" คุณอิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ เป็นดีลเมกเกอร์ที่เก่งมาก สามารถจับแพะชนแกะ
เกิดมาแล้วหลายโครงการที่หลายคนคาดไม่ถึง ไม่เฉพาะธุรกิจวิทยุเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามเขาก็เป็นประเภทที่หย่อนแล้วก็เลิก"
วนิดา ทักษิณาภินันท์ อดีตผู้จัดการมีเเดียพลัส ปัจจุบันนั่งบริหารเมย์กรุ๊ป
กล่าวทิ้งท้ายอย่างติดตลกแต่สะท้อนความเป็นตัวตนของอิทธิวัฒน์อย่างตรงไปตรงมา
อิทธิวัฒน์ให้กำเนิดไนท์สปอร์ตเติบโตจนเป็นที่นิยมของนักฟังเพลงในยุคอดีต
เช่นเดียวกับการสร้างมีเดียพลัสให้ผงาด ในอุตสาหกรรมวิทยุมาครอบ 10 ปี และต่อมาได้ขายให้กับพันธมิตรอย่างวัฏจักรในที่สุด
วัฏจักร และสยามบรอดคาสติ้ง แอนด์ คอมมิวนิเคชั่น ของคีรี กาญจนพาสน์ พันธมิตรที่อิทธิวัฒน์จับคู่มาเพื่อช่วยเกื้อกูลธุรกิจ
ในช่วงต้องเจอกับวิกฤตการณ์ อันเนื่องมาจากนโยบายจของรัฐที่กำหนดให้มีการประมูล
คลื่นสถานีวิทยุกรมประชาสัมพันธ์ และมีเดียพลัส ต้องพ่ายแพ้ไปในที่สุด
แต่เขาใช้เวลาไม่ถึง 2 ปี ในการอยู่ร่วมกับวัฏจักร โดยอิทธิวัฒน์และคีรีได้ขายหุ้นในมีเดียพลัสทั้งหมดให้กับวัฏจักร
แม้ว่าการร่วมกับวัฏจักรนั้นมียุทธศาสร์ของการรวมสื่อที่ดี วัฏจักรมีฐานจากสื่อสิ่งพิมพ์
ส่วนมีเดียพลัสมีฐานจากสื่อวิทยุ และสยามบรอดคาสติ้ง เป็นเจ้าของสัมปทานเคเบิลทีวี
แต่การที่มีพื้นฐานที่แตกต่างกันนี้เอง ทำให้สไตล์การบริหารงานย่อมแตกต่างกันไปด้วย
ไม่สามารถหล่อหลอมเป็นหนึ่งเดียวกันได้
อิทธิวัฒน์จากมีเดียพลัส มาพร้อมกับเม็ดเงินจำนวนกว่า 300 ล้านบาท ที่ได้มาจากการโยนหุ้นไปมาระหว่างพันธมิตร
3 กลุ่ม กลุ่มวัฏจักรคีรี กาญจนพาสน์ เจ้าของสยามบรอดคาสติ้ง เน็ทเวิร์ค
ผู้รับสัปทานไทยสกายคอม
เขากล่าวกับ " ผู้จัดการรายเดือน" ว่าเงินที่ได้มานั้นเป็นกำไรจากขายหุ้นของบริษัทสยามบรอดคาสติ้ง
ที่เขาได้เข้าไปถือครองบางส่วน ในระหว่างการสวอปหุ้นแลกเปลี่ยนกันไปมาระหว่างพันธมิตร
3 กลุ่ม ไม่ได้มาจากการขายมีเดียพลัส
" ใครจะซื้อมีเดียพลัส สัญญาวิทยุก็เป็นปีต่อปี สินทรัพย์ก็เป็นของรัฐบาล
ที่ขายได้เห็นจะเป็นชื่อเสียงเท่านั้น เราขายมีเดียพลัสในราคาพาร์ แต่สยามบรอดคาสสติ้ง
คือสิ่งที่เราขายและได้กำไรมา" อิทธิวัฒน์ ชี้แจง
การหันหลังให้กับมีเดียพลัส ในครั้งนั้น หาใช่เป็นการปิดฉากธุรกิจวิทยุไม่เป็นแต่เพียงการรอเวลาเพื่อการสร้างอาณาจักรใหม่
