เมื่อคุณจะเริ่มงานใหม่กับบริษัทใด อย่าลืมถามเจ้านายของคุณว่า บริษัทมีที่จอดรถให้หรือเปล่า
ถ้าไม่มีต้องไปหาที่เช่าจอดรถได้จากที่ไหน และที่สำคัญใครเป็นคนจ่ายเงินจำนวนนี้
ซักให้ละเอียดเชียวนะ ไม่เช่นนั้นแล้วมันจะทำให้คุณปวดหัวกับการทำงานที่ใหม่ไม่น้อยเชียวล่ะ
เมื่อจะเช่าหรือซื้อพื้นที่ในการตั้งออฟฟิค จุดแรกที่ทำให้เจ้าของบริษัทส่วนใหญ่ตัดสินใจก็คือ
ทำเลที่ตั้ง ซึ่งยึดเอาย่านที่ทีการคมนาคมสะดวกเป็นหลัก โดยที่แน่นอนว่าส่วนใหญ่ไม่ได้มองการณ์ไกลไปยังเรื่องที่จอดรถ
แต่เมื่อบริษัทขยายใหญ่ขึ้น จำนวนพนักงานเพิ่มมากขึ้น ปัญหาที่จอดรถที่เคยเป็นเรื่องเล็กกำลังกลายเป็นเรื่องใหญ่
สมชายเป็นพนักงานใหม่ที่เพิ่งทำงานกับธนาคารยักษ์ใหญ่อย่างไทยพาณิชย์ ได้เพียงสองปี
ทุก ๆ เช้า สมชายขับรถฝ่าการจราจรที่แออัดจากฝั่งธนบุรีมาทำงานที่สำนักงานใหญ่
ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ น่าเห็นใจที่สมชายต้องรอสวัสดิการที่จอดรถนานถึงสองปีถึงจะได้สิทธิ์
รอแล้วรอเล่าเฝ้าแต่รอเป็นปี ๆ หลังจากบุ๊คจองแล้วต้องจ่ายค่าบริการที่แบงก์เก็บน้อยนิดเพียง
300 บาทต่อเดือน เงินรายได้ไม่มากนักนี้ตีเป็นค่าบำรุง "สโมสรธนาคารไทยพาณิชย์"
ซึ่งมีศักดิ์ เกี่ยวการค้า ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่เป็นนายกสโมสรฯ อยู่
ปัญหาที่จอดรถไม่พอเพียงบนพื้นที่สำนักงานใหญ่ จนกระทั่งทำให้มีคิวยาวเหยียดที่รอยู่ถึง
1,390 คนนั้น ต้องรอนานเป็นปี ทำให้แบงก์ระบายปัญหาโดยไปเช่าที่ตึกไคเเชตชนม์เพิ่มในราคาเช่าที่เรือนแสนต่อเดือน
พอจะขยับขยายให้หายใจได้คล่องขึ้นมาหน่อย คือจอดรถได้อีก 200 กว่าคัน จากจำนวนที่รอคิวที่ไคเชคชนม์ถึง
500 คัน
"ขณะที่พนักงานไทยพาณิชย์ต้องแย่งที่จอดรถของลูกค้า คนทำงานแล้วถึง
3 ปีถึงจะได้ที่จอดรถ ผมบอกว่า ถ้าใครเอารถมาจอดตารมที่เรากำหนด ผมจะออกค่ารถบัสให้ดวย
แต่ต้องเปลี่ยนพฤติกรรม และผมเสนอให้คนในแบงก์ที่มีงานไม่เกี่ยวชข้องกับลูกค้า
เช่น งานคอมพิวเตอร์ ทำงานคนละเวลา" ดร. โอฬาร ไชยประวัติ กรรมการผู้จัดการใหญ่
แบงก์ไทยพาณิชย์เล่าให้ฟัง
ท่ามกลางเปลวแดดที่แผดร้อน รถเก๋งหลากหลายพันธ์ต่างก็จอดเรียงรายรอเจ้านายของมันอย่างมิรู้ร้อนรู้หนาว
มีรถป้ายแดงก็มากคัน ราวกับศซื้อง่ายขายคล่องกันดี ยิ่งเด็กหน้าใสปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมมหาวิทยาลัย
ก็ขับถรถป้ายแดงกันว่าเล่น แม้จะรอคิวที่จอดรถยางแค่ไหนก็รอกันได้
ช่วงวิกฤตตอนเช้าวันเสาร์ 8.30 และใกล้แบงก์ปิด บ่าย 15.30 น. ปรากฏภาพแห่งความชุลมุนที่จอดรถกันจ้าละหวั่น
โดยเฉพาะลูกค้าแบงก์ที่มีที่จอดรถอยู่เพียงชั้นล่างชั้นเดียว เป็นความแออัดยัดทะนานเหมือนปลากระป๋องปุ้มปุ้ย
เป็นภาพที่น่าสังเวชใจยิ่งนัก เพราะไม่ว่าจะซอกมุมไหนเต็มไปด้วยรถไม่ว่ารถเก๋งหรือรถมอเตอร์ไซค์
