Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายสัปดาห์17 กรกฎาคม 2549
ภารกิจร้อน"ตลาดตราสารหนี้(BEX)" เปิดช่องแบงก์ทำซีเคียวรีไทซ์ระดมทุน             
 


   
search resources

Investment
สันติ กีระนันทน์




ตลาดตราสารหนี้(BEX)ผ่านครึ่งปีแรก ยังไปได้สวย มีตราสารหนี้จดทะเบียน 2.57 ล้านล้าน ก่อนจะเร่งผลักดันให้มูลค่าตราสารหนี้คงค้างทั้งระบบปีนี้พุ่งทะยานแตะ 3.3 ล้านล้านบาท ประเมินปี 2550 หลังผ่านพ้นมรสุม สารพัดปัญหา ภาคเอกชนจะใช้ตลาดตราสารหนี้เป็นช่องทางระดมทุน วางเป้าอีก4 ปีเพิ่มยอดคงค้างตราสารหนี้เป็น 80% ของจีดีพี หนุนแบงก์ทำซีเคียวรีไทซ์จากธุรกิจเช่าซื้อและสินเชื่อที่อยู่อาศัยระดมทุน

การซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดแรกเป็นปัจจัยที่ชี้ให้เห็นว่าจะเกิดการลงทุนตามมา ในขณะที่แนวโน้มของตลาดตราสารหนี้ในตลาดรองที่มีการเติบโตย่อมเป็นสัญญาณที่แสดงถึง จำนวน มูลค่าและอัตราการซื้อขายหมุนเวียนเปลี่ยนมือ ซึ่งจะไปช่วยเป็นส่วนหนึ่งของกลไกส่งผลต่อเนื่องถึงสภาพสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ

สันติ กีระนันทน์ ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ BEX เปิดเผยว่า มูลค่าคงค้างตราสารหนี้ทั้งระบบปีนี้อยู่ที่ 3.3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 3.1 ล้านล้านบาท ในสิ้นปี 2548

โดยตราสารหนี้ที่เข้ามาจดทะเบียนใน BEX คิดเป็นร้อยละ 79.33 ของจำนวนตราสารหนี้ทั้งหมดภายในประเทศ ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากตราสารหนี้ภาครัฐ โดยขณะนี้ภาคเอกชนมีการออกตราสารหนี้ใหม่น้อยมาก เพราะได้รับแรงกดดันจากดอกเบี้ยผันผวน และปัญหาทางการเมืองที่มีความไม่แน่นอน

ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 มีตราสารหนี้เข้าจดทะเบียน รวมทั้งสิ้น 2.57 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นตราสารหนี้ภาครัฐ 2.51 ล้านล้านบาท และตราสารหนี้ภาคเอกชน 6.46 หมื่นล้านบาท

"คาดว่าดอกเบี้ยจะเริ่มมีเสถียรภาพช่วงปลายไตรมาส 3 ถึงต้นไตรมาส 4 ถ้าปัจจัยทางการเมืองมีความชัดเจนขึ้นได้ จะทำให้ภาคเอกชนกลับมาใช้ตลาดตราสารหนี้นี้เป็นช่องทางระดมทุนผ่านอีกครั้งในต้นปีหน้า เห็นได้จากขณะนี้ภาคเอกชนใกล้จะมีกำลังการผลิตเริ่มเต็มแล้ว จึงตาดว่าเป็นไปได้สูงที่มีความต้องการเม็ดเงินในการขยายการลงทุนเพิ่มขึ้น"

BEX ได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มมูลค่าคงค้างตราสารหนี้ทั้งระบบเป็น 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ภายในปี 2553 จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 42% ของจีดีพี โดยจะใช้การจะผลักดันให้ภาคเอกชนระดมทุนผ่านตราสารหนี้มากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมให้มีการออกตราสารหนี้ ด้วยกระบวนการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์(ซีเคียวริไทเซชั่น)

โดยคาดว่า ช่วงเริ่มแรกกลุ่มธุรกิจที่จะหันมาทำการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ กันมาก คือ กลุ่มธุรกิจการเงิน โดยเฉพาะจากฐานลูกค้าเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อที่อยู่อาศัย

ส่วนระบบการซื้อขายตราสารหนี้อิเล็กทรอนิกส์ หรือระบบเฟิร์สท์ ที่ได้เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2549 ที่ผ่านมา ทำให้มูลค่าการซื้อขายเพิ่มสูงขึ้นตามลำดับ เนื่องจากระบบดังกล่าวได้อำนวยความสะดวก และรวดเร็วแก่ผู้ทำธุรกรรม โดยมูลค่าการซื้อขายรวมในครึ่งปีแรก สูงขึ้นเป็น 16,302.09 ล้านบาทซึ่งปัจจุบันมีผู้ค้าตราสารหนี้ทำธุรกรรมผ่าน ระบบเฟิร์สท์ แล้วจำนวน 21 ราย

ปัจจุบันผู้ค้าตราสารหนี้ที่ทำธุรกรรมผ่านระบบเฟิร์สท์ แยกได้เป็น ธนาคารพาณิชย์ 13 ราย บริษัทหลักทรัพย์ 8 ราย และนักลงทุนสถาบันมี 16 ราย ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม 13 ราย บริษัทประกัน 2 ราย และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

อย่างไรก็ตามมูลค่าคงค้างรวมของตราสารหนี้ใน BEX ณ สิ้นเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นอย่างมากซึ่งเป็นผลมาจากการเข้าจดทะเบียนของตราสารหนี้ภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี รวมมูลค่าคงค้างทั้งสิ้นเป็น 2.86 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ถึง 271.41% ทั้งนี้ตราสารหนี้ที่เข้ามาจดทะเบียนใน BEX คิดเป็น 79.33% ของจำนวนตราสารหนี้ทั้งหมดภายในประเทศ

นอกจากนั้น BEX ยังมีแนวทางจัดตั้งกองทุน RMF เพื่อสร้างและขยายให้เกิดการลงทุนในตลาดนี้ ซึ่งเน้นลงทุนใน INDEX BONDS ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นระหว่างการศึกษา ร่วมกับ บลจ.กสิกรไทย ในการตั้งกองทุนดังกล่าว

คาดว่าจะมีบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม (บลจ.) ร่วมในการจัดตั้งกองทุนประมาณ 5 ราย โดยมีขนาดกองทุนประมาณกองละ 10 ล้านบาท ซึ่งการเข้าลงทุนใน RMF จะได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับ RMF ปกติ และค่าบริหารกองทุนยังต่ำกว่าการบริหารปกติ 20-40% โดยคาดว่าน่าจะเห็นความชัดเจนแนวทางดังกล่าวภายในปีนี้

โดยกฎของธรรมชาติ น้ำจะไหลจากที่สูงสู่ที่ต่ำ ขณะที่เงินจะไหลจากที่ผลตอบแทนต่ำไปหาที่ซึ่งผลตอบแทนสูงกว่า ฉะนั้นภาวะที่เศรษฐกิจฝืดเคืองอยู่ในช่วงขาลง มองเข้าไปในตลาดตราสารทุนก็เริ่มเห็นได้ถึงแนวโน้มของความมืดครึ้มที่ตั้งเค้า จึงย่อมเป็นสัญญาณอันดีของตลาดตราสารหนี้ที่จะเข้ามามีบทบาทได้มากขึ้น   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us