|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
อมตะ คอร์ปอเรชัน ขายที่ดินให้ "ไทยคอนฯ" จำนวน 75 ไร่ มูลค่ารวมเกือบ 230 ล้านบาท หวังผลักดันให้เป้ารายไดทั้งปีเข้าเป็นที่ 5.5-6 พันล้านบาท หลังไตรมาส 2 โดนพิษการเมือง-เศรษฐกิจถล่มฉุดยอดขายตก ด้านไทยคอนฯ ฟุ้งรายได้ไตรมาส 2 ทะลุ 2 พันล้านบาท พร้อมเตรียมหาพันธมิตรร่วมลงหุ้นกองทุนอสังหาริมทรัพย์เพิ่มขนาดจาก 2 พันล้านบาท เป็น 2.5 - 3 พันล้านบาท
นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ รองประธานอาวุโส บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA กล่าวว่า บริษัทได้ลงนามขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เฟส 8 ให้กับบริษัท ไทยคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON จำนวน 75 ไร่ คิดเป็นมูลค่า 220-230 ล้านบาท โดยการขายที่ดินดังกล่าวบริษัทจะสามารถเริ่มรับรู้รายได้ทันทีในไตรมาส 3 ปี 2549 นี้
สำหรับพื้นที่เสนอขายจำนวน 75 ไร่ครั้งนี้ ไทยคอนฯ จะนำไปใช้ก่อสร้างโรงงานจำนวนกว่า 20 โรงงาน พื้นที่ใช้สอยรวม 4.5 ตารางเมตร ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาในการพัฒนาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
จากยอดการขายที่ดินให้กับไทยคอนฯ เมื่อรวมกับยอดการเซ็นสัญญาขายที่ดินยกมาจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา จะส่งผลให้อมตะฯ มีผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2549 ดีขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เนื่องจากจะเริ่มรับรู้รายได้ในไตรมาสนี้ ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม บริษัทมียอดการขายที่ดินทั้งที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ แล้วกว่า 100 ไร่ ประกอบด้วยลูกค้าประมาณ 4 ราย ได้แก่ ธุรกิจยานยนต์ 2 ราย ธุรกิจขนส่ง 1 ราย และไทคอนฯ
"AMATA ยังคงเป้าเป้ารายได้ทั้งปีไว้ที่ประมาณ 5.5 - 6 พันล้านบาท แม้ว่าไตรมาส 2 บริษัทจะขายที่ดำเนินต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 500 ไร่ เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองที่ยังอึมครึม ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างชัดเจน แต่มั่นใจว่ายอดขายที่ดินจะเริ่มกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป"
ส่วนประเด็นที่มีการตั้งข้อสังเกตว่าการร่วมมือทางธุรกิจกับไทยคอนฯ จะส่งผลให้เกิดการแข่งขันและแย่งชิงลูกค้านั้น นายวิบูลย์ กล่าวว่า AMATA และ TICON จะไม่มีการแย่งกลุ่มลูกค้าของกันและกัน แม้ว่าจะดำเนินธุรกิจให้เช่าโรงงานอุตสาหกรรมเหมือนกัน เนื่องจากพบว่ากลุ่มลูกค้าที่ต้องการเช่าโรงงานอุตสาหกรรมยังมีอีกมาก และบริษัทไม่มีนโยบายแข่งขันรวมถึงแย่งลูกค้ากันเอง
สำหรับการที่ราคาหุ้น AMATA ในกระดานหลักทรัพย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นนั้น นายวิบูลย์ กล่าวว่า เกิดจากการเข้ามาซื้อหุ้นเพื่อลงทุนของนักลงทุน ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจน เนื่องจากบริษัทมีผลประกอบการที่ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง และพื้นฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง โดยวานนี้ (18 ก.ค.) ราคาหุ้นได้ปรับตัวขึ้นไปทำราคาสูงสุดที่ บาท ต่ำสุดที่ บาท ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ บาท เพิ่มขึ้น บาท มูลค่าการซื้อขายรวม ล้านบาท
TICON มั่นใจรายได้ไตรมาส 2 ทะลุ 2 พันล.
นายวีรพันธ์ พูลเกษ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ TICON กล่าวถึง ผลการดำเนินงานประจำปี 2549 ว่า บริษัทมั่นใจผลประกอบการไตรมาส 2 จะมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากจะมีการรับรู้รายได้จากกองทุนอสังหาริมทรัพย์ TICON เพิ่มเข้ามา โดยคาดว่ารายได้จะมากกว่า 2,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ที่มีรายได้เพียง 200 ล้านบาท ดังนั้นบริษัทจึงคงเป้ารายได้รวมทั้งปีจะขยายตัวประมาณ 15-20% จากปี 2548 ที่มีรายได้รวม 2.8 พันล้านบาท
พร้อมกันนี้ บริษัทยังไดมีแผนการขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ไทยคอนฯ ได้เตรียมงบลงทุนประมาณกว่า 600 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับก่อสร้างโรงงานให้เช่าประมาณ 22 แห่งในปีนี้ ซึ่งเป็นโรงงานที่มีลูกค้าเซ็นสัญญาเรียบร้อยแล้ว
ด้านความคืบหน้าการขยายกองทุนอสังหาริมทรัพย์นั้น นายวีรพันธ์ กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทยังอยู่ระหว่างเจรจากับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อดึงให้เข้ามาลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ TICON เพื่อขยายขนาดกองทุนอสังหาริมทรัพย์จากปัจจุบันมูลค่าอยู่ที่ประมาณกว่า 2 พันล้านบาท เป็น 2.5-3 พันล้านบาท โดยเบื้องต้นคาดว่าจะเตรียมยื่นขออนุญาตเพิ่มขนาดกองทุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้
"เราต้องการให้กองทุนใหญ่ขึ้น จึงชวนผู้ประกอบการโรงงานให้เช่าที่มีที่ดินเป็นขอตนเองเข้ามาร่วมทุน แต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปถึงสัดส่วนการลงทุน ซึ่งจะต้องดูความสนใจของผู้ที่จะเข้ามาลงทุนก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมงานและกำลังเรียกประชุมผู้ถือหน่วยลงทุน คาดว่าไตรมาส 4 จะยื่นเรื่องให้สำนักงาน ก.ล.ต.รับทราบ" นายวีรพันธ์ กล่าว
|
|
|
|
|