อิทธิวัฒน์ ได้ตัดสินใจหอบเงิน100 ล้านบาท ไปซื้อหุ้นของไทยสกายคอม เจ้าของสัมปทานบริการสื่อสารรข้อมูลภาพและเสียง
(วีแซท) ต่อจากธนายง และลงมือเปลี่ยนแนวธุรกิจวีแซทของธนายงใหม่หมด เริ่มตั้งแต่การยื่นของเปลี่ยนแปลงสัมปทาน
เพิ่มประสิทธฺภาพการให้บริการภาพให้มีศักยภาพมากขึ้น และยืดอายุสัมปทานจาก
15 ปี เป็น 22 ปี
พร้อมทั้งกำหนดบริการรูปแบบใหม่สกายบรอดคาส ซึ่งเป็นสื่อสารทางเดียว ในลักาณะของเครือข่ายเฉพาะ
( private network) ภายใต้เทคโนโลยี scpc:single channel per carrier เพื่อให้ลูกค้าวิทยุและโทรทัศน์
สามารถส่งรายการไปยังสถานีวิทยุหรือโทรทัศน์ของตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านสถานีแม่ข่ายหลักแต่อย่างใด
อิทธิวัฒน์ เชื่อว่าระบบดังกล่าวจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการลงทุน เจาะถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
สามารถเลือกสื่อโฆษณาถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง ในรูปแบบของ localization
แต่การเป็นเจ้าของธุรกิจวีแซทไม่ใช้เป้าหมายที่แท้จริง เขาเพียงต้องการนำวีแซทมาใช้ประโยชน์ในธุรกิจวิทยุ
ที่กำลังจะสร้างขึ้นมาใหม่เท่านั้น อีกทั้งการจะฟื้นฟูไทยสกายคอมให้เป็นไปตามเป้าหมายยังต้องใช้ทั้งเงินทุนและกำลังคนอีกเป็นจำนวนมาก
ไม่ใช่เรื่องง่ายแน่ที่จะต้องทำเพียงลำพัง
อิทธวัฒน์ ได้ชักชวนสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ พันธมิตรใหม่ที่มีบทบาทอย่างยิ่งสำหรับเขาในปัจจุบัน
ซึ่งกำลังต้องการขยายบทบาทในธุรกิจทางด้านมีเดียและโทรคมนาคมพอดี ให้เข้ามาซื้อหุ้น
30% ในส่วนของล็อกซเล่ย์ ที่ถือครองอย่ 40%
ปัจจุบันไทยสกายคอม ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นสยามแซทเทิลไลท์ เน็ทเวิร์ค เป็นบริษัทหลักในสายธุรกิจโทรคมนาคมของสยามทีวี
แอนด์ แมเนเจอร์ รับหน้าที่ในการบริหารหลัก และอิทธิวัฒน์ รับตำแหน่งเป็นรองประธานบริษัท
ได้ทำการปรับปรุงทั้งทางด้านเทคนิกและการตลาดด้วยการนำบริการรูปแบบใหม่ และการใช้กลไกทางด้านราคามาเป็นตัวทำตลาด
ทำให้สยามแซทฯ ที่เคยถูกสื่อสารแห่งประเทศไทยปรับไปกว่า 1 ล้านบาท เพราะเปิดให้บริการไม่ทันตามกำหนด
มีสถานการณ์ที่ดีขึ้น
เมือการสร้างเครือข่ายวีแซทเริ่มสัมฤทธิผล อิทธิวัฒน์จึงเริ่มหันมาสร้างอาณาจักรธุรกิจทางด้านวิทยุที่หล่อหลอมเขามาทุกวันนี้ขึ้นใหม่อีกครั้ง
