Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน17 กรกฎาคม 2549
หุ้นเหล็กรับอานิสงส์ราคาพุ่งโบรกเกอร์ชี้มีส่วนต่างทำกำไร             
 


   
search resources

Metal and Steel
Stock Exchange




นักวิเคราะห์ คาดการณ์ผลงานครึ่งปีแรกกลุ่มธุรกิจเหล็กรุ่ง หลังราคาเหล็กในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น ทดแทนปริมาณความต้องการในประเทศที่ลดลง เหตุปัจจัยลบด้านการเมืองส่งผลให้โครงการขนาดใหญ่ชะลอโครงการก่อสร้าง ระบุทุกบริษัทยังมีส่วนต่างให้ทำกำไร นำโดย "NSM" ที่มีส่วนต่างสูงสุดถึง 58%

จากกรณีที่สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ได้ประเมินอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศว่า ปริมาณความต้องการในประเทศลดลงประมาณ 7-8% จากปีก่อนขยายตัว 10% สืบเนื่องปัญหาการเมืองที่ยังไม่สามารถคลี่คลายได้ จนส่งผลกระทบต่อโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ๆ อาทิ โครงการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) รวมถึงการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ด้วย

ขณะที่ในปี 2550 ปริมาณความต้องการใช้เหล็กในประเทศน่าจะปรับตัวดีขึ้น หลังจากสถานการณ์เมืองเริ่มคลี่คลายและมีทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามในปี 2549 นี้ คาดว่าราคาเหล็กรีดร้อนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 500-600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัว เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 400 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการทำให้มีกำไรดีขึ้นกว่าปีก่อน

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ได้ให้ความเห็นว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานครึ่งปีแรก 2549 ผู้ประกอบการจะมีผลงานที่ดีขึ้น แม้ว่าความต้องการใช้เหล็กภายในประเทศจะชะลอตัวจากการหยุดชะงักของโครงการขนาดใหญ่ แต่ในตลาดต่างประเทศยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันราคารเหล็กในตลาดโลกยังมีทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน จึงแนะนำให้นักลงทุนกลับเข้ามาลงทุนในหุ้นกลุ่มธุรกิจเหล็ก โดยเฉพาะบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง

สำหรับหลักทรัพย์ที่คาดว่าจะได้รับผลดีจากการปรับตัวขึ้นของราคาเหล็ก อาทิ บริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI บริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL บริษัท นครไทยสตริปมิล จำกัด (มหาชน) หรือ NSM และบริษัท บางสะพานบาร์มิล จำกัด (มหาชน) หรือ BSBM เป็นต้น

ผู้จัดการรายวัน ได้ทำการเปรียบเทียบราคาหุ้นของกลุ่มบริษัทที่ประกอบการอุตสาหกรรมเหล็ก ด้วยการเปรียบเทียบราคาหุ้นในช่วงต้นปี (3 ม.ค. 49) กับราคาหุ้นงวดครึ่งปี (30 มิ.ย.) พบว่า ราคาหุ้นของกลุ่มอุตสาหกรรมเหล็กบางตัวปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างมาก แม้จะบางบริษัทที่มีราคาหุ้นปรับตัวลดลง (ตารางประกอบข่าว)

โดยราคาหลักทรัพย์ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ บริษัท ซีเอสพี สตีลเซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ CSP ราคาปิด (30 มิ.ย.) ที่ 3.44 บาท ราคาเพิ่มขึ้นจากต้นปี 49.57% บริษัท บางสะพานบาร์มิล จำกัด (มหาชน) หรือ BSBM ราคาปิด 1.28 บาท เพิ่มขึ้น 16.36% และบริษัท สหวิริยาสตีล อินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ปิดที่ 1.28 บาท เพิ่มขึ้น 12.28%