ขณะที่ชั้น 2 เป็นที่จอดรถประจำตำแหน่งของผู้บริหารของแบงก์และบริษัทในเครือระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปถึงกรรมการผู้จัดการ
และรถของบริษัท
ส่วนชั้น 3-7 เป็นที่จอดรถของพนักงานแบงก์ไทยพาณิชย์และบริษัทในเครือที่ทำงานอยู่บนพื้นที่
3 อาคาร
รวมทั้งหมดจอดรถได้ 450 คัน ต่อจำนวนพนักงานที่มีอยู่ไม่ต่ำกว่าหนึ่งหมื่นคน
สำหรับน้องใหม่ที่เพิ่งมีรถ การรอคอยเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายจนกระทั่งบางรายหงุดหงิดขอลาออกจากแบงก์ไปทำงานที่อื่นก็มี
ยกเว้นคู่สามีภรรยาที่ทำงานที่เดียวกัน ทางแบงก์อนุญาตให้สามีหรือภรรยาโอนสิทธิที่จอดรถให้อีกฝ่ายหนึ่งได้
ระหว่างรอเพื่อที่จะได้ที่จอดรถก็ต้องเหนื่อยหน่อยในการวิ่งตะเวณหาที่จอดรถที่ห้างโรบินสันราชดำริบ้าง
ที่ศุนย์การค้าดมโทรบ้าง หรือสุดแท้แต่จะเสาะหาได้
เมื่อหาที่จอดรถได้แล้วจ่ายสตางค์เป็นรายวันๆ ละ 30-50 บาท หรือเหมารายเดือนประมาณ
1,500 แถมต้องเดิอนย่ำจากโรบินสันมาที่แบงก์ทุกวัน ๆ เป็นนี้อยู่สองปี จึงมีคำตอบจากฝ่ายธุรกิจว่า
คิวว่างแล้วให้รีบนำหลักฐานสำเนาทะเบียนรถยนต์และใบขับขี่มาโดยด่วน
สำหรับบางคน เสียงนี้พอ ๆ กับถูกล็อตเตอร์ลี่
เป็นอยู่เช่นนี้นานจนกระทั่งความหวังใหม่เริ่มส่องแสง เมื่อตึกสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของแบงก์ไทยพาณิชย์ซึ่งตั้งอยู่บนถนนรัชโยธิน
เนื้อที่กว้างขวางราว 50 ไร่ ได้สร้างเสร็จแล้วมีเนื้อที่จอดรถเพียบ พนักงานหวังว่าต่อไปนี้พวกเขาคงไม่ต้องรอคิวยาว
ไม่ต้องเสียเวลาและเสียเงิน ไม่ต้องเสียความรู้สึก และอะไรอีกหลายอย่างที่ไม่ดี
ๆ เกี่ยวกับการจอดรถมลายหายไปสิ้น
เหลืออยู่ปัญหาเดียวคือ ...ระยะทาง จากบ้านไปที่ใหม่ เส้นทางเต็มไปด้วย
รถ รถ รถ รถ...ติดเป็นแพ
อาคารสูงตะหง่านย่านปทุมวันซึ่งเป็นที่ตั้งของกองบัญชาการของบริษัท สยามกลการ
จำกัด ผู้แทนจำหน่ายรถยนต์นิสสันก็มีปัญหาเรื่องที่จอดรถของบริษัทไม่เพียงพอแก่จำนวนรถของพนักงานเช่นกัน
แม้ว่าด้านหลังของบริษัทจะมีอาคารที่จอดรถสูง 9 ชั้น รองรับระได้เกือบ 300
คันก็ตาม
ทั้งนี้เนื่องในแต่ละวันจะมีลูกค้ามาติดต่อธุรกิจกับบริษัทมากมาย ที่จอดรถจำนวน
2 ชั้นจึงถูกกักกันไว้ให้เป็นที่จอดรถของลูกค้าที่จอดรถอีก 7 ชั้นที่เหลือ
ส่วนใหญ่เป็นที่ถูกจัดให้เป็นที่จอดรถของรถใช้งานของบริษัทและรถของพนักงานระดับผู้บริหารขึ้นไป
เหลือที่จอดอีกเพียง 2 ชั้น ที่อนุญาตให้พนักงานจำนวน 50 คน สามารถนำรถมาจอดได้ฟรี
ในที่จอดรถของบริษัทเพียง 1 ปี เพราะบริษัทจะจัดให้มีการจับฉลากใหม่ทุกครั้งในช่วงสิ้นปีโดย
50 คนที่ได้สิทธิ์จอดรถไปแล้วจะไม่มีสิทธฺ์จับฉลากในครั้งต่อไปต้องเปิดโอกาสให้พนักงานที่มีรถประมาณ
150 คันได้จับฉลากแข่งกัน
ส่วนพนักงานทั่วไปที่มีรถอีกจำนวน 150 คัน ที่เหลือบริษัทได้ขอความร่วมมือให้นำรถไปจอดที่อื่นซึ่งในอดีตพนักงานต้องหาที่จอดและรับภาระเรื่องค่าที่จอดเอง