ด้านวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้น จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ทั้งในเรื่องเทคดนโลยีผสมกับการได้พันธมิตรใหม่อย่างสำนักทรัพย์สินฯ
ทำให้ " โอกาส" ทางธุรกิจของอิทธิวัฒน์ จึงไม่ใช่กิจการวิทยุเช่นในอดีต
แต่จะเป็นยุคใหม่ของกิจการวิทยุต้องอาศัยเทคโนโลยีเป็นสื่อนำพา
"ผมบอกว่าจะหันไปทำเรื่องเทคโนโลยี ใช้เงินลงทุน 300 บาท ซึ่งในวันนี้ผมก็ทำเช่นนั้น
โดยมีเป้าหมายว่า วันหนึ่งเทคโนโลยี และวิทยุจะต้องต่อเชื่อมกัน และวันนี้มันก็มาถึง
ใช้เวลาเพียง 1 ปี เท่านั้น เร็วกว่าที่คิดไว้เยอะอิทธิวัฒน์ถ่ายทอดแนวคิด
เทคโนโลยีและวิทยุที่ต่อเชื่อมกันในความหมายของอิทธิวัฒน์ คือการนำวีแซทมาใช้เป็นเครือข่าย(
network) ในการส่งผ่านรายการวิทยุ ที่เขาผลิตขึ้น ถ่ายทอดคู่ไปกับเคเบิลทีวี
โทรทัศน์ หรือวิทยุ ในรูปแบบของวิทยุโทรทัศน์ หรือเคเบิลเรดิโอ
ในเชิงเทคนิกแล้ว วิธีการดังกล่าวจะเป็นการนำรายการวิทยุส่งสัญญานด้วยวีแซทออกอากาศคู่ไปกับเคเบิลทีวี
ทีวีหรือวิทยุ ในลักษณะของ " คลื่นเบียด" เข้าไปแทรกในช่องรายการโทรทัศน์ที่เหลือของโทรทัศน์
ซึ่งผู้รับสามารถรับผังวิทยุจากทีวีได้ เหมือนกับซาวด์แทรกของทีวี
สำหรับกิจการเคเบิลทีวีจะครอบคลุมไปถึงเครือข่ายใยแก้วนำแสง ระบบ mmds
และการส่งสัญญานดาวเทียมผู้เป็นสมาชิกเคเบิลทีวีในรูปแบบต่าง ๆ จะรับฟังรายการวิทยุ
ด้วยการเลือกจากช่องของเครื่องรับโทรทัศน์ที่ว่างอยู่ได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแบบบอกรับสมาชิก
แต่จะจ่ายรวมอยู่ในค่าบริการเคเบิ้ลทีวีที่ผู้ให้บริการคิดกับสมาชิก
พูดง่าย ๆ ก็คือได้ทีวีมาอีก 1 ช่อง แต่จะมีแต่เสียงไม่มีภาพ
หากเป็นวิยุ จะสามารถใช้เทคโนโลยี " คลื่นเบียด" แทรกไปในระหว่างช่องวิทยุที่มีอยู่
400 สถานีได้ถึง 2 เท่า ในลักษณะเดียวกับวิทยุรถเมล์ โดยผู้รับจะต้องมีเครื่องแปลงสัญญานรับสัญญานอีกครั้งหนึ่ง
หากเป็นวิทยุในระยนต์จะมีปุ่ม RDS ( Radio dATA Sytem) ที่จะรับสัญญานจากรายการเหล่านี้ได้ทันที
ส่วนวิทยุตามบ้านจะมีปุ่มที่เรียกว่า อาร์ดีเอสติด อยู่จะรับสัญญานได้เช่นกัน
ส่วนในกรณีของโทรทัศน์ปกติ จะต้องเป็นเครื่องที่มีระบบไนแคม จึงจะสามารถรับรายการวิทยุในลักษณะนี้ได้
อิทธิวัฒน์ ได้สร้างห้องส่งออกอากาศ ขึ้นที่บ้านวัฒนาการ สุขุมวิท 49 อันเป็นแหล่งกำเนิดธุรกิจของอิทธิวัฒน์
