Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538
จุดวิกฤตก่อสร้าง บีทีเอส ปี 2541 หมดวาสนาเห็นรถไพฟ้า             
โดย สุชาติ สวัสดิยานนท์
 

 
Charts & Figures

เส้นทางรถไฟฟ้า BTS
แผนการก่อสร้างฐานรากและเสาโครงการไฟฟ้าธนายง


   
www resources

โฮมเพจ ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ

   
search resources

ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ, บมจ.
ธนายง, บมจ.
คีรี กาญจนพาสน์
Transportation




ทันทีที่บีทีเอสตอกเสาเข็มต้นแรก เพื่อวางรากฐานราก โครงการ "รถไฟฟ้าธนายง" ความวิตกกังวลของคนกรุงเทพฯ ก็คือ การจราจรจะต้องถึงจุดวิกฤตแน่ ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีคำถามตามมามากมาย โดยเฉพาะเส้นทางก่อสร้างที่ต้องผ่านสิ่งปลูกสร้างเดิม ซึ่งแม้แต่บีทีเอส ก็ยังไม่มีคำตอบ ว่าจุดวิกฤตเหล่านั้นจะแก้ปัญหาอย่างไร?

9 เมษายน 2535 คงเป็นวันที่คีรี กาญจพาสน์ จะต้องจำขึ้นใจว่า เป็นวันแรกที่จะต้องเข้ามารับแบกภาระประวัติศ่าสตร์ ในการเซ็นสัญญารับสัมปทานมูลค่าเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ของโครงการที่เรียกกันติดปากว่า รถไฟฟ้าะนายง หรือบีทีเอส ( มีที่มาจากชื่อของบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ จำกัด ( BTS ) จากวันนั้นนับถึงวันนี้เป็นเวลา 3 ปีกว่าที่คีรีต้องใช้กระบวนท่าทุกอย่างผลักดันให้โครงการนี้ลุล่วงนับตั้งแต่การหาแหล่งเงินทุน หาผู้รับเหมา รวมถึงการเปิดเผยข้อเท็จจริงของโครงการ ซึ่งแม้ว่าคีรีจะใช้ความพยายามทั้งกายและใจไปมากพอสมควรแต่ความสงสัย และเคลือบแคลงใจเกี่ยวกับโครงการนี้ก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง

และยิ่งหนักข้อเมื่อการก่อสร้างได้เริ่มเปิดฉากขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ซึ่งหากแยกแยะปัญหาหลักที่น่าห่วงใยของโครงการนี้ออกเป็นกลุ่มแล้ว ก็จะมีปัญหาหลักที่น่าห่วงใยของโครงการนี้ออกเป็นกลุ่มแล้ว ก็จะมีปัญหาหลักด้านการก่อสร้างที่จะมีผลกระทบต่อการจราจร ชีวิตและทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม

ผลกระทบของงานก่อสร้างต่อการจราจร รวมไปถึงความล่าช้าของโครงการ ดุจะเป็นปมหลักที่ทุกคนต่างเพ่งประเด็นไปว่า แต่ละจุดก่อสร้างในแนวเส้นของรถไฟฟ้าธนายงนี้จะสร้างปัญหาได้มากน้อยเพียงใด

ตามข้อเท็จจริงเบื้องต้นที่บีทีเอส เปิดเผยมานั้นโครงการรถไฟฟ้าธนายงจะก่อสร้างเป็นสะพานยกระดับกว้างประมาณ 8.50 เมตร ตั้งอยู่บนเสาคอนกรีต กว้าง 2 เมตร สูงจากพื้นโดยทั่วไปประมาณ 12 เมตร ซึ่งอาจจะมีบางจุดที่ต้องสร้างให้สูงถึง 14 เมตร เพื่อให้สูงกว่างานก่อสร้างที่ทำไปแล้ว เช่นทางด่วนสายที่ 2

