Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538
โสภณพนิช ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เกิดมาใหญ่แต่โตยาก             
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
 

 
Charts & Figures

โครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัทซิตี้เรียลตี้
โครงสร้างการลงทุนและสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทซิตี้เรียลตี้


   
search resources

บางกอกแลนด์, บมจ.
ชาลี โสภณพนิช
ชาตรี โสภณพนิช
Real Estate




ตระกูลโสภณพนิช มีความช่ำชองเป็นพิเศษในธุรกิจการค้าเงินตราแต่การวางแผนรุก ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเวลาที่ผ่านมานับ 10 ปี ดูเหมือนว่าจะก้าวไปข้างหน้าอย่างเชื่องช้า มา ณวันนี้ เมื่อมีบริษัทพัฒนาที่ดินในตลาดหลักทรัพย์หลายราย มีสภาพเหมือนคนอ่อนแอ ที่ต้องการความช่วยเหลือจากผู้ที่เข้มแข็งกว่า โอกาสที่จะเข้าไปเป็นยักษ์ใหญ่ของพวกเขาดูง่ายขึ้น

แต่จะเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ภาระนี้เป็นของบ " ชาลี โสภณพนิช" ซึ่งไม่ง่ายนักที่จะตอบ

สภาพของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองไทย ตอนนี้เป็นช่วงที่เปรียบเสมือนปลาใหญ่กำลังอ้าปากรอฮุบปลาเล็กบริษัทขนาดเล็ก และกลางหลายรายทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ ที่มีสภาพอ่อนแอกำลังเสนอตัวเร่ขายให้นักล่าอาณานิคมข้ามชาติ รวมทั้งบริษัทที่มีสายป่านทางการเงินยาวไกลในประเทศด้วย

บริษัทพัฒนาที่ดินของกลุ่มตระกูลโสภณพนิช อาจจะฉวยจังหวะนี้เข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ด้วยวิธีการเข้าไปเทกโอเวอร์บางบริษัทในตลาด เพื่อโอกาสที่จะก้าวไปผงาดเป็นบริษัทแถวหน้า ทางด้านพัฒนาที่ดินจะได้ง่ายขึ้น

ถึงแม้ว่าในยุคของนายห้างชิน กลุ่มโสภณพนิช จะไม่สนใจธุรกิจทางด้านที่ดินเลย นัยว่า เพราะไม่อยากทำธุรกิจแข่งกับลูกค้า ธุรกิจที่ชินถนัดคือการค้าเงินเพียงอย่างเดียว การมีเงินสดไว้ในมือให้มากที่สุด คือสิ่งที่เขาต้องการ

เมื่อมาถึงยุคสมัยของชาตรี การสร้างอาราจักรแห่งอำนาจของคนกลุ่มนี้ ถึงบทรุกรุนแรงขึ้น ธุรกิจค้าเงินอย่างเดียวไม่เพียงพอเสียแล้ว ชาตรีเริ่มขยายแขนขาไปยังธุรกิจที่ดิน มันเป็นเรื่องจำเป็นในการสร้างฐานของตระกูลโสภณพนิช ให้แข็งแกร่งเพิ่มขึ้น

ภาพของการลงมาจับธุรกิจทางด้านที่ดินของชาตรี ชัดเจนขึ้นเมื่อเขาได้ตั้งบริษัทซิตี้เรียลตี้ ด้วยทุนจดทะเบียน 500 ล้าน เมื่อเดือนมีนาคม 2530 เขาให้เหตุผลว่าเศรษฐกิจไทยในทศวรรษ2530-2540 จะขยายตัวในอัตราสูงและรายได้ประชากร โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ จะเพิ่มขึ้นมาก ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดความต้องการด้านพื้นที่อาคารทุกแระเภทเพิ่มขึ้น ซิตี้เรียลตี้ จะเป็นบริษัทที่จะรองรับการขยายตัวของกิจการด้านต่าง ๆ ทั้งสำนักงาน ศุนย์การค้า โรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนความต้องการทางด้านที่อยู่อาศัยที่จะเพิ่มขึ้นตามรายได้และจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นด้วย