ตั้งแต่สมัยไนท์สปอร์ต มีเดียพลัส โดยห้องส่งรายการของเขาจะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
ระบบดิจิตอล ชิงโครไนเซชั่น เพื่อควบคุมการตัดต่อและถ่ายทอดรากยารเพลง รวมทั้งกำหนดเวลาในการออกอากาศ
เพื่อส่งรายการผ่านเครือข่ายวีแซทผ่านไปยังสื่อประเภทต่าง ๆ
ด้วยวิธีการเหล่านี้ อิทธิวัฒน์ มองว่า เขาจะสามารถผลิตรายการ เพียงชิ้นเดียว
แต่สามารถส่งไปออกอากาศได้หลายทาง ทั้งอากาศ เคเบิลใยแก้วนำแสงดาวเทียม ซึ่งจะนำไปถึงการพัฒนาวิทยุแบบรูปแบบใหม่
ซึ่งจะนำไปถึงการพัฒนาวิทยุแบบรูปแบบใหม่ ที่สามารถเจากลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่ม
เฉพาะวัย และประเภทได้ ด้วยรูปแบบรายการที่แตกต่างกันออกไป
" ในอดีต ผมทำรายการสไมล์เรดิโอ กระจายเสียงออกอย่างเดียว ปัจจุบันผมเอารายการอันเดียวกันนี้
ตัดโฆษณาออกไปส่งผ่านเคเบิลทีวี ผ่านระบบดาวเทียมผ่านเคเบิลใยแก้ว"
อิทธิวัฒน์กล่าว
ที่สำคัญคือ จะทำให้อิทธิวัฒน์ ผลิตรายการเพลง ป้อน " สื่อ"
ประเภทต่าง ๆ ได้ โดยที่เขายังไม่ต้องลงทุนเป็นเจ้าของสถานีวิทยุ ที่นับวันต้นทุนสูงทั้งค่าเช่า
ค่าประมูลจะสูงขึ้นอีกต่อไป ดังที่เขาเคยได้รับบทเรียนอันปวดร้าวมาแล้วในอดีต
เคเบิลทีวี จะเป็นเครือข่ายแรกที่อิทธิวัฒน์ จะผลิตรายการเพลง ที่ไม่มีโฆษณาป้อนในสื่อดังกล่าวได้ภายใน
2 เดือน แต่จะเป็นของค่ายใดนั้นยังไม่เปิดเผยและจะทยอยผลิตป้อนให้กับโทรทัศน์และวิทยุต่อไป
ซึ่งวิทยุจะเริ่มในเดือนมกราคม 2539 ซึ่งเป็นการผลิตรายการป้อนให้กับสถานี
4 สถานี
แหล่งข่าวจากากรสื่อสารแห่งประเทศไทย ( กสท) กล่าวว่า วิธีการดังกล่าวทำได้ในเชิงเทคนิคแต่ในเชิงกฎหมายแล้ว
อาจจะต้องมีการยื่นขอหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอใบอนุญาตถ่ายทอดวิทยุด้วย
จะต้องมีการยื่นขอจากกรมไปรษณีย์โทรเลข
แต่สำหรับอธิวัฒน์แล้ว เขาเชื่อว่า สัมปทานเคเบิลทีวีนั้นสามารถครอบคลุมกับการถ่ายทอดทั้งภาพ
และเสียงอยู่แล้ว จึงไม่น่าเป็นปัญหา
นอกเหนือจากปัญหาในเรื่องการควบคุมจากรัฐแล้ว การลงทุนในเชิงพาณิชย์ก็เป็นสิ่งที่อิทธิวัฒน์จะต้องเจรจาเกลี้ยกล่อมบรรดาพันธมิตร
และบริษัทโฆษณาทั้งหลายให้เห็นช่องทางโฆษณาสื่อใหม่เช่นนี้อีกด้วย
แผนธุรกิจเคเบิลเรดิโอ หรือเรดิโอ แอนด์ ทีวี อิทธิวัฒน์ไม่ได้เพิ่งคิดขึ้น
