|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
บลจ.ฟินันซ่า ตั้งเป้าดันเอ็นเอวีทั้งปีทะลุ 20,000 ล้านบาท จากพอร์ตสิ้นปีที่แล้ว 14,000 ล้านบาท เผยครึ่งปีหลังจ่อคิวส่ง FIF มูลค่า 800 ล้านบาท เน้นลงทุนในสินค้าคอมมอดิตี้ทั่วโลก ล่าสุด ได้การแต่งตั้งให้บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการอีก 8,199.53 ล้านบาท รวมกับบลจ.ไอเอ็นจี พร้อมเพิ่มพอร์ตลงทุนต่างประเทศไม่เกิน 10% หวังกระจายความเสี่ยงช่วงการลงทุน-การเมืองในประเทศผันผวน
นายธีระ ภู่ตระกูล ประธานบริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ฟินันซ่า จำกัด เปิดเผยว่า ในปีนี้บริษัทตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (เอ็นเอวี) ภายใต้การบริหารเป็น 20,000 ล้านบาท จากสินทรัพย์รวมประมาณ 14,000 ล้านบาทในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา
โดยในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ บริษัทมีแผนที่จะจัดจั้งกองทุนรวมที่ลงทุนต่างประเทศ (FIF) เพิ่มอีก 1 กองทุน ซึ่งจะเข้าไปลงทุนในสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี้) เช่น ทองคำ น้ำมัน สินค้าเกษตร เป็นต้น โดยกองทุนดังกล่าวคาดว่าจะมีมูลค่าโครงการประมาณ 20 ล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 800 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถเปิดขายหน่วยลงทุนได้ในช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้
นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับการแต่งตั้งจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ให้เป็นผู้บริหารจัดการกองทุนร่วมกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งกองทุนดังกล่าวมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (เอ็นเอวี) ณ วันที่ 30 มิถุนายน อยู่ที่ 8,199.53 ล้านบาท โดยกองทุนจะแบ่งสินทรัพย์ให้ทั้ง 2 บลจ.บริหารในจำนวนที่เท่ากัน
สำหรับนโยบายการลงทุนของกองทุนดังกล่าว ยังคงเน้นการลงทุนผสมแบบยืดหยุ่น โดยจะให้น้ำหนักในการลงทุนตราสารหนี้ประมาณ 85% ส่วนที่เหลืออีก 15% จะเป็นสัดส่วนการลงทุนในหุ้น โดยในส่วนนี้ จะมีการจัดสรรวงเงินส่วนหนึ่งไปลงทุนผ่านกองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนต่างประเทศ (FIF) ด้วย ซึ่งในช่วงแรก กองทุนจะลงทุนในสัดส่วน 5% หลังจากนั้นภายใน 2 ปี ก็จะเพิ่มพอร์ตการลงทุนต่อไป แต่จะไม่ให้เกิน 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
“การลงทุนในช่วงนี้ หากต้องการเอาชนะเงินฝาก รวมทั้งอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นต้องพิจารณาให้รอบคอบ โดยจะเลือกลงทุนเฉพาะหุ้นหรือตราสารหนี้ในประเทศอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมองการลงทุนออกไปนอกประเทศด้วย” นายธีระกล่าว
นายธีระกล่าวถึงภาวการณ์ลงทุนในตลาดหุ้นไทยว่า ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้นไปประมาณ 9% แล้วปรับลงมาอีกประมาณ 9% ในช่วงนี้ ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของดัชนีช่วงสิ้นปีจะเป็นอย่างไรนั้น เป็นสิ่งที่คาดการณ์ได้ค่อนข้างยาก แต่เชื่อว่าน่าจะผันผวนต่อไปอีกระยะ ทั้งนี้ มองว่าการลงทุนในหุ้นกลุ่มบิ้กแคปขนาดใหญ่ น่าจะเป็นการลงทุนที่เหมาะสมสำหรับช่วงนี้
ด้านนายมาริษ ท่าราบ กรรมการผู้จัดการ บลจ.ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ สามารถให้ผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 3.58% โดยในปีนี้ เชื่อว่ากองทุนจะให้ผลตอบแทนได้ไม่ต่ำกว่า 4% เนื่องจากกองทุนมีการกระจายการลงทุนออกไปทั้งตราสารหนี้ หุ้น การลงทุนในต่างประเทศด้วย
สำหรับกองทุนตราสารหนี้ กองทุนจะพิจารณาลงทุนทั้งพันธบัตรรัฐบาล ตราสารทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ซึ่งปัจจุบันให้ผลตอบแทนในระดับสูง ทั้งนี้ กองทุนจะเลือกลงทุนในตราสารที่มีอายุเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 ปี อย่างไรก็ตาม กองทุนจะพิจารณาตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเป็นหลัก ซึ่งหากปรับขึ้นไปถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็อาจจะยืดอายุตราสารออกไปอีก
“เชื่อว่ากองทุนนี้จะให้ผลตอบแทนได้ไม่ต่ำกว่า 4% แน่นอน เพราะมีการกระจายการลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารการเงินของธนาคารพาณิชย์ที่ให้ผลตอบแทนสูง รวมทั้งการกระจายความเสี่ยงไปลงทุนต่างประเทศ ในช่วงที่เศรษฐกิจ การลงทุน รวมถึงการเมืองในประเทศค่อนข้างผันผวนอีกด้วย” นายมาริษกล่าว
ทั้งนี้ สำหรับพอร์ตการลงทุนต่างประเทศ กองทุนจะให้น้ำหนักการลงทุนในภูมิภาคเอเชียเป็นหลัก ทั้งญี่ปุ่น จีน อินเดีย เนื่องจากเป็นกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพการเติบโตสูง นอกจากนี้ บริษัทจะเสนอกองทุน FIF ภายใต้การบริหารจัดการของไอเอ็นจี ซึ่งขณะนี้มีกองทุนเปิด ไอเอ็นจี ไทย ออล เอเชีย อิควิตี้ ที่มีนโยบายลงทุนในตลาดหุ้นของประเทศแถบเอเชีย รวมถึงกองทุน FIF ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้ และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ฟันด์) เข้าไปให้คณะกรรมการบริหารและกำกับดูแลกองทุนของกองทุนดังกล่าวพิจารณาลงทุนด้วย
|
|
|
|
|