ชาตรีตั้งใจที่จะให้ซิตี้เรียลตี้ เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านที่ดิน ของครอบครัวดังนั้นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท ก็คือตระกูลโสภณพนิช ถึง 68.2 % ซึ่งเป็นของชาตรีส่วนตัว 19.7 % เป็นของบริษัทชาตรีโสภณ 17.2 % ส่วนลูกชาย และลูกสาว อีก 4 คน คือชาติศิริ ชาลี โสภณพนิช สาวิตรี รมยะรูป และสุชาดา ลีสวัสดิ์ มีหุ้นอยู่ในบริษัทนี้อีกประมาณ คนละ1.7 %

ธนาคารกรุงเทพเองจะถือหุ้นของบริษัทนี้อยุ่ด้วยประมาณ 8 %ส่วนหุ้นที่เหลือจะเป็นของ มิตซุยกรุ๊ป และกลุ่มยางสยาม บริษัทสินเซียและบริษัทเอเชียเสริมกิจ

แน่นอนชาตรีเป็นผู้หาที่ดินเตรียมเอาไว้เพื่อให้ซิตี้เรียลตี้พัฒนา พันธมิตรในวงการพัฒนาที่ดินของชาตรีมีหลายกลุ่ม เช่น โยธิน บุญดีเจริญ จากยูนิเวสท์แลนด์ กลุ่มกาญจนพาสน์ ที่ชาตรีมีหุ้นอยู่ในโครงการบางกอกแลนด์ด้วย กลุ่มของดิลก มหาดำรงกุล คนเหล่านี้เป็นทั้งเพื่อนและลูกค้าของเขา การชักชวนหรือร่วมทุนกันซื้อที่ดินไม่ใช้เรื่องยาก

ในช่วงระยะแรก ๆ ของการทำธุรกิจทางด้านที่ดินที่ผ่านมา ดูราวกับว่าชาตรี จะสนใจเพียงแค่เล็กน้อย ไม่จริงจังอะไรนัก

แต่ถ้าดูถึงจำนวนที่ดิน ทำเลที่ตั้งและราคาที่ดินแต่ละแปลงจะเห็นได้ชัดเจนว่าไม่ใช่สิ่งที่ชาตรีเป็นเรื่องเล่น ๆ เสียแล้ว เขาน่าจะมีแผนการที่ลุ่มลึกกว่านั้น

ในเดือนกันยายน 2530 ชาตรีได้ส่งสุนทร อรุณานนท์ชัย มือขวาทาวด้านที่ดินคนหนึ่งในสมัยนั้น ไปขอซื้อที่ดินแปลงหนึ่งจาก วีรวัฒน์ ชลวนิช บริเวณซอยสุขุมวิท 24 โดยตกลงซื้อขายกันเรียบร้อยในราคา 212 ล้านบาท จำนวน 6 ไร่ เป็นทีดินซึ่งให้ทางบริษัทซิตี้เรียลตี้ ทำเป็นโครงการสุขุมวิททาวเวอร์ ในปัจจุบัน

หลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ส่งคนไปประมูลซื้อที่ดินแปลงประวัติศาสตร์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ของตระกูลศรีวิกรมม์ จำนวน 28 ไร่ ที่ถูกกรมบังคับคดีนำมาขายทอดตลาดในมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท ทุกวันนี้ที่ดินแปลงนี้มีชื่อของบริษัท ไทยโกลเด้นท์เรียลตี้ เป็น เจ้าของ ผู้ถือหุ้นก็คือตระกูลโสภณพนิช และธนาคารกรุงเทพ อีกเช่นกัน