แต่มีมานแล้ว ตั้งแต่สมัยอยู่มีเดีย พลัส แต่ยังติดปัญหาในเรื่องเทคนิคในเรื่องของห้องส่งเหมือนกับหลายโครงการที่อิทธฺธิวัฒน์เคยประกาศไว้
แต่ยังไม่บรรลุผลสำเร็จ
คนใกล้ชิดอิทธิวัฒน์ กล่าวว่า อิทธิวัฒน์เป็นนักคิด จึงมีหลายโครงการมากทีเขาคิดขึ้น
แต่ยังไม่เกิดเพราะปัญหาใหญ่ของเขาก็คือ คิดใหญ่แต่ไม่มีคนทำ
บริษัทบรอดคาสติ้ง เน็ทเวิร์ค ( ไทยแลนด์) บริษัทที่อิทธิวัฒน์ก่อร่างสร้างขึ้นควบคู่กับมีเดียพลัส
เมื่อ 11 ปีที่แล้ว แต่ไม่มีบทบาทในเชิงธุรกิจ ได้ถูกกำหนดให้เป็นเสมือนมีเดียพลัสแห่งที่สอง
ของเขา แต่ชะไม่ได้จำกัดบทบาทเพียงแค่ธุรกิจวิทยุดังเช่นไนท์สปอต และมีเดียพลัส
อีกต่อไป เพราะในครั้งนี้ อิทธิวัฒน์ ได้สำนักทรัพย์สินฯ เป็นพันธมิตร ทำให้มุมมองในธุรกิจของเขากว้างขึ้นไปอีก
บรอดคาสติ้ง เน็ทเวิร์ท มีเป้าหมายในการประกอบธุรกิจ 3 ประเภท คือ สื่อ,
ธุรกิจบันเทิง และโทรคมนาคม
อิทธิวัฒนื มีสายสัมพันธ์อันดีกับสำนักทรัพย์สินฯ มานานแล้ว เพราะเคยจับมือกันตั้งสำนักข่าวไอเอ็นเอ็น
ผลิตข่าวป้อนให้กับ มีเดียพลัส การลงทุนทางด้าน " สื่อ" ของเขาจึงเป็นการร่วมลงทุนกับสำนักทรัพย์สินฯ
ถึง 3 ธุรกิจ
สื่อวิทยุบรอคคาสติ้ง ฯ ได้เข้าไปร่วมทุนในบริษัทสยามเรดิโอ ดำเนินธุรกิจผลิตรายการ
และโฆษณาทางสถานีวิทยุ ระบบเอฟเอ็ม 2 สถานี เอเอ็ม 3 สถานี ในกรุงเทพฯ และภูมิภาค
30 สถานี
การลงทุนในสยามเรดิโอ อิทธฺวัฒน์ ยืนยันว่า ไม่ได้แข่งขันกับมีเดียพลัสโดยตรง
เพราะคนละกลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญเขาเองไม่ได้นั่งบริหารโดยตรง แต่ได้ส่งไชยงค์
นนทสุต คนสนิทนั่งบริหารงาน
นอกจากนี้ ยังร่วมเป็นหนึ่งในบริษัทสยามอินโฟเทนเม้นท์ ดำเนินเครือข่ายวิทยุโทรทัศน์เสรี
ระบบยูเอชเอฟ ซึ่งในคราวที่ประมูลทีวีเสรีนั้น อิทธิวัฒน์เลือกที่จะร่วมมือกับสำนักงานทรัพย์สินฯ
แทนที่จะเป็นกลุ่มวัฏจักรอันเป็นพันธมิตรดั้งเดิม ทั้ง ๆที่ ในเวลานั้น วัฏจักรได้เจ้ามาถือหุ้นในมีเดียพลัสอยู่แล้ว
การลงทุนในสื่อต่าง ๆ เหล่านี้เอง นอกจากจะได้รับรายได้จากตัวมันเองแล้ว
อิทธิวัฒน์หวังจะใช้เป็น " สื่อ" ที่เขาจะสามารถผลิตรายการเพลงป้อน
ด้วยเทคโนโลยี ระบบทีวีเรดิโอ หรือเคเบิลเรดิโอ ที่เขาคิดค้นขึ้น
อิทธิวัฒน์มองว่าข้อมูลข่าวสารนั้น เป็นปัจจัยสำคัญของโลกไร้พรมแดน ซึ่เขาคิดทำตั้งแต่สมัยมีเดียพลัส
แต่ในครั้งนี้เขาเลือกรูปแบบของ บริการข้อมูลข่าวสาร ผ่านระบบโทรศัพท์ ที่เขาให้ชื่อว่า
