Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน20 กรกฎาคม 2549
แบงก์ชาติตรึงดอกเบี้ย 5% หั่นจีดีพีสิ้นก.ค. - ชี้ปีหน้าน้ำมันโลก 87 เหรียญฯ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
Interest Rate




แบงก์ชาติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหรืออาร์/พี 14 วัน ที่ระดับ 5% เหตุปัจจัยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังไม่สูงเกินเป้าที่ตั้งไว้ ระบุยังไม่มีการปรับเพิ่มราคาน้ำมันเฉลี่ยจากเหตุการณ์สงครามตะวันออกกลาง แต่ประเมินราคาน้ำมันจะพุ่งสูงสุดในปี 2550 ที่ระดับ 87 เหรียญต่อบาร์เรล แย้มสิ้นเดือนนี้จะมีการปรับประมาณการเศรษฐกิจในการประชุมรายงานเงินเฟ้อ ด้าน "ทนง" เชื่อทั้งปีจีดีพีไม่หลุด 4% แม้ครึ่งปีหลังต่ำแค่ 2.5% ฝากการบ้านแบงก์ชาติหาเหตุทำลงทุนซบ

นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วานนี้ (19 ก.ค.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ไว้ที่ 5.00% ต่อปี เนื่องจากกนง.ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ยังคงมีแนวโน้มชะลอตัวลง เมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ จากความไม่แน่นอนในหลายประการ รวมทั้งราคาน้ำมัน แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2549 ที่ส่งผ่านมายังอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังสูงขึ้นไม่มากนัก ซึ่งยังไม่เกินเป้าหมายที่ธปท.คาดไว้ที่ 3.5%

“ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอลง ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มลดลงในช่วงครึ่งปีหลัง แต่ลดช้ากว่าที่ธปท.คาดการณ์ไว้ เพราะอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ส่งผลโดยตรงจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงด้วย ซึ่งยังอยู่เป้าหมายเดิมที่ธปท.คาดการณ์ไว้ระดับ 3.5% ดังนั้นด้วยเหตุผลทั้งสองอย่างกนง. จึงคงอัตราดอกเบี้ยไว้”

ทั้งนี้ ในปัจจุบันปัจจัยที่เป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นยังคงเป็นปัจจัยหลักจากราคาน้ำมัน และหากดีเซลปรับราคามาอยู่ที่ 28-30 บาทต่อลิตร กลุ่มขนส่งจะขอขึ้นอัตราค่าโดยสารรถอีก นอกจากนี้รายการสินค้าจากตะกร้าผู้บริโภค หากมีการปรับขึ้นราคาจะทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นหรือไม่ ซึ่งสินค้าบางชนิดที่ต้นทุนปรับสูงขึ้น แต่ยังไม่มีการปรับราคาก็ยังมีอยู่ จึงเป็นปัจจัยที่ล้วนมีผลต่อราคาน้ำมันในระยะต่อไป

ส่วนเหตุการณ์สงครามในตะวันออกกลางไม่ได้มีต่อการประเมินราคาน้ำมัน แต่กนง. จะดูว่าราคาน้ำมันดูไบปรับมาอยู่ที่ 87 เหรียญต่อบาร์เรล ไตรมาสสุดท้ายปี 2550 เศรษฐกิจจะเกิดอะไรขึ้น หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นในระดับนี้ ทั้งนี้ในการประชุมของกนง.ครั้งนี้ ราคาน้ำมันอยู่ภายใต้สมมติฐานที่ 71 เหรียญต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันในครั้งก่อนจากรายงานเงินเฟ้ออยู่ที่ 62 เหรียญต่อบาร์เรล

ด้านความต้องการในการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างชัดเจน ขณะที่การบริโภคชะลอตัวบ้างแต่ไม่สูงกว่าที่ต่างฝ่ายกังวลไว้ เนื่องจาก แม้ราคาน้ำมันจะดึงอำนาจซื้อของผู้บริโภคไปบ้างส่วน แต่เงินเดือนของภาคธุรกิจก็มีการปรับขึ้นไปพร้อมกับอัตราเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันเกษตรกรก็มีรายได้สูงขึ้นผลจากราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้ ในภาวะที่ปัจจัยภายในและภายนอกต่างๆ รวมทั้งราคาน้ำมันที่ยังคงมีความผันผวนมาก กนง.จับตาดูปัจจัยชี้วัดด้านเสถียรภาพราคาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินนโยบายการเงินที่เหมาะสมต่อไป

