การไต่สวนสาธารณะคดีประวัติศาสตร์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อองค์คณะผู้พิพากษา ซึ่งประกอบด้วยอธิบดี
และรองอธิบดี เข้าประจำที่องค์คณะได้ชี้แจงเป็นการล่วงหน้าก่อนว่า การไต่สวนเป็นกระบวนการของศาลที่หวังจะให้เกิดการประนีประนอมระหว่าง
2 ฝ่าย เพื่อมิให้คดียืดเยื้อต่อไปในครั้งแรก มีผู้เข้าฟังประมาณ 100 คน
ครึ่งหนึ่งเป็นสื่อมวลชน ทางฝ่ายโจทก์ โดยคุณหญิงชดช้อย โสภณพนิช รู้เท่าทันเกมของฝ่ายจำเลย
แต่เท่าที่ทำได้ก็คือมีแต่การซักค้านจำเลยในทุกจุดที่ยังอธิบายไม่เด่นชัดอย่างละเอียดยิบ
และสิ่งที่ฝ่ายโจทก์คาดการณ์ไว้ว่าจะไม่ค่อยได้รับประชาชนที่จะเข้าฟังการไต่สวน
เนื่องจากอยู่ในช่วงเลือกตั้งนั้น ก็เป็นจริงดังคาด
หลังจากนั้น ฝ่ายจำเลยคือ กทม. และธนายง ได้ส่งตัววแทนหลักของตนออกมาชี้แจงในแต่ละปัญหาหลักซึ่งทางฝ่ายโจทก์ก็ต้องการทราบ
ซึ่งเป็นไปตามคาดหมายของฝ่ายโจทก์ที่ฝ่ายจำเลยจะให้ร่ายยาวให้เห็นถึงคุณงามความดีของรถไฟฟ้าที่จะมีต่อชาว
กทม. และใช้ตัวแทนของไอทีดีมาบรรยายทางเทคนิกที่ซับซ้อย เพื่อยืดเยื้อเวลาให้นานที่สุดจนกระทั่งหมดเวลาในแต่ละช่วงไป
การไต่สวนสาธารณะในครั้งนี้ จัดขึ้นในช่วงที่ไม่ค่อยเหมาะสมนัก เพราะอยู่ใกล้การเลือกตั้งทั่วไปจึงทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมฟังน้อยกว่าที่คาด
ซึ่งมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า หากชะลอการไต่สวนออกไปจนหลังเลือกตั้งแล้ว น่าจะเรียกความสนใจจากผู้ฟังได้มากกว่านี้