" นิวมีเดีย" โดยร่วมลงทุนกับบริKym Brite Voice สหรัฐอเมริกา
และบริษัทสยามโฟนไลน์ เครือสำนักทรัพย์สินฯ ให้บริการข้อมูลข่าวสารจากต่างประเทศผ่านดาวเทียม
แพนแอมแซท
ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกจะสามารถโทรมาสอบถามข้อมูลต่าง ๆ โดยหมุนเลขหมาย
4 หลัก 2 หมวด คือ ซิตี้ไลน์ 1557 จะเป้นบริการข้อมูลธุรกิจ กีฬา บันเทิง
และปาร์ตี้ไลน์ 1509 บริการสอบถามข้อมูล
ในอนาคตเขาจะขายโฆษณาขายสินค้าหรือเพลง ผ่านนิวมีเดีย เพื่อเพิ่มรายได้
สิ่งที่อิทธิวัฒน์คิดค้นบริการขึ้น นับเป็นรูปแบบบริการใหม่ ที่สะดวกต่อการรับข้อมูลข้อมูล
เพราะผู้ใช้ไม่ต้องมีอุปกรณ์ในการรับข้อมูล เช่นคอมพิวเตอร์ หรือวิทยุติดตามตัว
หรือโทรศัพท์มือถือ ในทางกลับกัน กลุ่มลูกค้าอาจไม่กว้างนัก อีกทั้งการแข่งขันในธุรกิจขายข้อมูลสูงขึ้นเรื่อย
ๆ
ธุรกิจบันเทิง หรือเอนเตอร์เทนเม้นท์ เป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่อิทธิวัฒน์
มองง่า จะเป็นแหล่งกระจายสินค้าเกี่ยวกับเพลงที่สามารถจับต้องได้ ซึ่งจะต้องแตกต่างไปจากธุรกิจผลิตรายการวิทยุ
ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่จับต้องไม่ได้ และต้องกระจายผ่านข่ายโทรคมนาคม
อิทธิวัฒน์ อาศัยสายสัมพันธ์ที่มีมายาวนาน นำเอาลิขสิทธิ์จากต่างประเทศมาประกอบกิจการค้าในลักษณะการร่วมลงทุน
เพื่อหวังมาเป็นตัวขยาบรายได้และเกื้อหนุนธุรกิจ ผลิตรายการวิทยุ และโทรทัศน์ในอีกทางหนึ่ง
บรอดคาสติ้งเน็ตเวิร์ค ร่วมลงทุนกับกลุ่มสำนักทรัพย์สินฯ ตระกูลสารสิน
และสันติ ภิรมย์ภักดี ลงทุนในภัตตาคารอันลือลั่น " แพนเน็ทฮอลลีวูด"
ซึ่งมีดาราชื่อดังจากฮอลลีวู๊ด เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จะตั้งในศูนย์การค้าเกษรพลาซ่า
บริเวณแยกราชประสงค์
การลงทุนธุรกิจนี้ อิทธิวัฒน์ และสำนักทรัพย์สินฯ มองว่าจะเป็นซอฟแวร์ประเภทหนึ่งที่จะเป็นประโยชน์กับทีวีเสรีในอนาคต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนักทรัพย์สินฯ กำลังจัดตั้งบริษัทสยามมิวสิค ซึ่งแตกหน่อมาจากสยามอินโฟเทนแมนท์
เพื่อทำช่องรายการเพลงป้อนทีวีเสรี
นอกจากนี้ อิทธิวัฒน์ ยังได้ลงทุนในกิจการภัตตาคาร misistry of sound คลับ
และกิจการแผ่นเสียงชื่อดังในอังกฤษ และ Road city Club
การลงทุนในธุรกิจภัตตาคารและคลับนั้น อิทธิวัฒน์มองว่า จะใช้เป็นแหล่งโปรโมตเพลงให้ติดหูคนฟัง