แต่ตั้งแต่ต้นปี 2537 ที่ผ่านมา บริษัทได้เข้ามาแบ่งภาระของพนักงานในส่วนนี้
ด้วยการเหมาที่จอดรถสยามคาร์ปาร์คของศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ 2 ชั้น ให้พนักงานนำรถไปจอดโดยบริษัทช่วยออกค่าจอดรถให้คนละ
1,300 บาท หากค่าจดรถ 1,800 ต่อเดือน อันนับเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการที่มอบให้แก่พนักงานซึ่งเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายแล้วบริษัทต้องจ่ายเงินเดือนเดือนละ
195,000 บาทหรือปีละ 2,340,000อ บาท
ผู้ที่ได้ดรับโชคแบบเนื้อ ๆ จากตัวเลขเงิน 2 ล้านบาทีรายเดียวคือ "สยามคาร์ปาร์ค"
ของบริษัทบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนล โฮเต็ล จำกัด เจ้าของโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติแนนตัล
และศูนย์การค้าสยาม
วิชัย เป็นมนุษย์พันธ์เมืองหลวงอีกคนหนึ่ง ที่กำลังประสบปัญหาร่วมสมัยของชาวกรุงเทพฯ
คือปัญหาที่จอดรถในที่ทำงาน วิชัยเป็นพนักงานระดับผู้ช่วยผู้จัดการของบริษัทหนึ่งในเครือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจ
ของปิ่น จักกระพาก บุรุษซึ่งถูกจับตามองว่าจะมาเป็นบ๊กบอสของแบงก์ใหม่ในเมืองไทยหรือไม่
มี่ทำงานของวิชัย อยู่ในอาคาร "เอกอาคาร" ซึ่งเป็นสำนักงานสูง
14 ชั้น ตั้งอยู่ซอยร่วมฤดี
วิชัยถูกดึงตัวมาจากบริษัทขนาดกลางบริษัทหนึ่งบนถนนสาทรในอัตราเงินเดือนที่สูงกว่าเดิมแม้ไม่มากนัก
แต่ชื่อเสียงของกลุ่มเอกธนกิจ ในแง่ที่ว่าเป็นบริษัทที่มีการทำงานของกลุ่มคนหนุ่มรุ่นใหม่ที่มีสไตล์การทำงานน่าสนใจ
ได้สร้างความท้าทายให้เขาอยากเข้ามาร่วมงานด้วนอย่างมาก และมั่นใจว่า บริษัทนี้ต้องสร้าง
หลักประกันให้กับเขาและครอบครัวได้
ก่อนการทำงานวิชัยได้รับแจ้งว่า ในตำแหน่งของเขาไม่สามารถจอดรถบนตัวตึกเอกอาคารได้
พื้นที่จอดรถบนตึกจะถูกกักกันไว้เป็นที่จอดรถของผู้บริหารระดับสูงของแต่ละบริษัทที่มาเช่าอยู่เท่านั้น
แต่ก็ไม่มีปัญหาสำหรับพนักงานตำแหน่งรอง ๆ ลงมาอย่างเขา บริษัทได้เช่าที่จอดรถไว้ให้แล้วบริเวณที่ว่างติด
ๆ กับตัวตึก ส่วนพนักงานทั่วๆไป นั้นบริษัทให้หาเช่าที่จอดรถเองโดยไม่ออกค่าใช้จ่ายให้
ที่ดินซึ่งบริษัทเช่าไว้เป็นที่จอดรถแปลงดังกล่าวนั้น เรียกกันติดปากว่า
" รั้วเขียว" มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ นอกจากบริษัทต่าง ๆ ในเอกอาคารแล้ว
บริษัทที่อยู่ใกล้เคียงในย่านนั้นก็ได้มา เช่าจอดรถด้วย ซึ่งจอดได้ประมาณ
200 คัน ปัจจุบันมีรถมาจอดเต็มแล้ว ไม่สามารถจอดรถเพิ่มได้อีก โดยที่มีอัตราเช่า
1,500 บาทต่อคันต่อเดือน ผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ที่ดินแปลงนี้เป็นที่รู้กันว่า
ก็คือบริษัทใดบริษัทหนึ่งของปิ่น จักกระพาก นั่นเอง