นอกจากนั้นยังได้เข้าไปร่วมทุน กับกลุ่มฮอลิเดย์และดิลก มหาดำรงค์กุล ฮร์เบอร์วิว เพื่อตั้งบริษัทฮาร์เบอร์วิว เพื่อจะทำโครงการกรีนพาร์คบนที่ดินจำนวน 16 ไร่บนถนนวิทยุ ปัจจุบันที่ดินแปลงนี้ถูกทิ้งร้าง กลายเป็นที่เช่าให้จอดรถของบริษัทในย่านนั้นแทน

รวมทั้งที่ดินในอำเภอโป่งน้ำร้อนจังหวัดจันทบุรี ที่กำลังพัฒนาเป็นสวนเกษตรและสนามกอล์ฟขนาดใหญ่มีพื้นที่ 3,000 ไร่ ในนามของบริษัทบ้านสวนจันทบุรี

และยังมีที่ดินบนถนนสาทร ยานนาวา ในภูเก็ตพัทยา และอื่น ๆ อีกมาก ที่คงต้องใช้เวลาในการสืบเสาะค้นหา เพราะชาตรีมักจะใช้ชื่อบริษัทใหม่ ๆ เข้าไปซื้อ

ชาตรี ได้มอบหมายให้ชาลี บุตรชาย คนที่ 3 ดูแลรับผิดชอบบริษัทซิตี้เรียลตี้ ชาลีจบการศึกษาทางด้านเอ็มบีเอ ไฟแนนซ์ และวิศวะมาจากสหรัฐอเมริกา กลับมาเมืองไทยเมื่อปี 2529เริ่มทำงานครั้งแรกที่บริษัทเอเชียเสริมกิจ เขาให้เหตุผลที่ไม่ทำงานในธนาคารกรุงเทพว่า เขาไม่ชอบลักษณะขององค์กรที่ใหญ่โตและไม่ชอบงานแบงก์ ไม่ชอบระบบปล่อยกู้หรือเป็นเจ้าหนี้

งานทางด้านพัฒนาที่ดินโครงการแรกที่ถูกมอบคือการทำโครง
การรอยัลคลิฟ คอนดโดมีเนียม จำนวน 3 ตึก ประมาณ 200 ยูนิต บนหาดพัทยา และเป็นโครงการในยุคแรก ๆ ของคอนโดตากอากาศริมทะเล เมื่อสมัยนั้น สร้างเสร็จเมื่อประมาณ ปี 2534

ว่ากันว่า ดครงการนี้ แม้ชาตรีพยายามใช้คอนเน็กชั่นทุกส่วนที่เขามีอยู่เพื่อช่วยหาลูกค้าให้กับลูกชาย แต่ก็ไม่ได้สามารถปิดการขายได้อย่างรวดเร็วนัก อาจจะเป็นเพราะผลของสงครามอ่าวเปอร์เซีย และในช่วงเวลานั้นมีอาชีพทางด้านพัฒนาที่ดินก็ได้แห่ไปสร้างโครงการคอนโดตากอากาศริมทะเลกันหลายโครงการก็เป็นได้ แหล่งข่าวจากวงการพัฒนาที่ดินรายหนึ่งวิเคราะห์ให้ " ผู้จัดการ" ฟัง

จากโครงการคอนโดตากอากาศริมทะเล ซิตี้เรียลตี้ เริ่มเข้ามายึดหัวหาด ในย่านธุรกิจในกรุงเทพฯ เริ่มจาก เอเชียเสริมกิจทาวเวอร์ และสาทรซิตี้ทาวเวอร์ ซึ่งสร้างเสร็จเรียบร้อยไปแล้ว

โครงการสาทรซิตี้ทาวเวอร์ เป็นออฟฟิคสำนักงานสูง 31 ชั้น บนถนนสาทร เป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จทางด้านการขายมากที่สุด มีพื้นที่ของโครงการถึง 103,000 ตารางเมตร และมีพื้นที่ขายสุทธิถึง 55,000 ตารางเมตร แต่ก็สามารถปิดการขายเรียบร้อยนานแล้ว ทั้ง ๆ ที่ตลาดออฟฟิคกำลังอยู่ในช่วงโอเวอร์ซัพพลาย และอาคารสำนักงานบนถนนสาทรยังมีพื้นที่ว่างอีกมาก

คงไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกนัก ถ้าการปิดการขายครั้งนี้ก็เป็นการใช้คอนเน็กชันอีกครั้งของชาตรี ที่จะดึงเอาบริษัทในเครือของแบงก์กรุงเทพ รวมทั้งสำนักงานใหญ่ของบริษัทมิตซุย และมิตซุย กรุ๊ปมาเช่าพื้นที่ในโครงการ

สาทรซิตี้ทาวเวอร์ เป็นตัวโครงการที่กำลังทำรายได้ให้กับบริษัทซิตีเรียลตี้ ในขณะนี้มากที่สุด จากจำนวนพื้นที่ทั้งหมด 55,000 ตารางเมตร ค่าเช่าโดยเฉลี่ย 550 บาทต่อตารางเมตร ก็จะได้ค่าเช่าประมาณ 30 ล้านบาท และค่าเช่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตามภาวะตลาด เมื่อครบสัญญาในปีที่ 3 ในขณะที่มูลค่าการโครงสร้างนี้ประมาณ 2,000 ล้านบาท ไม่เกิน 6 ปี โครงการนี้ก็คืนทุนหลังจากนั้น ซิตี้เรียลตี้ก็จะรับแต่กำไรของโครงการนี้เหนาะ ๆ ขณะนี้ในตึกนี้มีบริษัททั้งหมดที่มาเปิดทำการประมาณ 40 บริษัท มีพนักงานทั้งสิ้นประมาณ4,000 คน

ถ้าย้อนกลับไปดูรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัทก็เห็นได้ชัดเจนว่าเป็นการผ่องถ่ายเงินเข้ากระเป๋าของตระกูลโสภณ นั่นเอง

จากปี 2536 ถึงปัจจุบันบริษัทพัฒนาที่ดินหลายรายเริ่มชะลอตัวในการทำธุรกิจเพราะภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เป็นใจ ในขณะเดียวกัน ก็มีการแข่งขันกันสูงมาก บริษัทซิตี้เรียลตี้ กลับประกาศตัวเดินหน้าต่อไป

ชาลีมีโครงการที่กำลังก่อสร้างในขณะที่พร้อม ๆ กัน อีก 5 โครงการ คือ 1. โครงการสุขุมวิททาวเวอร์ 2. บางกอกการ์เด้นท์ 3. รอยัลเลคอเวนิว 4. รอยัลซิตี้อเวนิว และ 5. โครงการบางกอกซิตี้ทาวเวอร์

5 โครงการนี้ใช้เม็ดเงินหว่านถมลงไปในการก่อสร้างไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท แต่ ณ วันนี้ดูราวกับว่าแต่ละโครงการของเขาลู่ทางข้างหน้าคงไม่แจ่มใสนัก

โดยเฉพาะโครงการสุขุมวิททาวเวอร์ นั้น ได้สร้างคำถามขึ้นมาในวงการพัฒนาที่ดินมากมาย ว่า ซิตี้เรียลตี้ จะนำที่ดินแปลงนี้มาพัฒนาจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการปั่นราคาที่ดินและขายออกไปเท่านั้น สาเหตุเป็นเพราะโครงการนี้เปิดตัวตั้งแต่ปี 2533 แต่เริ่มงานก่อสร้างช้ามากในขณะที่ ผู้บริหารของบริษัทจะอ้างว่าเป็นเพราะรอแบบและเกิดจากากรก่อสร้างชั้นใต้ดินซึ่งต้องทำที่จอดรถถึง 1,800 คัน