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกิจการวิทยุ และการจำหน่ายเทปเพลง
อิทธิวัฒน์ มีธุกริจที่ร่วมลงทุนกับบริษัทบีเอ็มจี จากสหรัฐอเมริกา ดำเนินกิจการผลิต
และจัดจำหน่ายเพลงของศิลปินจากต่างประเทศ อาทิ เอลวิส เพลสลี, วิทนี่ ฮุสตัน
เป็นต้น มานานแล้ว โดยได้มีการขยายความร่วมมือ ร่วมทุนกับบีเอ็มจี ประเทศไทยเจ้าของลิขสิทธฺ์ค่ายเพลงอิสระจัดตั้งบริษัทแปซิฟิก
มิวสิคในการผลิตเพลงไทยสากลอกจำหน่าย
แน่นอนว่าธุรกิจคอนเสริ์ต ซึ่งเป็นสายเลือดหนึ่งที่อิทธิวัฒน์เชี่ยวชาญมาตลอด
เขาจึงไม่พลาดที่จะลงทุนในบริษัทเรดิโอ ซิตี้ โปรดักชั่น ดำเนินธุรกิจจัดคอนเสิร์ต
พร้อมกับให้เช่าระบบเสียง
นอกจากนี้อิทธิวัฒน์ ยังได้ลงทุนในบริษัท ad-zone ดำเนินกิจการวางแผนแนวทางการตลาด
และสร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมธุรกิจ ซึ่งเปิดดำเนินกิจการมาระยะหนึ่งแล้ว
โดยได้ดึงเอาม.ร.ว. รุจิยารักษ์ อาภากร น้องชายของ ม.ร.ว. รุจยาภา เป็นกรรมการผู้จดัการ
การลงทุนในธุรกิจลักษณะนี้ จึงเป็นการใช้ประโยชน์จากสิ่งทีมีอยู่ ทั้งในเรื่องของประสบการณ์
และทรัพยากรบางอย่างมาสร้างมูลค่าเพิ่มในการสร้างธุรกิจ
ด้วยความเป็นนักคิด และนักสร้างแต่ไม่ใช่นักสานต่อ และในอีกภาคหนึ่งของตัวเขาเอง
คือรับราชการกรมตำรวจ ซึ่งขณะนี้เขารับการเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้กำกับสารนิเทศ
อิทธิวัฒน์ จึงต้องหาผู้บริหารที่จะสานต่อความคิดเหล่านี้ของเขา
ม.ร.ว. รุจยาภา อาภาภร อดีตผู้บริหารไนท์สปอร์ต และมีเดียลูกหม้อของอิทธิงวัฒน์ที่รู้ใจกันมานาน
มารับหน้าที่ในการควบคุมการบริหารงานทั้งหมด ของบรอดคาสติ้ง เน็ทเวิร์ค
อิทธิวัฒน์ กล่าวว่า มีทีมงานเดิมในมีเดียพลัส ที่ลาออกมาทำงานอยู่ด้วย
ประมาณ 40 คน จะมาช่วยในการดำเนินธุรกิจดังกล่าว
นอกจากนี้เขายังได้ บุรินทร์ บริบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน เคยอยู่ในทีมงานรถไฟฟ้าลาวาลิน
และเป็นผู้ทำแผนการเงินทั้งหมดของโครงการโทรทัศน์เสรียูอชเอฟ ปัจจุบันเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทซีเอ้นที
โฮลดิ้ง ในเครือคริสเตียนี ทำเรื่องการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ทั้งในและต่างประเทศ
มานั่งเป็นกรรมการในบริดคาสติ้ง เพื่อช่วยดูและทางด้านการเงินให้ด้วย
