ด้วยประสบการณ์การทำงานกว่า 30 ปีในการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) บุญชู
ดิเรกสถาพร ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ในฐานะผู้เชี่ยวชาญทางด้านบัญชี
และการเงินในธุรกิจไฟฟ้าของประเทศ
ขณะที่ดำรงตำแหน่งรองผู้ว่าการบัญชี และการเงินระหว่างปี 2540-2543 ได้มีส่วนร่วมในการจัดหาเงินกู้ของ
กฟผ.ทั้งใน และต่างประเทศ แบ่งเป็นเงินกู้สกุลบาทมูลค่า 62,000 ล้านบาท สกุลเงินเยน
มูลค่า 9,000 ล้านเยน และเงินกู้สกุลเหรียญสหรัฐ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ
นอกจากนี้ ในปี 2541 ยังมีส่วนร่วมในการออกตราสารหนี้สกุลเงินเหรียญสหรัฐ
หรือ ยูโรบอนด์ มูลค่า 300 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนิตยสารชั้นนำ Asia Money
และ Finance Asia ได้ยกย่องให้เป็น Deal of theYear 1998 เพราะเป็นตราสาร
ที่มีเงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยที่ดีเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ.
เมื่อปีที่ผ่านมา บุญชูได้มีบทบาทสำคัญในการจัดหาเงินกู้ใหม่ เพื่อชำระหนี้ต่างประเทศของกฟผ.
(Refinancing) มูลค่า 40,000 ล้านเยน นับเป็นการทำรีไฟแนนซ์ครั้งใหญ่ที่สุดของกฟผ.
ซึ่งช่วยให้ประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยได้ถึง 6,000 ล้านเยน หรือประมาณ 2,280
ล้านบาทในอัตราแลกเปลี่ยน ที่ 100 เยนต่อ 38 บาท
บุญชูเข้าร่วมงานกับ กฟผ. เป็นครั้งแรกเมื่อปี 2511 โดยทำงานในกองงบประมาณ
ฝ่ายบัญชี และการเงิน ต่อมาในปี 2514 ได้รับคัดเลือกจาก กฟผ.ให้ไปศึกษาต่อประเทศอังกฤษ
และได้เข้าร่วมงานกับบริษัท คูเปอร์ แอนด์ ไลแบรนด์ บริษัทบัญชีชั้นนำของโลก
จนกระทั่งได้รับการรับรองให้เป็น Associated Chartered Accountant จากสถาบัน
Institute of Chartered Accountants of England and Wales พร้อมทั้งได้รับการรับรองให้เป็น
Deal of the year 1998 ยความสามารถ ที่โดดเด่นทำให้ได้รับแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการพัฒนาธุรกิจเมื่อปี
2537 เป็นคนแรก โดยมีบทบาทสำคัญในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) เพื่อลดการ
ลงทุนของ กฟผ. เนื่องจากความต้องการกระแสไฟฟ้าของประเทศมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงตามภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น
โครงการนี้มีผู้เข้าร่วมประมูลจำนวนมากถึง 50 ราย นอกจากนี้เขายังมีบทบาทสำคัญในการเจรจาซื้อไฟฟ้าจากลาว
พม่า และจีน และหลังจาก ที่บุญชูประสบความสำเร็จในหน้าที่แล้ว กฟผ.ก็ประกาศยุบสายงานการพัฒนาธุรกิจ
ปี 2540 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองผู้ว่าการบัญชี และการเงิน และในปี 2542 เป็นรองผู้ว่าการบัญชี
และการเงิน และทำหน้าที่รองผู้ว่าการบริหาร ทำหน้าที่ดูแลงานด้านการบัญชี
และการเงิน ตลอดจนงานด้านการบริหารทั่วไปของ กฟผ.ทั้งหมด
ด้วยความเชี่ยวชาญทางด้านการบัญชี และการเงิน บุญชูจึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นผู้บริหารกองทุนสำรองเลี้ยงชีพพนักงาน
กฟผ.มูลค่า 16,000 ล้านบาท โดยสามารถสร้างผลตอบแทนแก่พนักงานเฉลี่ยปีละ 8%
ในระหว่างปี 2541-2543
การขึ้นดำรงตำแหน่งระดับรองผู้ว่าของบุญชูภายในรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่อย่าง
กฟผ.นั้น ถือได้ว่าน้อยคนนัก ที่จะสามารถทำได้ เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า
วัฒนธรรมของ กฟผ. ส่วนใหญ่ผู้บริหารระดับสูงๆ จะต้องมาจากสายวิศวกรรมทั้งสิ้น
จากความสำเร็จในหน้าที่การงาน ที่ตนเองรับผิดชอบ โดยเฉพาะการเริ่มทำโครงการ
IPP เรื่อยมาจนถึงการแปรรูปบริษัทผลิตไฟฟ้า ในที่สุด กฟผ.จึงมอบหมายให้บุญชูเข้ามาดูแลการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี
บทบาทในช่วงแรกของบุญชูภายใต้โครงการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี ก็คือ การจัดโครงสร้างองค์กรบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งทั้งหมด
โดยเฉพาะการจัดทำโครงสร้างทางการเงิน ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จของบริษัท
ที่มีผู้นำอย่างบุญชู เพราะเขาสามารถจัดหาเงินกู้ในประเทศให้กับบริษัทมูลค่า
44,000 ล้านบาทได้อย่างลงตัว
ดังนั้น บทบาท และหน้าที่ของบุญชูจึงโดดเด่นอย่างมากสำหรับการแปรรูปโรงไฟฟ้าราชบุรี
แม้ว่าภาพภายนอกของเขาออกจะเงียบๆ แต่นั่นก็ได้แรงบันดาลมาจากงานอดิเรก ที่เขาปฏิบัติอยู่ทุกวัน
นั่นก็คือ การศึกษาธรรมะ
จากนี้ไปคอยจับตาผู้บริหาร ที่ชื่อบุญชู ดิเรกสถาพรไว้ให้ดี เพราะเป้าหมายของเขาจะไม่มองการ
แข่งขันธุรกิจไฟฟ้ากับคู่แข่งภายในประเทศเท่านั้น