วิธีก่อสร้างนั้น จะไม่แตกต่างไปจากการก่อสร้างแบบทางด่วนที่เคยสร้างมา โดยจะเป็นระบบหล่อคานสำเร็จชนิดนำมาประกอบต่อกับตอม่อได้ทันที ซึ่งธนายงย้ำนักย้ำหนาว่า การก่อสร้างในส่วนของตอม่อ อาจจะกระทบกระเทือนต่อช่องการจราจรที่ต้องสูญเสียไปบ้าง แต่มเมื่อดำเนินการตอม่อแต่ละส่วนของเส้นทางเสร็จแล้ว ก็จะมีการคืนถนนให้ผู้ใช้รถทันที เพื่อมิให้การจราจรติดขัดมากขึ้น

ในขณะที่รถไฟฟ้าซึ่งมีบริษัท ซีเมนส์จากเยอรมันี ผุ้ร่วมทุนอีกรายของบริษัทอิตาเลียน-ไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ซัปพลายระบบให้นั้น ก็จะเป็นรถไฟฟ้าแบบมาตรฐานที่ใช้กันแพร่หลายในเมืองใหญ่ ทั่วไป และระบบที่นำมาใช้กับเมืองไทยในปี 2541 เมื่อโครงการเสร็จสิ้น ก็จะเป็นระบบเดียวกับที่สิงคโปร์เลือกใช้ ซึ่งถือเป็นระบบที่ดีที่สุดของโลกในยุคปัจจุบัน

ในส่วนของเส้นทางนั้น ปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนไปจากแนวเดิมบ้าง โดยสายที่ 1 ซึ่งเรียกว่า สายสุขุมวิท 77 ( อ่อนนุช) ผ่านสุขุมวิท-ถนนเพลินจิต -ถนนพระราม1-ถนนพญาไท-อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ-สนามเป้า-สะพานควาย-จตุจักร ไปสิ้นสุดบริเวณสถานีขนส่งสายเหนือ หรือหมอชิต รวมระยะทางประมาณ 16.5 กม. โดยมีสถานีทั้งหมด 18 สถานี

ส่วนสายที่ 2 หรือสายสีลมนั้นจะเริ่มจากเชิงสะพานสาทร ฝั่งกรุงเทพฯ ผ่านถนนสาทร-ถนนเลียบคลองชองนนทรี-ถนนสีลม-ถนนราชดำริ ถนนพระราม1 ไปสิ้นสุดบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ รวมระยะทางประมาณ 6.5 กม. มีสถานีร่วม 9 สถานี

จะพบว่าแนวเส้นของรถไฟฟ้าธนายงจะต้องฝ่าเข้าไปในถนนธุรกิจ ที่พลุกพล่านไปด้วยการอยู่แล้วทั้งสิ้น ซึ่งทางธนายงก็ได้มีการออกมตรการผ่อนคลายความรุนแรงของปัญหาที่เกิดขึ้นบ้าง เช่นในระหว่างการเจาะเสาและวางตอม่อในถนนพญาไท ราชดำริ หรือเพลินจิต นั้น ก็มีการเปลี่ยนเส้นทางจากรถประจำทางให้ขับอ้อมไปจากเส้นทางก่อสร้างและมีการจัดรถตู้ขนาดเล็กอำนวยความสะดวก สำหรับผู้ที่ไม่มีรถซึ่งจะเข้าไปติดต่อในถนนเส้นนั้น นอกจากนั้นก็มีมาตรการคืนถนนให้กับผู้ใช้ทันที เมื่อวางตอม่อไปได้ในแต่ละช่วง

แต่ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น เป็นการแก้ปัญหากับการเริ่มก่อสร้างขึ้นต้น ๆ ของโครงการ นี้เท่านั้น ซึ่งหากเปรียบเทียบกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับแต่ละจุดก่อสร้างที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะพบว่า

สิ่งที่กล่าวข้างต้นนั้น จะกลายเป็นเรื่องเล็ก ๆ ไปในทันที เท่าที่ " ผู้จัดการ" ประมวลแล้วพบว่า จุดวิกฤตในการก่อสร้างที่หนักที่สุดน่าจะเป็นบริเวณถนนพระรามที่ 1 จากสี่แยกปทุมวันไปถึงสี่แยกราชดำริ เนื่องจากตรงจุดนั้นเป็นจุดเชื่อมของรถไฟฟ้าสองสายที่จะมาครอบคลุมถนนทั้งเส้นนั้นให้มืดมิดไปในทันที นอกจาการก่อสร้างที่ต้งอรุกเข้าไปในส่วนของฟุตบาธอีกประมาณครึ่งเมตรแล้ว พื้นผิวการจราจรที่เคยน้อยอยู่แล้ว เช่นในถนนสุขุมวิท ซึ่งจะเหลือเพียงข้างละ 2 เส้น ในถนนนั้นก็จะเหลือเพียงข้างละ 1 เลน เท่านั้น

ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ลิ้มสุวรรณ อาตจารยืประจำคณะวิสวกรรมศาสตร์ จุฤาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความหนักใจเกี่ยวกับจุดนี้เป็นที่สุด เพราะนอกจากช่องทางถนนจะมีน้อยลงไปแล้ว ชีวิตและทรัพย์สินที่อยู่ข้างใต้การก่อสร้างรถไฟฟ้าเส้นทางนี้ จะมีสูงกว่าเส้นอื่นอย่างแน่อน เพราะถึงแม้ว่างานก่อสร้างจะเริ่มช่วงดึกแล้วก็ตาม แต่ถนนเส้นนี้ก็จะคึกคักตลอดทั้งคืน

"ถนนพระราม 1 ช่วงนี้ ถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของเมืองก็ว่าได้ ถ้าช่วงนี้รถติดหนักขึ้นเป็น 2 เท่าแล้ว ก็จะส่งผลไปยังถนนเส้นอื่น ทำให้เกิดการ Locked กันเป็นวงจรสาหัสกว่าที่เป็นมาเสียอีก"

แหล่งข่าวผู้เชียวชาญด้านระบบขนส่งมวลชนเปิดเผยว่า ทางออกสำหรับถนนช่วงปทุมวันนั้น เท่าที่ทำได้ก็คือการผันการจราจร ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า หาการจราจรติดหนักขึ้นแล้ว ทางกทม. ก็คงต้องร้องขอไปยังกองตำรวจจราจรที่จะผันรถเมล์ที่เคยวิ่งอยู่เส้นทางนั้น ให้ไปวิ่งในเส้นทางอื่นแทน และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในจุดนี้ คงจะรุนแรงกว่าจุดอื่นอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงได้มีการเตรียมจะติดตั้งพัดลมขนดยักษ์ไว้ 2 ข้าง เพื่อดูดควันพิษออกไปจากจุดนั้น แต่มาตรการนี้ ยังไม่ผ่านความเห็นชอบของกทม. และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยสิ่งแวดล้อม ( สวล.)

แหล่งข่าวจากอิตาเลียนไย หรือไอทีดี เปิดเผยว่า ทางไอทีดี ก็มีความเป็นห่วงงานก่อสร้างเส้นนี้เช่นเดียวกัน โดยงานเจาะเสาและวางตอม่อจะเริ่มได้ในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งทางไอทีดีจะพยายามเร่งรัดงานให้เสร็จเร็วทีสุด เพื่อคืนถนนกลับสู่ผู้ใช้ให้เร็วทีสุดเท่าที่จะทำได้

จุดต่อไปที่น่าห่วงใยไม่น้อยไปกว่ากันนั้น ก็คือถนนพหลโยธิน จากบริเวณอนุสาวรีย์ชัยฯ ไป ผ่านสนามเป้าไปจนถนึงสะสพานควาย โดยเริ่มจากบริเวณโดยรอบนุสาวรีย์ชัยฯ นั้น แม้ว่าในขณะนี้ได้มีมติออกมาแล้ว ให้แนวของรถไฟฟ้าพาดผ่านโดยอ้อมตัวอนุสาวรีย์ฯ ไป แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงยังคงมีอยู่นั้นก็คือ รัศมีฯ ( Radius) การเลี้ยวอ้อมของรถไฟฟ้าต่อจุดที่มีการวงเลี้ยว หรืออนุสาวรีย์ฯ นั้น ควรจะอยู่ในมาตรฐานทั่วโลก ใช้กันอยู่ในระยะ 200 เมตร จากจุดศูนย์กลาง ซึ่งหากมีน้อยกว่านั้นแล้ว ก็จะต้องมีมาตรการเสริมสร้างความปลอดภัยให้กับผู้ใช้ถนนด้วย