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ชั้นใต้ดินสร้างเสร็จแล้วกำลังก่อสร้างในส่วนโพเดียมสูง 6 ชั้น คาดว่าจะเปิดส่วนนี้ได้ในปลายปีหน้า หลังจากนั้น หากไม่มีอะไรผิดพลาดอีก ประมาณ 1 ปี ก็จะเปิดในส่วนของออฟฟิค และโรงแรมได้เสร็จทั้งหมดประมาณ ปี 2541

ในส่วนของชอปปิ้งมอล์ ซึ่งมีการเซ้ง 25 ปี มีพื้นที่ประมาณ 2.3 แสนตารางเมตร นั้นมีพื้นที่ประมาณ2.3 แสนตารางเมตร ทางซิตี้เรียลตี้ วาดความหวังว่าโครงการนี้จะทำรายได้ให้กับบริษัทมหาศาล แต่นั้นก็หมายถึงว่าคงต้องรอเวลากันต่อไป

ในขณะที่สุขุมวิททาวเวอร์ กำลังเร่งการก่อสร้าง ชาลีก็ใจกล้าที่จะตัดสินใจเข้าไปปรับแผนฟื้นชีพดครงการ " รอยยัลซิตี้อเวนิว" ของกลุ่มชาญ อิสสระ ซึ่งอยู่บนเนื้อที่ 86 ไร่ เช่าที่ดินมาจากการรถไฟมรแนวความคิดที่จะสร้าง เป็นศูนย์การค้าที่ยางที่สุดในเมืองไทย เราะสร้างเชื่อมขึ้นมาระหว่างถนนพระราม9 และถนนเพชรบุรีตัดใหม่

โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2532 แต่มีปัญหาในการทำงานมาโดยตลอดแม้เวลา ลุล่วงมาถึงปี 2537 ก็ยังมีหลายส่วนที่ไมได้เริ่มงานก่อสร้าง แม้หลายส่วนจะเปิดให้บริการแล้ว แต่ก็เกือบจะเป็นโครงการร้างในปัจจุบัน

เมื่อบริษัทซิตี้เรียลตี้ เข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่33% ชาลีจำเป็นต้องรับบทบาทใหญ่ ในการวาแผนฟื้นฟู รอยัล ซิตี้อเวนิว

ชาลี เตรียมโปรเจ็คเสริมขึ้นมาอีก 3 จุด เพื่อจะดึงคนสร้างความคึกคักให้กับโครงการ คือในส่วนของออฟฟิคสำนักงานสูง 7 ชั้น มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 30,000 ตารางเมตร 15,000 ตารางเมตร คือลูกค้าของบริษัทฯ กรุงเทพประกันชีวิต ซึ่งจะย้ายสำนักงานใหญ่เข้ามา บริษัทเอเชียซิเมนต์ และชั้นล่างก็จะมีบริษัทหลักทรัพย์เอเชียที่จะมาเปิดสาขาที่นี่ ซึ่งต้นปีหน้าคงจะเสร็จเรียบร้อย

ส่วนที่ 2 คือโรงหนังจำนวน 5 โรง ของสหมงคลพิล์ม เซ้นทรัลซุปเปอร์มาร์เก็ต โรงโบลิ่ง 46 เลน ส่วนที่ 3 คือโชว์รูม บีเอ็มดับบลิว 2 ส่วนหลังคาดไว้ว่าปลายปีหน้าเสร็จ

ชาลีหวังว่า เมื่อ3 ส่วนนี้เสร็จเรียบร้อย จะมีคนเข้ามาใช้บริการไม่ต่ำกว่า 6 พันคน นั่นคือ ความหวัง และหลายคนกำลังเฝ้าดูชาลีพิสูจน์ฝีมือในเรื่องนี้