“ในที่ประชุมกนง.ครั้งนี้มีการปรับประมาณการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปีนี้จากเดิมที่อยู่ในระดับ 4.25-5.25% รวมถึงเศรษฐกิจปีหน้าที่จะชะลอตัวลงจากความเสี่ยงเศรษฐกิจไทยต่อระยะหนึ่ง แต่จะแถลงอีกครั้งในรายงานเงินเฟ้อสิ้นเดือนนี้ นอกจากนี้ยังดูความเสี่ยงทั้งเรื่องเสถียรภาพและการขยายตัวเศรษฐกิจมีมากขึ้นพร้อมกันทั้งคู่ ขณะเดียวกันแม้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังคงอยู่ที่ –0.4% แต่เชื่อว่าจะกลับมาเป็นบวกในช่วงเดือนสิงหาคม 2549 หากไม่มีปัจจัยใดๆ รวมทั้งราคาน้ำมันส่งผลต่อเศรษฐกิจไปมากกว่านี้แล้ว” นางอัจนา กล่าว

ด้านนายจักรมณฑ์ ผาสุกวณิช หนึ่งในกรรมการ กนง. กล่าวภายหลังการประชุมว่า การประชุมในวันนี้ที่คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 5.00% นั้นได้ดูปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อระบบเศรษฐกิจ ซึ่งการประเมินในครั้งนี้ง่ายมากไม่มีปัญหาอะไรที่น่าห่วง โดยอัตราเงินเฟ้อก็ยังคงควบคุมได้ และเป็นระดับที่น่าพอใจอยู่ แม้ราคาสินค้าและค่ารถจะมีการปรับขึ้นก็ตามแต่ก็ไม่ได้มีผลกดดันให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานสูงกว่าเป้าหมายที่ธปท.คาดไว้ที่ 3.5% ขณะที่เหตุการณ์สงครามในตะวันออกกลางหลายฝ่ายกังวัลจะทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นนั้น ก็เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราวเท่านั้น

นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังนำปัจจัยเรื่องการขยายตัวเศรษฐกิจมาวิเคราะห์ด้วย ถือว่ายังอยู่ที่ระดับพอใจ โดยในช่วงไตรมาสแรกยังเติบโตได้ถึง 6% ซึ่งในช่วงไตรมาส 2 คาดว่าไม่มีปัญหาอะไรที่กระทบต่อเศรษฐกิจมากนัก

***"ทนง"เชื่อทั้งปีจีดีพีไม่หลุด 4%

นายทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน จะมีผลกระทบทำให้อัตราการบริโภคภายในประเทศชะลอตัวลง และส่งผลถึงอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจให้ขยายตัวน้อยลง คือ แทนที่ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศจะขยายตัวได้ถึง 5% ก็จะขยายตัวได้เพียง 4.5% เท่านั้น อย่างไรก็ดี ยังมั่นใจว่าจีดีพีไตรมาสที่ 2 ของปีนี้จะยังขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า 5% เพราะมีแรงเหวี่ยงจากเศรษฐกิจปีที่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ครึ่งปีแรกขยายตัวได้ถึง 5.5% ดังนั้น จึงไม่น่าเป็นห่วง หากจีดีพีในครึ่งปีหลังจะโตเพียง 2.5% เพราะถ้าคิดทั้งปีแล้วเศรษฐกิจจะยังโตได้ถึง 4%

"เศรษฐกิจปีนี้ มีโมเมนตัมจากปีก่อนที่ส่งผลถึงไตรมาสแรก ที่โตถึง 6% และก็ไตรมาสที่ 2 ก็ยังมีผลอยู่ ทั้งการส่งออกที่ยังดี ส่วนการลงทุนแม้จะโตน้อยลง แต่สัดส่วนเม็ดเงินมีไม่เยอะ จึงมีน้ำหนักน้อยที่จะส่งผลทำให้จีดีพีลดลง แต่หัวใจสำคัญคือการบริโภค โดยราคาน้ำมันจะกระทบการบริโภคในประเทศ ทำให้แทนที่จะโตได้ 5% ก็เหลือ 4.5% แต่ผมยังเชื่อว่าครึ่งปีแรกเศรษฐกิจจะโตได้ 5.5%" นายทนง กล่าว