แต่ปรากฏว่า รัศมีในวงเลี้ยวที่อนุสาวรีย์ชัยฯ ได้มีการกำหนดไว้ต่ำว่า 200 เมตร เป็นอย่างมาก คือกำหนดอยู่ระหว่าง 130-150 เมตรเท่านั้น ซึ่ง ศ.ดร.เอกสิทธิ์ ให้ความเห็นว่ายิ่งวงเลี้ยวแคบเท่าไร การ Swing ตัวของรถไฟฟ้าเพื่อหนีจุดศูนย์กลางก็จะยิ่งมีสูงเท่านั้น ซึ่งจะทำให้โอกาสที่รถไฟฟ้าตกรางยิ่งมีสูงมากขึ้น

นอกจากวงเลี้ยวที่เป็นจุดวิกฤตที่อนุสาวรีย์ชัยฯ แล้ววงเลี้ยวที่สี่แยกราชดำริ ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่กำหนดรัศมีไว้ต่ำมากอีกเช่นกัน โดยเฉพาะสี่แยกนั้นถนนค่อนข้างแคบเป็นพิเศษ ยิ่งมุทมเลี้ยวแคบด้วยแล้ว จะส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดฝัน นอกจากวงเลี้ยวที่สี่แยกราชดำรินี้แล้ว วงเลี้ยวที่ถนนสีลมตัดเข้าถนนคลอช่องงนนทรี และตอนเลี้ยวเข้าถนนสาทรนั้น ก็เป็นอีก 2 จุดที่น่าจับตามอง ว่า จะมีการเพิ่มความกว้างของรัศมี เพื่อลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นหรือไม่ โดยเฉพาะในการเปลี่ยนเส้นทางจากสีลมเข้าคลองช่องนนทรี เข้าสาทรนั้น ก็ยังไม่ได้ผ่านการเห็นชอบจากสวล แต่อย่างใด ซึงการออกแบบวงเลี้ยวที่ได้มาตรฐานนั้น ก้หมายความว่า จะต้องมีการเพิ่มเวลาการก่อสร้างขึ้นไปอีกนั่นเอง

ถัดจากอนุสาวรีย์ชัยฯ ก็จะมาถึงช่วงวิกฤตอีกจุดหนึ่ง เมื่อต้องตัดผ่านสะพ่านควาย โดยต้องยกระดับทางให้สูงกว่าสะพานลอยที่สี่แยกซึ่งสร้างขึ้นมาก่อนหน้า และเมือต้อง slope ลงนั้นจ จะต้องพบกับขนาดของถนนที่แคบกว่าปกติ ยากแก่การเจาะเสาและลงตอม่ออย่างแน่นอน ศ.พร.เอกสิทธิ์ ให้ความเห็นว่า ในจุดนี้ถือได้ว่าเป็นจุดที่ออกแบบการก่อสร้างได้ยากที่สุด เพระาทางเท้าเล็กมาก การก่อสร้างช่วงนี้จะต้องกระทบต่อการจราจร ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อมแถบนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะช่วงนี้ ยังไม่ได้รับการเห็นชอบจากสวล.แต่ประการใด

ทางแก้สำหรับถนนเส้นนี้เท่าที่ทำได้ ก็น่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงการเจาะเสาอย่าให้ล้ำเข้าไปฟุตบาธมากไป ส่วนมาตรการอื่น ผู้เชี่ยวชาญด้านขนส่งมวลชนเปิดเผยว่า ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ขณะนี้ แม่แต่แหล่งข่าวไอทีดี ก็เปิดเผยว่ามาตรการดำเนินการเส้นดังกล่าว กำลัง

รอผลพิจารณาจากทางธนายงกับ กทม. ก่อนว่าจะมีผลออกมาเช่นไร

จุดตัดกับโครงการ " โฮบเวลล์" เป็นอีก 1 จุดที่ธนายงกำลังประสบปัญหาอยู่ และ "หมกเม็ด" เอาไว้โดยดูเหมือนไม่หวั่นว่าจะมีผลกระทบทำให้โครงการล่าช้าออกไปหรือไม่

