Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538
แผนกู้ตลาดมาสด้าในไทย งานยากของบุนโซ ซูซูกิ             
 


   
www resources

โฮมเพจ มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย

   
search resources

มาสด้า เซลล์ (ประเทศไทย), บจก.
สุโกศล มาสด้า
บุนโซ ซูซูกิ
Vehicle




ในช่วง3-4 ปีที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ไทยมีความเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นนับเป็นช่วงแห่งการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ เพื่อให้ทันรับกับความเติบโตของตลาดรถยนต์อันส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางการตลาดที่รุนแรง และก่อให้เกิดผลต่อเนื่องประการสำคัญนั่นคอ ประเทศไทยกลายเป็นเป้าหมายสำคัญในการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกของรถยนต์ญี่ปุ่นในภูมิภาคเอเซีย

ท่ามกลางกระแสเหล่านี้ มาสด้านับเป็นค่ายที่มีความเคลื่อนไหวน้อยที่สุด ไม่ว่าจะเป็นความเคลื่อนไหวทางการขายหรือการลงทุนเทียบกับคู่แข่งจากประเทศเดียวกันแล้ว จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน เพราะทุกวันนี้มิตซูบิชิ โตโยต้า หรือฮอนด้า ต่างเข้ามายึดไทยเป็นฐานการส่งออกทั้งสิ้น

ในแง่การทำตลาด แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีบางช่วงบางจังหวะที่รถยนต์มาสด้าสามารถสร้างยอดขายได้มาก เช่นการนำมาสด้า โครโนส 626 มาเปิดตลาดด้วยยอดขายสูงกว่า 5,000 คันก่อนที่จะได้รับผลกระทบจากความผันผวน ของค่าเงินเยน หรือการเปิดตัวของมาสด้า แอสทิน่าในปี 2534 ซึ่งเป็นที่ฮือฮาด้านรูปโฉม จนมียอดจองล้นหลามที่จะสามารถสร้างต่อเนื่องในการทำตลาดรถยนต์แต่ละรุ่นให้สืบเนื่อง ในการทำตลาดรถยนต์แต่ละรุ่นให้สืบเนื่องเป็นระยะเวลายาวนานได้

สถานการณ์ของมาสด้า ดูน่าเป็นห่วงมาก ๆ หากไม่ได้รับการเยียวยาแก้ไขอย่างทันเวลา ซึ่งก็ยังโชคดีที่มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น แห่งญี่ปุ่น บริษัทแม่ของสุโกศล มาสด้า ( ประเทศไทย) ดูเหมือนจะทราบความจริงข้อนี้อยู่บ้าง ดังนั้นเมื่อเดือนกรกฏาคม 2537 ที่ผ่านมา นายบุนโซ ซูซูกิ ผู้มีประวัติการทำงานกับมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น มานานกว่า 30 ปี จึงถูกส่งเข้ามารับหน้าที่กรรมการผู้จัดการ ที่สุโกศลมาสด้า ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์มาสด้าในประเทศไทย และบริษัท สุโกศล มาสด้า อุตสาหกรรมรถยนต์ จำกัด แทนนายเซอิจิ มิยาจิ เพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ในไทยครั้งใหญ่

ถ้าดูจากประวัติการทำงานของซูซูกิ ที่มาสด้าแล้ว นับได้ว่าไม่ธรรมดา เพราะเขาได้รับความไว้วางใจให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญๆมากมาย เช่นการมีส่วนร่วมในการแต่งตั้งตัวแทน จำหน่ายแห่งแรกที่แคนาดาและสหรัฐอเมริกา รวมถึงการรับผิดชอบตลาดประเทศแคนาดา การรับผิดชอบวางแผนสินค้าและกำหนดรายละเอียดของแบบรถยนต์ สำหรับทวีปอเมริกาเหนือ การรับผิดชอบงานโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของมาสด้าในอเมริกา

นอกจากนี้เขายังเคยรับผิดชอบงานประชาสัมพันธ์ของมาสด้าในระดับนานาชาติ ณ สำนักงานใหญ่ของมาสด้าที่ฮิโรชิมานานถึง 7 ปี

งานสำคัญและถือว่าเอื้อประโยชน์ต่อการเข้ามาทำงานในเมืองไทยของเขามากที่สุดก็คือ ภารกิจในช่วง 4 ปี สุดท้ายก่อนเข้ามาอยู่เมืองไทย ซึ่งเป็นช่วงที่เขาได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดูแลภูมิภาคเอเชีย เริ่มจากการเป็นรองผู้จัดการทั่วไป รับผิดชอบตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา รวมทั้งในอเมริกาใต้และอเมริกากลางบ ก่อนที่จะเลื่อนขึ้นไปเป็นผู้จัดการทั่วไปของทีมเอเชีย และผู้จัดการทั่วไปของแผนกเอเชียและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตามลำดับ

ประสบการณ์ที่ผ่านมา บวกกับบุคลิกที่แตกต่างจากนักธุรกิจญี่ปุ่นทั่วไปของซูซูกิ ทำให้สุโกศล มาสด้า ภายใต้การนำของเขากลายเป็นภาพที่แปลกตาอย่างไม่เคยเห็นมาก่อน