ทั้งนี้ แม้ว่าผลกระทบจากราคาน้ำมันจะรุนแรงขึ้น แต่จุดสำคัญก็คือ ยังไม่ได้ส่งผลให้การบริโภคชะลอตัวมากจนเกินไป ทำให้ผลกระทบต่อการขยายตัวของจีดีพียังมีไม่มาก โดยที่ผ่านมาภาครัฐเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของน้ำมันประมาณ 10% ของรายได้ภาครัฐทั้งหมด ซึ่งถือว่ายังอยู่ในระดับที่ไม่ส่งผลกระทบมากนัก แต่หากค่าใช้จ่ายในส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 15-18% ก็จะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการบริโภคที่จะลดลงไปตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น

นายทนง กล่าวอีกว่า ในครึ่งปีหลังมีสัญญาณว่าอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่น่าจะลดลง และการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งสัญญาณว่าจะไม่ขึ้นดอกเบี้ยอีก ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะตราบใดที่อัตราเงินเฟ้อไม่เลวร้าย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยอีก เพราะว่าในขณะนี้สภาพคล่องในตลาดยังมีอีกมาก ทั้งนี้ที่ผ่านมา ถือได้ว่า ธปท. ดูแลอัตราเงินเฟ้อได้ดีพอสมควร ซึ่งหากเงินเฟ้อลดลง ก็จะส่งผลดีต่อความมั่นใจของนักลงทุน เพราะภาระต้นทุนจะได้ไม่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตามได้ให้ธปท. ไปดูสาเหตุที่แท้จริงที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุน และทำความเข้าใจโครงสร้างการลงทุนของประเทศ เพื่อที่จะได้ใช้นโยบายแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง อาทิ กรณีที่พบว่าการลงทุนในอุตสาหกรรมก่อสร้างชะลอตัวลง รัฐบาลจะได้ผลักดันโครงการเมกะโปรเจกต์ต่อไป เป็นต้น

สำหรับกรณีการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย เพราะเป็นคนละปัจจัยกับการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) แต่การขึ้นดอกเบี้ยของญี่ปุ่นถือว่าเป็นปัจจัยบวกมากกว่า เพราะสะท้อนว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มกลับมาเติบโตได้อีกครั้ง หลังจากอยู่นิ่งๆ มาหลายปี

ส่วนการแก้ปัญหาราคาน้ำมัน จะไม่มีการใช้มาตรการทางด้านภาษีเข้ามาช่วยอีก แต่จะเน้นไปที่มาตรการระยะยาวในเรื่องการส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาติ (เอ็นจีวี) ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ทั้งในด้านระบบขนส่งมวลชน และขนส่งสินค้า ซึ่งขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องก็พยายามเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่อยู่ ในส่วนของกระทรวงการคลังก็จะรับผิดชอบสนับสนุนมาตรการที่จำเป็น แต่จะไม่ทำเกินหน้ากระทรวงที่รับผิดชอบหลัก

"โรงงานเอทานอลจะเพิ่มขึ้นอีก 2-3 แห่งภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่โครงการคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับประเทศเพื่อนบ้านก็เริ่มแล้วในหลายๆ จุด ทุกคนก็พยายามเดินหน้ากันอย่างเต็มสูบ หัวใจสำคัญของเรื่องนี้ก็คือ เอ็นจีวี ที่จะใช้ทั้งในเรื่องขนส่งคน และขนส่งสินค้า ซึ่งจะสามารถช่วยประหยัดได้มหาศาลในอนาคต" นายทนง กล่าว

นายวราเทพ รัตนากร รักษาการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กรณีที่ให้เลื่อนการลงนามจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอลที่จังหวัดอยุธยา ระหว่างกรมสรรพสามิตกับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เนื่องจากโครงการดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนในรายละเอียดด้านต่างๆ อย่างเพียงพอ จึงไม่เหมาะสมที่จะรีบลงนาม ดังนั้น จึงได้ทางกรมสรรพสามิตไปตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการทั้งหมดอย่างรอบด้านก่อน จากนั้นให้นำผลการศึกษาที่ได้เสนอต่อคณะกรรมการองค์การสุรา และกระทรวงการคลังพิจารณาตามลำดับต่อไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us