ซิตี้เรียลตี้ ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่ตลาดของอาคารสำนักงานเสียแล้ว แต่ได้เริ่มบุกตลาดคอนโดที่อยู่อาศัยอีกด้วย โดยเมื่อประมาณกลางปี 2537 ได้เข้าไปซื้อโครงการ บางกอกการเด้นท์ ของบริษัทสยามนำโชค ( ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นบริษัทยูนิเวสน์ แลนด์ จำกัด ( มหาชน) มาพัฒนาตัวโครงการประกอบด้วยคอนโดมีเนียม 15 หลัง มีความสูง 10,16,18 ชั้น จำนวน 1,500 ยูนิต ในพื้นที่ 23 ไร่ บนถนนาธุประดิษฐ์ ราคายูนิตละ 2.5 ล้านบาท

ซิตี้เรียลตี้ ทำโครงการนี้ในนามบริษัท ซิตี้ เรซิเด้นท์ ถือหุ้น 50 % บริษัทเอเชียสริมกิจ 20%ท ธนาคารกรุงเทพ 8% และที่เหลือเป็นการถือหุ้นของบริษัทในเครือแบงก์กรุงเทพ

นอกจากนั้น ยังได้บุกตลาดต่างประเทศอีกด้วย โดยการไปทำโรงแรมรอยัลแลค ขนาด 300 ห้อง ที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศ พม่า รวมทั้งปี 2538 มีแผนการที่จะทำออฟฟิคทาวเวอร์แห่งใหม่บนนสาทร คือ " บางกอกซิตี้ ทาวเวอร์" ในพื้นที่ ๆ ติดกับโครงการสารทรซิตี้ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเรือนไทยในปัจจุบัน ตามแผนเรือนไทยหลังนี้และในส่วนที่เป็นออฟฟิคของบริษัทซิตี้เรียลตี้ ต้องถูกรื้อย้ายมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน

มองย้อนกลับมาที่ชาตรี ในขณะที่ ชาลี พยายามใช้ ซิตี้เรียลตี้ บุกทะลวงไปข้างหน้า ชาตรีได้คอยสร้างเสริมโปรเจ็คใหม่ ๆ เพื่อเอื้อในการทำธุรกิจยิ่งขึ้น เมื่อปีที่แล้ว ชาตรีได้ เอาบริษัทเล็ก ๆ บริษัทหนึ่ง ในเครือธนาคารกรุงเทพ คือสินบัวหลวงมาปรับปรุงโครงสร้างการทำงานใหม่ เพิ่มเงินทุนจดทะเบียนถึง 1,000 ล้านบาท เพื่อสร้างเครือข่ายศูนย์ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ พร้อมสำหรับการให้บริการกับลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการอย่างครบวงจรไม่ว่าจะเป็นการ ฝากขาย หรือซื้อ รับเป็นที่ปรึกษาในการวางแผนการขายและการตลาด จัดการโฆษณาและประชาสัมพันธ์โครงการ รับจัดโครงการอพาร์ตเม้นท์ให้เช่า และสำนักงานให้เช่า รวมทั้งการรับเป็นที่ปรึกษาในการจัดหาแหล่งเงินทุน เพื่อสนับสนุน และพัฒนาโครงการต่าง ๆ

และเมื่อต้นปี 2538 ก็ได้ตั้งบริษัทแอ๊ฟไพรซัล จำกัดขึ้น ซึ่งธุรกิจหลักของบริษัทตี้จะมุ่งไปในเรื่องของวงการประเมินราคาที่ดิน อาคารสูง เครื่องจักร ตลอดจนโครงการก่อสร้าง หรือการประเมินราคาทรัพย์สิน

จากข้อมูลเมื่อประมาณต้นเดือนมิถุนายน จะพบว่า ผู้ถือหุ้น 5 อันดับแรก ของบริษัทชาตรีโสภณ จำกัด 25,350,000 บริษัทพี. แคปปิตอล ธนาคารกรุงเทพ บงล.สินเอเซีย และบงล. ร่วมเสริมกิจ บริษัทละ 10 ล้านหุ้นบริษัทชาตรีโสภณ ที่ถูกส่งไปถือหุ้นในเครืออยู่เสมอ ๆ นั้นจะเป็นของชาตรี 20 % ที่เหลือก็จะเป็นของโสภณพนิช คนอื่น ๆ เช่น สุมณี ชาติศิริ สาวิตรี ชาลี สุชาดา ระบิล และโชติ