เริ่มจากความเป็นนักประชาสัมพันธ์เก่า นอกจากจะทำให้เขาไม่กลัวการพบปะพูดคุยกับผู้สื่อข่าวและเชื่อมั่นว่าการสื่อสารกับสื่อมวลชน จะเป็นผลดีกับมาสด้า เพราะทำให้ประชาชนมีโอกาสรับรู้ข่าวสารของมาสด้ามากขึ้นแล้ว เขายังนำประโยชน์ของการสื่อสารไปใช้ในองค์กรด้วย

" ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ผมก็ได้ริเริ่มให้มีการประชุมระดับบริหาร หรือที่เรียกว่า แมเนจเมนท์ มิทติ้งทุกสัปดาห์ โดยเชิญผู้บริหารฝ่ายต่าง ๆ เข้ามาร่วมปรึกษาหารือ จุดมุ่งหมายของการประชุมนี้มิได้อยู่ที่การพูดคุยและตัดสินใจปัญหาใดปัญหาหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นการฝึกให้มีการสื่อสารระหว่างกัน ผมอยากให้ทุกคนกล้าแสดงออก กล้าพูดในสิ่งที่ตัวเองคิด ผมรำคาญคนที่เงียบมากว่าคนพูดมาก"

ช่วง 9 เดือน ที่เขาเข้ามาบริหารงานในประเทศไทย ซูซูกิ ถือว่ายังเป็นช่วงเวลาของการปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนภาษาไทยจนสามารถพูดและอ่านได้บ้างแล้ว

การเรียนรู้อุปนิสัยการทำงานของคนไทย เรียนรู้สภาพตลาดและรสนิยมของลูกค้า แต่ก็นับเป็นช่วงที่สุโกศล มาสด้ามีการเปลี่ยนแปลงด้านองค์กรสูงมาก

ไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากเข้ามารับงานได้ 6 เดือน โดยการรวม 3 หน่วยงานหลัก คือ ฝ่ายขาย ฝ่ายบริการ และฝ่ายอะไหล่ ให้รวมศูนย์อยู่ที่เดียวกัน โดยทั้ง 3 ฝ่ายจะอยู่ภายใต้การดูแลของนายฮิโรชิ อิวาตานิ รองกรรมการผู้จัดการ มิใช่ต่างเป็นรับอิสระที่ขึ้นตรงต่อกรรมการผู้จัดการอย่างแต่ก่อน

นอกจากนี้ยังมีการสับเปลี่ยนตัวผู้บริหารในแผนกต่าง ๆ เช่น นายลิชล จันท์รัศมี จากรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการ นายเฉลิม นาคบรรพ์ จากรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการหลังขาย มาเป็นรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายอะไหล่

นี่ยังไม่นับรวมถึงการย้ายนายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนาพงษ์ จากรองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายพัฒนการรตลาด ของสุโกศล มาสด้า ไปเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัท กิจกมลโกศล เพื่อดูแลดีลเลอร์ในเขตกรุงเทพฯ โดยเฉพาะ ซึ่งการโยกย้ายครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากเขารับตำแหน่งได้ประมาณ 4 เดือน

ซูซูกิ ยอมรับว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสุโกศล มาสด้า เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามผลักดันให้รถยนต์มาสด้าประสบความสำเร็จในเมืองไทยมากกว่าอดีตที่ผ่านมา กล่าวคือสุโกศล มาสด้า หวังทึ่จะมีส่วนแบ่งตลาด10%ใน 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันซึ่งมีส่วนแบ่งอยู่ประมาณ 3%

โดยจุดสำคัญที่ตจะทำมให้มาสด้าไปถึงเป้าหมาย นอกจากจะต้องมีผลิตภัณฑ์ที่ดี และการวางแผนสนับสนุนดีลเลอร์ให้ปรับปรุงด้านบริการหลังการขาย โดยบริษัทกำลังลงทุนสร้างไฮเทค เซ้นเตอร์พัฒนาประสิทธิภาพด้านเทคนิค การซ่อมบำรุงที่ทันสมัยให้กับผู้แทนจำหน่าย และการสร้างศูนย์อะไหล่กลาง ซึ่งจะช่วยให้ราคาอะไหล่ของบริษัทถูกลงและให้บริการได้คามความต้องการของลูกค้ามากขึ้น

ความหวังอีกอย่างหนึ่งของสุโกศล มาสด้า ก็คือ การลุ้นให้แผนการร่วมทุนเข้ามาตั้งโรงงานผลิตรถกระบะเพื่การส่งออกในประเทศไทยของมาสด้า และฟอร์ด ประสบความสำเร็จ เพราะนั่นหมายถึงว่า สุโกศล มาสด้าจะมีรถกระยะขนาด 1 ตัน สนองความต้องการลูกค้ามากขึ้นกว่าปัจจุบันที่ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องพึ่งพาการป้อนเครื่องยนต์จากอีซูซุ

บุนโซ ซูซูกิ ยอมรับว่า เขาประทับใจและสนุกสนานกับการทำมาทำงานในเมืองไทยมาก และหากมาสด้าสามารถกู้สถานการณ์กลับขึ้นมาอยู่ในอันดับ 5 ของผู้ค้ารถยนต์เมืองไทยได้ รวมทั้งมียอดขายกระเถิบเข้าไปไกล้อันดับสี่มากกว่าที่ผ่านมา ก็จะยิ่งทำให้เขาประทับใจเมืองไทยมากขึ้น ซึ่งเขาเองก็ยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us