Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤศจิกายน 2543








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤศจิกายน 2543
จากตู้โทรศัพท์สาธารณะถึงฟรีอินเตอร์เน็ต             
 

   
related stories

เปิดแผนปฏิบัติการฟรีอินเทอร์เน็ต

   
search resources

ฟรีไอเน็ต
องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย-TOT
ไทยคอมซิส แอนด์ แจ็คสัน
สุรศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนา
ISP (Internet Service Provider)




อันที่จริงแล้วบริษัทฟรีไอเน็ต ไม่ใช่หน้าใหม่ในแวดวงธุรกิจสื่อสาร แต่เป็นเอกชน ที่ทำมาค้าขายกับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) มานานกว่า 20 ปี และยังเป็นเจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จำนวนมาก

ด้วยสไตล์การทำธุรกิจแบบพ่อค้าคนจีน ชื่อของ สุรศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนา อาจไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากนัก แต่สำหรับบรรดาซัปพลายเออร์ผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้รับเหมาข่ายสาย และผู้บริหารระดับสูงขององค์การโทรศัพท์แล้ว สุรศักดิ์เป็นที่รู้จักดีพอๆ กับเจ้าของธุรกิจสื่อสารรายใหญ่ๆ ของเมืองไทย

อดีตนักบาสเกตบอลทีมชาติไทย วัย 60 ปี เล่าว่า เขาสร้างเนื้อสร้างตัวมาโดยลำพัง พื้นฐานครอบครัวไม่ได้ร่ำรวย มีพี่น้อง 6 คน หลังเรียนจบจากโรงเรียนสหคุณ โรงเรียนพาณิชย์เล็กๆแห่งหนึ่ง เริ่มจับงานอาชีพหลายอย่างแต่ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน จนมาสร้างเนื้อสร้างตัวได้กับธุรกิจรับเหมาทำโครงสร้างอลูมิเนียม (finishing)

อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ อย่างตึกซิโนไทย สำนักงานไทยรัฐ การบินไทย รวมถึงโรงแรมระดับ 5 ดาว ไม่ว่า จะเป็นโอเรียนเต็ล ริเวอร์ซิตี้ แชงกรี-ลา โรงแรมโนโวเทล สาขาสยามสแควร์ ล้วนแต่เป็นลูกค้าของเขา และยังรวมไปถึงอาคารสำนักงานในประเทศบาร์เรน

จากพื้นฐานธุรกิจรับเหมาติดตั้งโครงสร้างอะลูมิเนียมนี้เอง ที่เป็นช่องทางให้ สุรศักดิ์ เริ่มหันมาติดต่อค้าขายกับองค์การโทรศัพท์ฯ ด้วยการเป็นผู้รับเหมาสร้าง และติดตั้งตู้โทรศัพท์สาธารณะให้กับทศท. ในนามของบริษัทเคฟาร์อีส เทรดดิ้ง จดทะเบียนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2516

นับตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา สุรศักดิ์ ทำมาค้าขายกับหน่วยงานรัฐแห่งนี้มาตลอด เขาได้จดทะเบียนบริษัทขึ้นมาอีกหลายแห่งขึ้นมา เพื่อทำธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับตู้โทรศัพท์สาธารณะ เช่น บริษัทแจ็คสัน จำกัด และบริษัทแจ็คสันคอมมิวนิเคชั่น ดูแลรักษาความสะอาดตู้โทรศัพท์สาธารณะ จนกระทั่งธุรกิจรับเหมาติดตั้งข่ายสายตอนนอก ที่นับว่า เป็นการขยาย"โดยร่วมทุนกับบริษัทมารูบินี ผู้ผลิตอุปกรณ์ข่ายสายจากประเทศญี่ปุ่น จัดตั้งบริษัทไทยคอมซิส แอนด์ แจ็กสัน จดทะเบียนในปี 2535

บริษัทไทยคอมซิส แอนด์ แจ็กสัน เป็น 1 ใน 5 ของผู้รับเหมาติดตั้งข่ายสายตอนนอกรายใหญ่ของเมืองไทย ชำนาญพื้นที่ติดตั้งในเขตกรุงเทพฯ และภาคกลาง ไล่ตั้งแต่กรุงเทพฯ นครปฐม สระบุรี นครสวรรค์ นครนายก ลพบุรี ส่วนอีก 4 ราย ซึ่งล้วนแต่เป็นบริษัทร่วมทุนกับต่างชาติ คือ อิตาเลียนไทย ฟูรูกาวา ฮิตาชิเอ็กส์ซีโอ และอัลคาเทล จะมีพื้นที่รับผิดชอบในของตัวเอง ภาคอื่นๆ แตกต่างกันไป

การแข่งขันของธุรกิจนี้ จัดได้ว่าเป็นลักษณะกึ่งผูกขาด ผู้รับเหมาทั้ง 5 ราย จะไม่แข่งขันกันเอง แต่จะมีพื้นที ที่ตัวเองถนัด และรับผิดชอบต่างกันไป ซัปพลายเออร์ หรือ ผู้ผลิตอุปกรณ์ ที่ประมูลงานได้จากทศท.ได้ มักจะว่าจ้างต่อ sub contract ผู้รับเหมาทั้ง 5 ราย ติดตั้งโครงข่ายให้

