการผู้จัดการเอ็มไอเอสอธิบายว่า ยุทธวิธีของเอ็มไอเอสครั้งนี้เหมือน "มุดมุ้ง" เข้าหาลูกค้าโดยตรงเลย

กล่าวง่าย ๆ ก็คือ ข้อมูล "ไฟแนนเชียลเดย์ ออนไลน์" ของเอ็มไอเอสจะเข้าไปปรากฎบนจอของโบรกเกอร์ที่ไมโครเนติควางระบบไว้ให้ก่อนหน้านั้นแล้ว

โบรกเกอร์ที่ใช้บริการของไมโครเนติคอยู่แล้ว ไม่ต้องซื้อจอคอมพิวเตอร์เพิ่มไม่ต้องติดตั้งวางระบบใหม่เอ็มไอเอสก็เข้าทางลัด ไม่ต้องสร้างทีมการตลาด ไม่ต้องสร้างทีมซ่อมบำรุง เพราะไมโครเนติคมีทีมรับผิดชอบอยู่แล้ว

ลูกค้าเพียงจ่ายเงินเพิ่มหากต้องการข้อมูล "ไฟแนนเชียลเดย์ ออนไลน์" เท่านั้น

ทางลัดที่วิรัตน์เรียกว่า "มุดมุ้ง" นี้เองเป็นยุทธวิธีการตลาดที่รวดเร็วและทำให้ "ไฟแนนเชียลเดย์ ออนไลน์" เกิดในตลาดนี้แน่นอน

เพราะที่ผ่านมา โบรกเกอร์หรือลูกค้าทั่วไปจะต้องมีจอคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งสำหรับสั่งซื้อสั่งขาย มีอีกจอหนึ่งสำหรับดูข้อมูลประกอบการตัดสินใจ มีอีกจอสำหรับดูข่าวเรียลไทม์ และมีอีกหลายจอเพื่อดูข่าวและข้อมูลอื่น ๆ ตามบริการใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น เรียกว่ามีจอคอมพิวเตอร์รอบตัวไปหมด หากต้องการข่าวข้อมูลหลาย ๆ ด้าน

"ต่อไปนี้ คุณมีคอมพิวเตอร์เพียงจอเดียว ก็ได้ทุกอย่าง" วิรัตน์ยืนยัน

วิธีที่เอ็มไอเอสนำมาใช้เพื่อรองรับกับวิธีการดังกล่าวคือ การพัฒนาซอฟต์แวร์ข้อมูลบนระบบปฏิบัติการวินโดว์ ซึ่งเป็นโปรแกรมระบบที่จะทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกในการเรียกดูข้อมูลประเภทต่าง ๆ ได้ในเวลาเดียวกัน

ขณะที่เอ็มไอเอสจะได้แจ้งเกิดในตลาดข้อมูลออนไลน์ ไมโครเนติคก็จะเข้าสู่ยุคการขยายตัวอีกครั้ง โดยเครื่องมือทางการตลาดใหม่ในการหาลูกค้า นั่นคือ วางระบบคอมพิวเตอร์พร้อมบริการข้อมูลไปด้วย

เรียกว่า ขายเครื่องพ่วงข้อมูลออนไลน์เสร็จสรรพ

สำหรับข้อมูล "ไฟแนนเชียลเดย์ ออนไลน์" ที่จะขายผ่านจอนั้น วิรัตน์อธิบายว่าในช่วงต้นอาจจะมีประมาณ 7 รายการ เช่น ข่าวและข้อมูลเรียลไทม์ ซึ่งสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ การวิเคราะห์เกี่ยวกับบริษัท และอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ เป็นการวิเคราะห์จากเอ็มไอเอสและสถาบันวิจัย ข้อมูลสถิติทางเศรษฐกิจ ข้อมูลบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ข้อมูลการสำรวจทางธุรกิจการจัดผลการลงทุน

ข้อมูลเหล่านี้จะนำมาจากคลังข้อมูลของเอ็มไอเอสที่สะสมไว้ ส่วนหนึ่งมาจากหนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลเดย์ รวมทั้งบริษัทไมโครเนติค ซึ่งมีฐานข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯ อยู่แล้ว อาทิ งบการเงินของ ข้อมูลสถิติ ที่เอ็มไอเอส ได้นำมาจัดให้เป็นระบบมาตรฐาน

ที่สำคัญคือ บริการของไฟแนนเชียลเดย์ ออนไลน์จะเป็นระบบอินเตอร์แอคทีฟ ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกดูข้อมูลได้ตามที่ต้องการ ในขณะที่ผู้ให้บริการส่วนใหญ่ จะให้บริการส่งข้อมูลได้ทางเดียว หรือบางรายสามารถให้บริการแบบอินเตอร์แอคทีฟได้บ้าง แต่ข้อมูลไม่ลึกพอ

ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง คือ การจะต้องมีฐานข้อมูลที่ลึกมากที่สุด วิรัตน์ยืนยันว่า ข้อมูลของไฟแนนเชียลเดย์ ออนไลน์จะดูย้อนหลังไปได้ถึง 5 ปี

"ขณะที่คุณดูราคาหุ้นในหน้าต่างแรก อีกหน้าหนึ่งในจอเดียวกันนั่นเอง คุณก็สามารถคีย์ดูข่าวหรือดูข้อมูลบริษัทย้อนหลังไปพร้อม ๆ กัน" วิรัตน์อธิบาย

ในแง่ของลูกค้านั้นที่วิรัตน์มองไว้จะมาจากโบรกเกอร์ 29 ราย ซึ่งใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของไมโครเนติคอยู่แล้ว โดยลูกค้ากลุ่มนี้จะมีคอมพิวเตอร์ใช้งาน 2,000-3,000 เครื่อง ซึ่งจะสามารถใช้บริการไฟแนนเชียลเดย์ออนไลน์ได้ทันที โดยไม่ต้องตั้งระบบคอมพิวเตอร์ใหม่

ส่วนค่าบริการนั้น อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งจะมีทั้งเก็บเป็นนาที (แอร์ไทม์) และเก็บเหมาเป็นรายเดือนโดยค่าบริการที่ได้จะนำมาแบ่งกันระหว่าง เอ็มไอเอส และไมโครเนติค

อย่างไรก็ตามวิรัตน์ยืนยันว่า จะไม่ผูกติดกับไมโครเนติคเพียงรายเดียว แต่จะร่วมมือกับพันธมิตรอื่น ๆ ในลักษณะเดียวกัน เพราะลูกค้าเป้าหมายของบริการนี้ จะเป็นองค์กร หรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่ยังมีตลาดอีกมาก

สำหรับซอฟต์แวร์ของบริการไฟแนนเชียลเดย์ออนไลน์ ที่เป็นต้นแบบ (PROTOTYPE) กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งคาดว่าจะเสร็จทันให้บริการได้ภายในช่วงต้นเดือนมกราคม และเมื่อไฟแนนเชียลเดย์ ออนไลน์ เผยโฉมออกมา เขาก็คาดว่าจะขึ้นเป็นอันดับ 1 ของผู้ให้บริการออนไลน์ ได้ในเวลา 6 เดือนที่เปิดให้บริการ

ซึ่งเวลาเท่านั้น จะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า ไฟแนนเชียลเดย์ ออนไลน์ และบริษัทบริการข้อมูลผู้จัดการ รวมทั้งไมโครเนติคจะแจ้งเกิดในตลาดออนไลน์ข้อมูลได้หรือไม่ !

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us