อิทธิวัฒน์และบุรินทร์ รู้จักกันตั้งแต่จัดทำโครงการทีวีเสรี ซึ่งทั้งงสองยังร่วมกันจัดตั้งบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลแมนชีนเนอติ้ง
และคริสเตียนนี เพื่อเข้าประมูลขายอุปกรณ์ให้กับโครงการทีวีเสรี ระบบยูเอชเอฟ
อันเป็นผลพวงมาจากโครงการทีวีเสรียูเอชเอฟ สำหรับวนิดา ( ทักษิณานนท์) วรรณ
ศิริกุล อดีตกรรมการผู้จัดการ มีเดียพลัส ลูกหม้อเก่าแก่ของอิทธิวัฒน์อีกคนที่ลาออกจากมีเดียพลัส
และหันมาเอาในธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลของสามี ภายใต้เมย์
ฟลาวเวอร์ ทำโรงพิมพ์บริษัทเมย์ มีเดีย อินเตอร์เนชั่นแนล ธุรกิจนิตยสารแพนเฮาส์
ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ นิตยสารแจ็คกี โอ และบริษัทเอ็มไลน์ ทำธุรกิจคอนเสิร์ต
ปัจจุบันเมย์มีเดีย มีแผนที่จะเปิดแผนก " เมอร์แชนไดส์" วางจำหน่ายสินค้าที่ระลึก
ภายใต้ลิขสิทธิ์ของแพนเฮาส์ เช่น พวงกุญแจ วิดีโอ เสื้อ และเตรียมซื้อลิขสิทธิ์นิตยสารต่างประเทศ
มาผลิตและจำหน่ายอีก 2 เล่ม ในปีนี้
วนิดา ในวันนี้ มุ่งมั่นทำธุรกิจสิ่งพิมพ์ ที่เธอยืนยันว่าไม่ขอเข้าไปในธุรกิจเพลงอีกต่อไป
เมื่ออิทธิวัฒน์ มีสื่อวิทยุ และโทรทัศน์ ในขณะที่ วนิดามีสื่อสิ่งพิมพ์
ในบรอดคาสติ้งเน็ทเวิร์คเอง วนิดา ม.ร.ว.รุจยาภา ไชยยงค์ นนทสุต สามลูกหม้อของอิทธิวัฒน์นั่งหวังว่า
จะนำธุรกิจทั้งหมดมารวมกัน
" อาจจะเป็นไปได้ที่ทั้ง 3 คน จะแยกย้ายไปทำงานของตัวเอง และเอาบริษัทมารวมกัน
ตรงนี้เป็นไปได้ แต่คงต้องใช้เวลาสักระยะหนึ่งให้ธุรกิจในแต่ละส่วนแข็งแรงเสียก่อน"
วนิดากล่าว
สำหรับอิทธิวัฒน์ถือว่า เวลานี้บรอดคาสติ้ง และเมย์กรุ๊ป เป็นเครือเดียวกันแล้ว
เพราะเวลานี้ก็ทำงานร่วมกันแล้ว เพียงแต่ระเวลาที่จะเข้ามารวมตัวกันอย่างเป็นทางการ
หากเป็นไปได้ในลักษณะนี้แล้ว เท่ากับว่า อิทธิวัฒน์กำลังจะสร้างอาณาจักรมีเดียพลัสแห่งที่สอง
ที่จะมีทั้งสื่อวิทยุ โทรทัศน์ สิ่งพิมพ์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวนำสื่อ
เหมือนกับสมัยที่เขาจับมือกับกับวัฏจักร และธนายง เพื่อขยายสื่อให้ครบถ้วน
เพียงแต่เปลี่ยนพันธมิตรจาก วัฏจักร มาเป็นสำนักทรัพย์สินฯ และ ลูกหม้อเก่าเม่านั้น
และมีเทคโนโลยีเป็นตัวประสาน
อย่างไรก็ตามประวัติศาสตร์ที่อิทธวัฒน์ กำลังสร้างขึ้นในวงการธุรกิจในครั้งนี้
จะซ้ำรอยเดิม เหมือนไนท์สปอตและมีเดียพลัส หรือไม่ต้องติดตาม