เนื่องจากต้นทุน ที่เป็นลักษณะการลงทุนครั้งเดียว หากซัปพลายเออร์ ต้องมาลงทุนสร้างสำนักงาน และจ้างคนเข้ามาทำเองย่อมไม่คุ้มเท่ากับการจ้างผู้รับเหมาเดิมทั้ง 5 รายที่มีสำนักงาน และทีมงานอยู่ และชำนาญพื้นที่ดีอยู่แล้ว ผู้รับเหมาทั้ง 5 รายนี้ จึงเติบโตควบคู่ไปกับ การขยายงานของทศท. และในจำนวนนี้มักมีชื่อติดกลู่มว่าอยู่เบื้องหลังในโครงการใหญ่ๆ

สำหรับ ไทยคอมซิส แอนด์ แจ็คสัน นอกเหนือจาก งานขยายโครงข่ายของทศท.ทำเองแล้ว โครงการโทรศัพท์ 2.6 ล้านเลขหมายของเทเลคอมเอเซีย และโครงการ SDH ซึ่งมูลคาของการติดตั้ง เฉพาะข่ายสายตอนนอกของแต่ละโครงการก็มีมูลหมื่นล้านบาท

ในยุคอสังหาริมทรัพย์เฟื่องฟู สุรศักดิ์หันไปจับธุรกิจทางด้านนี้ควบคู่ไปด้วย โดยเขาก่อตั้งบริษัท ขึ้นมาเกือบสิบบริษัท เพื่อทำโครงการอสังหาริมทรัพย์ เช่น ฮอลิเดย์ คันทรีคลับ ฮอลิเดย์พร็อพเพอตี้ ฮอลิเดย์สปอร์ตคลับ วิลเลียมเดวิทแอนด์พาร์ทเนอร์ แต่โครงการขนาดใหญ่ และเป็นที่รู้จักดี คือ สนามกอล์ฟเพรสซิเดนท์คันทรีคลับ

ถึงแม้จะค้าขายกับองค์การโทรศัพท์มานานมากกว่า 20 ปี มีสายสัมพันธ์ดีกับผู้อำนวยการมาทุกยุคสมัย แต่สุรศักดิ์ยังไม่เคยมีธุรกิจสัมปทานแม้แต่โครงการดียว แต่กลับปล่อยให้เอกชนอื่นๆ อย่าง กลุ่มชินวัตร กลุ่มจัสมิน ที่เข้ามาในยุคหลังเขาหลายปี ซึ่งดูสวนทางกับบุคลิกของสุรศักดิ์ ที่บอกถึงบุคลิกส่วนตัวว่าเป็นคนไม่หยุดนิ่ง ชอบคิดตลอดเวลา

อันที่จริงแล้ว สุรศักดิ์ เป็นคู่แข่ง ที่เคยเสนอตัวขอทำโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ช่วงเวลาเดียวกับ ที่ดร.ทักษิณ ชินวัตร แต่ต้องพลาดไป ด้วยเหตุผลที่ว่าเขาไม่สามารถหาเครื่องลูกข่ายเข้ามาจำหน่ายได้ โครงการจึงตกไปอยู่ในมือของทักษิณ ที่สามารถไปติดต่อกับบริษัทโนเกีย ประเทศฟินแลนด์

ธุรกิจฟรีอินเทอร์เน็ตจะเป็นสัมปทานแรกของสุรศักดิ์ ที่สร้างการเรียนรู้ใหม่ และจากประสบการณ์ในธุรกิจสื่อสาร ซึ่งเขาเชื่อว่า นี่เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับการเข้าสู่ธุรกิจอินเทอร์เน็ต และเหมาะที่สุด ที่จะให้ลูกชายทั้งสอง คือ กอบศักดิ์ และพรศักดิ์ ชินวงศ์วัฒนาเรียนรู้ธุรกิจด้วยตัวเอง โดยมีเขาเป็นพี่เลี้ยง

"ผมมองว่าอนาคตหนีไม่พ้น ประเทศอื่นมาเลเซีย สิงคโปร์ ไต้หวันไปไกลมากแล้ว ผมอยู่ในวงการสื่อสาร รู้ดีว่า ช่วงนี้ดีที่สุด ที่เราจะต้องไป เราเองก็ศึกษามา 2 ปีแล้ว "สุรศักดิ์ กล่าว และบอกต่อว่า

ประสบการณ์กว่า 20 ปีที่ค้าขายกับทศท. มากพอ ที่ทำให้สุรศักดิ์ รู้ว่า รูปแบบของสัมปทาน และโครงข่าย ที่ทศท.มีอยู่ คือ โอกาสที่ดีของการผันสู่ธุรกิจให้บริการ และการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นหลังเปิดเสรี ซึ่งอาจไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเจ้าของสัมปทานมากมาย พัฒนาการของเทคโนโลยี จะทำให้อินเทอร์เน็ตไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น แต่เป็นได้ทั้งโทรศัพท์ หรืออุปกรณ์อื่นตามแต่เทคโนโลยีจะพัฒนาไป

การเปิดตัวฟรีอินเทอร์เน็ตในวันนี้ จึงอาจเป็นแค่การนำร่อง เท่านั้น และนี่คือ สิ่งที่ทำให้สุรศักดิ์ เชื่อเสมอว่า ฟรีอินเทอร์เน็ตเป็นธุรกิจ ที่ทำได้จริง "ธุรกิจมันต้องมันต้องทำได้จริง ต้องมีต้นทุน มีกำไร ขาดทุน"

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us