|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ผู้ถือบัตรเครดิตใช้บัตรเครดิตแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ส่งผลยอดใช้บัตรเครดิตเพิ่มกว่า 19% ผู้ประกอบการเผยซื้อเท่าเดิมแต่จ่ายแพงกว่า หวั่นใจยอดสินเชื่อคงค้างสูง แถมยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าพุ่งตาม ขณะที่บัตรใหม่เพิ่มสะท้อนทำเพิ่มหมุนเงิน-หาส่วนลด วอนรัฐหากผู้ประกอบการอยู่ไม่ได้ วิกฤติลูกโซ่ลามถึงวงการอื่น
ราคาน้ำมันเบนซินที่ทะลุ 30.10 บาทต่อลิตร และกระทรวงพาณิชย์อนุญาตให้มีการปรับราคาน้ำตาลทรายขึ้นอีก 0.50 บาทต่อกิโลกรัมหลังจากที่อนุญาตปรับเพิ่มมาก่อนหน้านี้แล้ว ยิ่งทำให้ค่าครองชีพของคนไทยสูงเพิ่มขึ้นไปอีก ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จ่อคิวปรับขึ้นอีกหลังจากคณะกรรมการนโยบายการเงินได้ปรับอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรเป็น 5% ไปเมื่อ 7 มิถุนายน 2549 ที่ผ่านมาและธนาคารกลางสหรัฐก็ได้ปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นไปอีก 0.25%
สิ่งที่สะท้อนถึงกำลังซื้อของผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีคือตัวเลขการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยตัวเลขการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของเดือนพฤษภาคม 2549 เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเลขเดือนพฤษภาคม 2548 พบว่า มีจำนวนบัตรเพิ่มขึ้น 14.49% ยอดสินเชื่อคงค้างเพิ่มขึ้น 21.13% ใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 20.89% ยอดเบิกเงินสดล่วงหน้าเพิ่มขึ้น 16.35% ทำให้การใช้จ่ายรวมผ่านบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 19.27%
เครื่องมือหมุนเงิน
ผู้บริหารบัตรเครดิตรายหนึ่งกล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของจำนวนบัตรเครดิต บ่งบอกได้ประการหนึ่งว่า ประชาชนส่วนหนึ่งต้องการทำบัตรเครดิตเพิ่มเพื่อเป็นเครื่องมือในการหมุนเงินในยามภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ โดยผู้ที่ทำบัตรใหม่อาจจะมีบัตรเดิมอยู่แล้ว แต่ทำใหม่โดยกำหนดรอบการชำระเงินไม่ให้ตรงกับกำหนดชำระของบัตรเดิม หรืออาจทำเพิ่มเพื่อต้องการส่วนลด เช่น บัตรส่วนลดน้ำมันของเทสโก้โลตัสที่ให้ส่วนลดเดิมน้ำมันถึง 3%
นอกจากนี้เมื่อพิจารณาจากยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรในรอบ 1 ปีมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าเดิมกว่า 19% นั้น เท่าที่ตรวจสอบจากฐานข้อมูลผู้ถือบัตรไม่ได้ใช้จ่ายมากไปกว่าเดิม แต่เป็นผลมาจากราคาสินค้าและบริการเพิ่มสูงขึ้น ยกตัวอย่างคนที่ใช้บัตรเครดิตเติมน้ำมัน เติมเท่าเดิมแต่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น เช่น เบนซิน 95 ราคาสูงกว่าสิ้นปี 2548 เกือบ 16% เบนซิน 91 เพิ่มขึ้นกว่า 16% และน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นเกือบ 19% ไม่นับรวมสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ปรับเพิ่มขึ้นไปแล้วไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทรายหรือน้ำอัดลม เป็นต้น
หวั่นลามทั้งระบบ
"ในแง่ของผู้ประกอบการก็ต้องประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ถือบัตรมากขึ้น หากพิจารณาแล้วเห็นว่าสามารถผ่อนชำระได้ก็อนุญาต" ผู้บริหารรายเดิมกล่าวพร้อมเพิ่มเติมว่า ในบางแห่งก็จำเป็นต้องอนุมัติให้เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ให้กับบริษัท หากมั่นใจในเรื่องกระบวนการในการติดตามหนี้สิน ซึ่งเป็นผลมาจากธนาคารแห่งประเทศไทยยังไม่อนุญาตให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ย(18%) และขอเสนอการลดการชำระขั้นต่ำจาก 10% เหลือ 5% ก็ไม่ได้รับการอนุมัติ