ปัจจุบัน ซิตี้เรียลตี้ เพิ่มทุนจดทะเบียน เป็น 750 ล้านบาท ผลจากการบุกงานอย่างต่อเนื่อง ของซิตี้เรียลตี้ ในช่วงหลังนี้ ถูกตั้งเป็นคำถามว่าโอกาสที่โสภณพนิช จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในงานพัฒนาที่ดินของเมืองไทยนั้นจะเป็นไปได้หรือไม่

ไม่มีปัญหาในเรื่องของแหล่งที่มาของเงินทุน ในเรื่องของที่ดิน ชาตรียังมีที่ดินแปลงใหญ่ในเมืองที่สามารถให้ชาลีเอาไปพัฒนาได้อีกหลายแปลงไม่ว่าที่ดินแปลงริมแม่น้ำ หรือบนถนนวิทยุ ที่มีมูลค่ามหาศาลในปัจจุบัน

"เห็นแหล้วน่าเสียดาย เพราะที่ดินแปลงนี้มีมูลค่ามหาศาล อยู่ในทะเลทอง ของกรุงเทพฯ แต่กลับมากางเต้นท์ให้รถเช่าเดือนละ 1,500 บาท ต่อคัน นี่ถ้าหากไม่ใช่ที่ดินของกลุ่มคุณชาตรี คงมีการประกาศขายไปนานแล้ว"

นักพัฒนาที่ดินรายหนึ่งกล่าวถึงที่ดินบนถนนวิทยุ

ปัญหาของชาลีน่าจะเกิดจาการบริหารและการจัดการมากว่า ประกอบกับสถานการณ์ทา งด้านเศรษฐกิจไม่เฟื่องฟูในช่วงที่ซิตี้เรียลตี้เพิ่งเกิด

ขณะนี้เขามีโครงการกำลังพัฒนาหลายโครงการ แต่ละโครงการยังต้องรอเวลาว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ๆ ว่าจะเป็น สุขุมวิทซิตี้ทางเวอร์ รอยัลซิตี้อเวนิว รอยัลเลค ในย่างกุ้ง รวมทั้งโครงการบางกอกการ์เด้นท์ที่เลื่อนการเปิดตัวโครงการมาแล้วถึง 2 ครั้ง 2 ครา ครั้งแรกเลื่อนจากวันที่ 18 พฤษภาคม 2538 ไปเป็นวันที่ 15 มิถุนายน 2538 และขณะนี้ก็ยังไม่ได้กำหนดวันเปิดตัวที่แน่นอน

" กลุ่มโสภณพนิช อาจจะถนัดในการทำธุรกิจทางด้านการค้าเงินที่มีใบอนุญาตจำกัด แต่การทำธุรกิจที่ดินนั้นเป็นการแข่งขันเสรี และปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาด้วย โอกาสที่เขาจะก้าวมาเป็นหนึ่งในวงการนี้ยังเป็นเรื่องยาก" นี่คือภาพของตระกูลนี้ในสายตานักพัฒนาที่ดินด้วยกัน

ในซิตี้เรียลตี้ ชาลีมีขุนศึกซ้ายขวา ที่เปิดตัวกับสื่อมวลชน แทนตนเองอยู่ 2 คน คือมิสเตอร์ จิม แชง ดูแลทางด้านการตลาดแลพัฒนาธุรกิจ และวิวัฒน์ สุทธิพงษ์ชัย ดูแลทางด้านวางแผนและพัฒนาโครงการจิม แซง เป็นคนเก่าแก่ของชาตรี คนหนึ่งที่ทำธุรกิจทาง ด้านการพัฒนาที่ดินควบคู่มากับชาลี ตั้งแต่สมัยทำโครงการคอนโดตากอากาศที่พัทยา โครงการสอยดาวไอร์แลนด์ จันทบุรี