โครงการรถไฟฟ้าและถนนยกระดับของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือโฮปเวลล์ นั้น ได้เริ่มดำเนินการมากว่า 3 ปีแล้ว ต้องประสบกับปัญหามาตลอดเช่นกัน ทั้งในเรื่องความเอาจริงเอาจังกับผู้รับสัปทานคือกอร์ดอน วู ประธานกลุ่มโฮปเวลล์ รวมถึงเรื่องจุดตัดของโฮปเวลล์ กับโครงการอื่น เช่นดอนเมืองโทลล์เวล์ รถไฟฟ้าธนายง ซึ่งรวมแล้วมีจุดตัดที่เป็นปัญหากับโครงการปรับแก้ให้ลดลงเหลือเพียง 20 จุดในเวลาต่อมา

ในส่วนที่เป็นปัญหากับโครงการรถไฟฟ้าธนายง นั้นมี 2 จุดคือที่ต้อนถนนสุขุมวิท ช่วงใต้ทางด่วนขั้นที่ 1 ซึ่งมีทางรถไฟพาดผ่าน และที่ถนนพญาไท ช่วงก่อนถึงสี่แยกพญาไท ซึ่งทางรถไฟผ่านเช่นกัน เกี่ยวกับเรื่องนี้ แหล่งข่าวผู้เชี่ยวชาญด้านระบบขนส่งมวลชนรายเดิมให้ทัศนะว่า ถ้าหากบยังหาข้อยุติไม่ได้กับจุดตัดทั้ง 2 นี้ จะทำให้โครงการรถไฟฟ้าธนายงต้องล่าช้าออกไปอย่างแน่นอน

สิ่งที่ทำได้ในขณะนี้ ของธนายงก็คือ การก่อสร้างสายทางต่าง ๆ ที่ไม่มีปัญหาไปก่อน ในส่วนที่มีปัญหาก็คงต้องทิ้งไว้จนกว่าจะหาข้อยุติได้ " หรืออาจจะยึดตามหลักของการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนที่ทำกันมา เมื่อเกิดการพาดเกี่ยวกันนั่นคือ ใครมีสิทธิ์สร้างก่อน ก็มีข้อได้เปรียบที่จะสร้างในระดับที่ต่ำกว่าไปก่อนได้ ส่วนผู้ที่มาทีหลัง ในกรณีนี้คือ โฮบเวลล์ ที่ยังมีปัญหาอยู่นั้น ก็จะเป็นต้องสร้างอยู่ในระดับสูงขึ้นไป"

อย่างไรก็ตาม ในช่วงปลายปีนี้ หากโครงการโฮปเวลล์ ยังดำเนิการไม่เป็นไปตามที่ได้วางไว้ ก็อาจจะการทบทวนโครงการรถไฟฟ้ายกระดับขึ้นอีกครั้ง ด้วยการยกเลิกโครงการและเปลี่ยนวิธีการก่อสร้างเสียใหม่ ซึ่งนั่นย่อมทำให้โครงการธนายงหมดอุปสรรคไปหนึ่งเปลาะ

แต่นั่นก็ยังเป็นความฝันที่ยังเอาแน่นอนไม่ได้

แต่สิ่งที่แน่นอน นั่นคือ จุดวิกฤตอีกจุดหนึ่ง ที่จะเกิดขึ้น เผชิญสายตาผู้ใช้บริการคือสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งมีอยู่ 26 สถานี โดยทางบีทีเอสให้ข้อมูลว่า ทางบีทีเอสให้ความสำคัญกับการออกแบบสถานีมากพอสมควร โดยมุ่งออกแบบให้มีลักษณะโปร่งเบา บนโครงสร้างแบบเสาเดี่ยว ตั้งอยู่บนเกาะกลางถนนและมีบันไดขึ้นลงบนทางเท้า โดยสถานีจะแบ่งเป็น 2 ชั้น แบ่งเป็นชั้นจำหน่ายตั๋ว

และชั้นชานชาลาสถานีแต่ละสถานีจะตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 800-1,000 เมตร