ส่วนพนักงานคนอื่น ๆ ที่ไม่สามารถจอดรถบริเวณรั้วเขียวได้ก็จะพากันไปจอดบนที่ดินของบริษัทฮาเบอร์วิว
บริษัทร่วมทุนของชิน โสภณพนิช กับดิลก มหาดำรงกุล ซึ่งเป็นที่ดินว่างเปล่าประมาณ
16 ไร่ ผืนสุดท้ายบนถนนวิทยุ ที่มีค่ามหาศาลแต่ตอนนี้ยังรอช่วงจังหวะในการพัฒนา
และได้ปล่อยให้เช่าจอดรถไปพลาง ๆ โดยมีระยะห่างจากตัวตึกเอกอาคารเพียงไม่กี่ร้อยเมตร
ใน 2 เดือนแรกการทำงานของวิชัยยังไม่ค่อยลงตัวนัก เพราะช่วงเวลาที่เขาเข้ามาทำงานบริษัทกำลังปรับโครงสร้างใหม่และขยายงาน
มีการทยอยรับพนักงานระดับผู้จัดการและระดับผู้ช่วยอีกกว่า 10 ตำแหน่ง
แล้ววันหนึ่งก็เกิดเหตุเมื่อฝ่ายธุรการทำหนังสือแจ้งมาที่พนักงานว่าที่ดินตรงรั้วเขียวบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์เอกธนกิจ
ต้องการยกเลิกการให้เช่าเป็นที่จอดรถ เพื่อนำมาสร้างเป็นอาคารสำนักงาน พนักงานที่จอดรถอยู่ในบริเวณนั้น
ต้องไปหาที่เช่าจอดรถใหม่เอง
ไม่มีปัญหา จอดตรงนี้ไม่ได้ ก็ไปจอดตรงที่ดินของบริษัทฮาเบอร์วิว ซึ่งยังมีที่ดินว่างเปล่าอีกมาก
เดินออกกำลังเอาหน่อยก็แล้วกัน วิชัยคิด
แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อธุรการเอื้อนเอ่ยวาจาต่อว่า บริษัทจะไม่รับผิดชอบค่าจอดรถให้อีกต่อไป
เหตุผลลึก ๆ ของบริษัท ก็คือเมื่อรับคนเพิ่มขึ้น ก็พยายามตัดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงให้มากที่สุด
ซึงทุกวันนี้บริษัทต้องแบกภาระจ่ายค่าจอดรถให้พนักงานระดับผู้จัดการฝ่ายและผู้ช่วยประมาณ
8 คน คนละ 1,500 บาทต่อเดือน หรือปีละ 1.4 แสนบาท เมื่อรับคนระดับนี้เพิ่มค่าใช้จ่ายในที่จอดรถก็เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวเหมือนกัน
ก็เลยตัดปัญหาโดยวิธีง่ายที่สุด คือไม่จ่ายให้ใครเลย
คำสั่งนี้สร้างความไม่พอใจให้กับพนักงานที่เคยได้รับสิทธิอยู่ทันที โดยเฉพาะวิชัยเขาคิดว่า
กำลังถูกบริษัทเอาเปรียบ เงินก้อนนี้เป็นส่วนที่บริษัทเคยให้เป็นสวัสดิการ
มาตลอด ทำไมจะจ่ายต่อไม่ได้ เมื่อบริษัทต้องการขยายงาน ค่าใช้จ่ายส่วนนี้บริษัทก็น่าจะพร้อมที่จะแบกรับ
มันเป็นค่าแรงจูงใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่บริษัทควรจะให้กับพนักงาน และที่สำคัญเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเลยที่เขาเข้ามาทำงานกับบริษัทนี้สองเดือน
โอเคความดียังไม่มีแต่ความชั่วยังไม่ปรากฏ แต่เขาถูกลดเงินเดือนลงแล้ว 1,500
บาท
วิชัย เริ่ม "เข้าใจ" ถึงน้ำใจของผู้บริหารที่เขากำลังจะทุ่มเทกำลังกายกำลังใจในการทำงานให้
เขาเริ่มหงุดหงิดในการทำงาน ขณะนี้ข้อถกเถียงระหว่างพนักงานกับผู้บริหารว่าใครจะต้องจ่ายค่าที่จอดรถยังไม่จบ
วันหนึ่ง เจ้านายเก่าของวิชัย ซึ่งไปทำงานในบริษัทใหญ่แห่งหนึ่งโทรมาหาเขา
และบอกว่ามีตำแหน่งอยากชวนเขาไปอยู่ด้วย คำถามแรกที่วิชัยพูดกลับไปก็คือ
"มีที่จอดรถให้หรือเปล่าพี่ แล้วใครจ่ายให้ครับ"