ดังนั้นโอกาสของการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของผู้ประกอบการย่อมสูงมากขึ้น ตรงนี้เป็นเรื่องของมุมมอง หากมองว่าเมื่อชำระขึ้นต่ำที่ 5% แล้วผู้ประกอบการจะได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ตรงนี้อาจจะจริง แต่ทางการก็ต้องมองภาพรวมทั้งระบบด้วยว่า หากลูกค้าผ่อนชำระไม่ไหวแล้วไม่มีความสามารถจ่ายได้ และถ้าผู้ให้บริการประสบปัญหาขาดทุนจนต้องปิดกิจการนั้นใครเสียหายตามมา
ต้องไม่ลืมว่าเงินที่นำมาใช้ในการปล่อยสินเชื่อก็เป็นเงินที่มาจากทั้งการกู้ยืมจากสถาบันการเงินและการออกหุ้นกู้ หากพวกเราไม่สามารถชำระหนี้กับสถาบันการเงินได้ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(NPL) ของสถาบันการเงินก็จะเพิ่มขึ้น จนอาจต้องเพิ่มทุน สิ่งเหล่านี้เราได้เห็นมาแล้วหลังจากวิกฤติการเงินปี 2540 ในส่วนของหุ้นกู้ผู้ที่ซื้อไปมีทั้งกองทุน สถาบันการเงิน องค์กรธุรกิจรวมถึงภาคประชาชน หากไม่มีรายได้ไปชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นก็อาจเกิดปัญหาได้อีกเช่นกัน
ตรงนี้อาจเป็นปัญหาที่ลามไปถึงจุดอื่น ซึ่งทางการน่าจะพิจารณาเรื่องนี้ให้รอบคอบ เพื่อป้องกันไม่ให้เหตุการณ์อย่างเช่นในอดีตย้อนกลับมาอีกหาเราอีก
NPL มาแล้ว
แต่สิ่งหนึ่งที่เราก็กังวลเช่นกัน คือตัวเลขสินเชื่อคงค้างโดยรวมที่เพิ่มขึ้นกว่า 21% นับว่าเป็นตัวเลขที่สูง แต่หากคิดเฉลี่ยต่อบัตรแล้วสินเชื่อคงค้างเพิ่มมาแค่ 5.8% เท่านั้น ตัวเลขดังกล่าวเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจที่มีปัญหาจากราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ตรงนี้ผู้ประกอบการทุกรายต่างเคร่งครัดในเรื่องการติดตามมากขึ้นกว่าเดิม
ยิ่งเกณฑ์บังคับที่ต้องชำระขั้นต่ำ 10% ทำให้ต้องเข้มงวดในเรื่องการติดตามหนี้ของลูกค้ามากขึ้น
แต่ถ้าภาวะเศรษฐกิจไม่ดีต่อเนื่องยาวนานออกไป โดยที่ไม่มีมาตรการใด ๆ ของทางการออกมากระตุ้นหรือผ่อนปรน NPL ของบัตรเครดิตก็จะมากขึ้น นี่แค่เฉพาะบัตรเครดิตเท่านั้น แต่ยังมีตัวเลขของสินเชื่อบุคคลที่น่าจะมีโอกาสเป็นหนี้เสียมากกว่าบัตรเครดิตอีกหลายเท่าตัว เพราะฐานลูกค้ามีเกณฑ์รายได้ราว 6-7 พันบาทต่อเดือน แถมต้องแบกภาระดอกเบี้ยที่ 28% ต่อปี
เช่นเดียวกับตัวเลขการเบิกเงินสดล่วงหน้าที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นเครื่องบ่งบอกถึงความจำเป็นของผู้ถือบัตรที่ต้องใช้เงินเร่งด่วน ส่วนจะไปใช้อะไรหรือนำไปแก้ปัญหาทางด้านการเงินหรือไม่ คงตอบยาก แต่ส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ถือบัตรเครดิตหากไม่จำเป็นจริง ๆ จะพยายามไม่กดเงินสดล่วงหน้า เนื่องจากต้องเสียค่าธรรมเนียมค่อนข้างสูงและดอกเบี้ยจะเดินทันที แสดงว่าจะต้องมีความจำเป็นจริง
ตัวเลขของบัตรเครดิตบ่งบอกถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับสภาพเศรษฐกิจของไทยได้ระดับหนึ่ง แต่ยังมีข้อมูลอีกหลายส่วนที่สะท้อนถึงความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย รวมถึงความสามารถในการชำระหนี้ของประชาชนได้เป็นอย่างดี แต่ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะอย่างเป็นทางการ เช่น สินเชื่อบุคคล ที่ยังไม่มีการรวบรวมหรือเผยแพร่อย่างเป็นทางการ หรือตัวเลขการใช้บริการสินเชื่อที่ไม่ได้รับอนุญาตที่มีเป็นจำนวนมาก หากสามารถรวบรวมได้น่าจะช่วยทางการในการหาทางแก้ไขหรือช่วยเหลือทั้งประชาชนที่ใช้บริการได้เป็นอย่างดี
|
|
 |
|
|