ประเด็นหลักที่เป็นห่วงเป็นใยเกี่ยวกับเรื่องสถานี คือความปลอดภัยด้านชีวิต และทรัพย์สินของผู้ใช้บริการ เนื่องจากสถานีอยู่สูงกว่าพื้นที่ประมาณ 12-14 เมตร แต่ละสถานีจะต้องมีการออกแบบป้องกันความปลอดภัยไว้เรียบร้อยแล้วในกรณีฉุกเฉิน ที่จะสามารถลำเลียงคนลงจากรถไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพทั้งนี้ยังรวมถึงความกว้างของบันไดด้วย ที่จะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล ซึ่งควรจะกว้างประมาณ 1.8-2 เมตร เป็นอย่างน้อย

แหล่งข่าวจากไอทีดี เปิดเผยว่า สำหรับโครงการนี้ได้มีการให้ความสำคัญในการพิจารณาการออกแบบสถานีเป็นพิเศษ ได้มีการใช้เทคโนโลยีการออกแบบที่เรียกว่า Design Criteria หรือการออกแบบป้องกันวิกฤตติการณ์ ที่จะต้องมีการเผื่อค่า Safety ไว้ในทุกขั้นตอนของการออกแบบ

ศ.ดร. เอกสิทธิ์ ให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่งนี้ว่า หากเกิดวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด แล้วจำเป็นต้องลำเลียงผู้ใช้บริการไม่ต่ำกว่า 2,000 ต่อ 1 ขบวน ลงมาสู่พื้นนั้น จะต้องมีมาตรการสำรองเผื่อไว้ด้วย ซึ่งอันที่จริงแล้วในขั้นต้นนั้น ทางธนายงก็มีแผนการจะสร้างทางขึ้นลงเป็นบันไดเลื่อน เพื่ออำนวยความสะดวกให้มากขึ้น แต่เมื่อต้องมาติดขัดด้านงบประมาณจากความล่าช้าด้านงานก่อสร้างและการเร่งรัดงานก้อสร้างให้เสร็จตามกำหนด จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนจากบันไดเลื่อนมาเป็นบันไดธรรมดาแทน

วิกฤตภัย ณ จุดต่าง ๆ ด้านงานก่อสร้างที่กล่าวมา พอจะสรุปได้ว่า ทางธนายงได้รู้ซึ้งถึงปัญหาในจุดเหล่านั้นดีพอสมควรแล้ว เพียงแต่ว่าในบางจุดก็ยังไม่อาจหาข้อแก้ไขได้ว่าจะใช้วิธีการ
ใด แต่สิ่งสำคัญก็คือ ทางธนายงไม่ได้มีการมาแถลงว่า ในแต่ละจุดวิกฤตดังกล่าวนั้น จะมีแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมอย่างไร

ดังนั้น จนถึงวันนี้ ปัญหาที่รุมเร้าธนายงอยู่เช่นในเรื่องของการหาเงินกู้มาสนับสนุนโครงการนั้น แม้ว่าจะมีข้อติดขัดอยู่ล้างในขณะนี้ แต่ด้วยความเป็นโครงการที่น่าสนใจและมีโอกาสสร้างกำไรได้ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะถ้าหากสามารถผลักดันโครงการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์อีกทางหนึ่งด้วย ก็ไม่น่ามีปัญหาแต่อย่างใดที่ต่างชาติจะให้การสนับสนุน

ในส่วนของการพัฒนาที่ดินทั้งหมดที่หมอชิต หรือตามสถานีต่าง ๆ แม้ว่าธนายงอาจจะคว้าชัยชนะในการประมูลที่หมอชิตไม่ได้ แต่ด้วยรายได้จากการให้เช่าตามสถานีที่พัฒนาร่วมกับภาคเอกชนรายอ่น จึงไม่น่าจะทำให้ธนายงผิดหวังเกี่ยวกับเรื่องนี้มากนัก

ดูก็คงจะมีเพียงจุดวิกฤตงานก่อสร้างดังว่านี้เอง ที่จะทำให้ธนายงใช้เวลาไปถึงเส้นชัยนานกว่าที่คาดไว้ และใครจะกล้าพูดได้เต็มปากเต็มคำอีกว่า

ปี 2541 จะได้เห็นรถไฟฟ้าขบวนแรกวิ่งเป็นวาสนาแก่คนไทยทั้งมวล?

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us