ส่วนวิวัฒน์ มาเริ่มงานกับกลุ่มนี้เมื่อประมาณ ปี 2532 ก่อนหน้านี้เขาผ่านงานโรงแรมมาแล้วหลายที่เช่นโรงแรมดุสิตธานี โรงแรมฮิลตัน ปาร์ค นายเลิศ

ในขณะที่ ความสามารถและประสบการณ์ของชาลี เองก็กำลังรอพิสูจน์ตัวเอง ชาลีในวันนี้หลายคนจะมีความเห็นว่าเขาเป็นคนหนุ่มที่ค่อนข้างเก็บตัวเองเงียบ ๆ แต่นั่นอาจจะเป็นเพราะธุรกิจที่เขากำลังรับผิดชอบมีหลายโครงการ เขากำลังทำงานหนัก แม้จะพยายามเจียดเวลาเข้าไปสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์โดยเข้าไปเป็นกรรมการตั้งแต่ชุดที่แล้ววถึงปัจจุบัน แต่เขาไปประชุมด้วยน้อยครั้งมาก

อย่างไรก็ตาม ผู้คนในวงการหลายคน ก็ยอมรับว่า หากได้พูดคุยกับชาลีก็จะพบว่าเป็นผู้หนึ่งที่มีความรู้เรื่องเรียลเอสเตท ค่อนข้างดี มีแหล่งข้อมูลที่ค่อนข้างแน่นและลึก

ชาตรีคือพี่เลี้ยงที่ดีที่สุดของเขาในตอนนี้ จะเห็นได้จาการเปิดโครงการของบริษัทซิตี้เรียลตี้ แต่ละครั้ง ชาตรีจะมาร่วมงานด้วยเสมอ แม้แต่การตัดสินใจในบางเรื่องชาตรีก็ต้องชี้นำอย่างเช่นกำหนดวันเปิดตัวของดครงการบางกอกการ์เด้นท์ พนักงานของซิตี้เรียลตี้ เอง เล่าให้ฟังว่า คุณชาตรีเป็นผู้โทรศัพท์มาสั่งให้เลื่อนการเปิดตัวไปก่อนเพระาสานการณ์ทางการเมืองในช่วงนั้นไม่ดี

การเข้าตลาดหลักทรัพย์คือวิธีการหนึ่งที่ซิตี้เรียลตี้ ได้วางเป้าหมายไว้ ชาลีเคยให้สัมภาษณ์ว่าขณะนี้กำลังหาวิธีการที่จะเข้าไปซื้อหุ้นคืนจากบริษัทในเครือ3 บริษัทฮาร์เบอร์วิว ไทยโกลเด้นท์เรียลตี้ และบางกอกอพาร์ทเม้นท์ และหลังจากนั้น ก็จะยื่นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย

สำหรับข่าวนี้ทีมงานของบริษัทซิตี้เรียลตี้ กล่าวกับ " ผู้จัดการ" ว่าเป็นเพียงแนวความคิด แต่ขณะนี้ยังไม่ดำเนินการแต่อย่างใด เพราะขณะนี้ ขอบข่ายงานของซิตี้เอง ก็ยังมีอีกมากที่ต้องทำ

แต่ก็ไม่มีอะไรแน่นอน วิธีการเรียนลัดโดยเข้าไปซื้อกิจการในตลาดหลักทรัพย์ นั้นเป็นเรื่องที่มีความเป็นไปได้ แต่ทั้งนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับชาตรีผู้เป็นกุนซือใหญ่ และเมื่อนั้น ความตั้งใจของชินที่ว่า โสภณพนิช จะไม่ลงทุนทำธุรกิจแข่งขันกับลูกค้าก็คงต้องถุกลบทิ้งไป

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us