ขณะที่บริษัทที่มีราคาหุ้นปรับตัวลดลงมากที่สุด คือ บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จำกัด (มหาชน) หรือ PERM บริษัท นครไทยสตริปมิล จำกัด (มหาชน) หรือ NSM และบริษัท ซิตี้ สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ CITY ที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจากต้นปี 43.96% , 28.33% และ 17.36% ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบราคาปิด ณ ครึ่งปีแรก กับราคาเฉลี่ยที่ประเมินโดยบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ ปรากฏว่า ราคาหุ้นทุกบริษัทยังต่ำกว่าราคาประเมินของโบรกเกอร์ หรือมีส่วนต่างให้ทำกำไรได้ (Up Side) โดย 3 บริษัทแรกที่ยังมีส่วนต่างมากที่สุด ได้แก่ NSM , บริษัท สตีล อินเตอร์เทค จำกัด (มหาชน) หรือ STEEL และบริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL ที่มีส่วนต่างอยู่ 58.14% , 55.66% และ 35.83% ตามลำดับ

BSBM ปรับกลยุทธ์เน้นเพิ่มมาร์จิ้น

ก่อนหน้านี้ นายวีระวิทย์ ดุลลัมพะ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท บางสะพานบาร์มิล จำกัด (มหาชน) หรือ BSBM ให้ได้สัมภาษณ์ว่า ในครึ่งปีหลังบริษัทจะเน้นการสร้างผลกำไรมากกว่าการสร้างยอดขาย เนื่องจากบริษัทไม่อยากที่จะทำการสต็อกสินค้าไว้มากจนเกินไป รวมทั้งบริษัทจะได้ป้องกันความเสี่ยงในเรื่องของความผันผวนของราคาเหล็ก

"ในปีนี้ BSBM พยายามจะรักษาระดับ Gross Profit Margin ให้อยู่ที่ประมาณ 10% จากปัจจุบันบริษัทมี Gross Profit Margin อยู่ที่ประมาณ 8% และปรับลดยอดขายจากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 360,000 ตันต่อปี เหลือ 240,000 ตันต่อปี แต่จะเน้นเรื่องเพิ่มมาร์จิ้นมากขึ้น"

ด้านนักวิเคราะห์ คาดการณ์ว่าปริมาณขายไตรมาส 2 ของ BSBM อยู่ที่ 51,634 ตัน ลดลงจากไตรมาสก่อนประมาณ 21-23% คิดเป็นมูลค่าการขายเท่ากับ 929 ล้านบาท ลดลง 13% เนื่องจากเป็นช่วงโลซีซั่น ภาวะชะลอตัวของภาคก่อสร้าง ส่วนแนวโน้มไตรมาส 3 มีสัญญาณการปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ดังนั้นจึงได้แนะให้ซื้อเก็งกำไร ราคาเหมาะสมอยู่ที่ประมาณ 1.40-1.50 บาท บนสมมติฐาน P/E 10 เท่า ในปี 2550

บิ๊ก GSTEEL มั่นใจผลงานโตตามเป้า 30%

ขณะที่ผู้บริหารบริษัท จี สตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL ได้ให้ความมั่นว่า ในปี 2549 นี้ บริษัทจะมีอัตราการขยายตัวประมาณ 30% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เนื่องจากราคาเหล็กในตลาดโลกได้ปรับเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2548 ประกอบกับความต้องการใช้เหล็กในประเทศเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ จากการเข้าซื้อหนี้ของ NSM จากเจ้าหนี้เดิม ON CITY HOLDINGS LIMITED จำนวน 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จะส่งผลให้ผลประกอบการในครึ่งปีหลังของบริษัทดีขึ้นด้วย เพราะจะได้รับความร่วมมือในการดำเนินธุรกิจจาก NSM ด้วย ทั้งในด้านการกำหนดราคาขายให้สูงขึ้นได้ และมีความสามารถในการต่อรองการซื้อวัตถุดิบได้ในราคาที่ถูกลงด้วย

ด้านบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) นครหลวงไทย ได้คงคำแนะนำให้ "ซื้อ" GSTEEL โดยประเมินมูลค่าที่เหมาะสมของ ด้วยวิธี Discounted Free Cash Flow, WACC 13.38%, Growth Rate 3% ได้ราคาที่เหมาะสมเท่ากับ 1.56 บาท (Fully Diluted) แม้ราคาหุ้นในปัจจุบันปรับตัวลดลงกว่า 20% แต่ GSTEEL มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่จะยังขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ประกอบกับราคาหุ้นในปัจจุบันเทรดอยู่ที่ระดับต่ำมี P/E เพียง 4.35 เท่า   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us