|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
*เปิดวงจรอุบาทก์ภาครัฐเดินหน้าแก้ปัญหาซากอาคารร้างทั่วกรุงฯ-ปริมณฑล 281 แห่ง ก่อนขยายทั่วประเทศ
*แผนปมชุบชีวิตซากอาคาร้างทั่วประเทศ มีการวางแผนอย่างแฉบฉล สั่งแบงก์ปล่อยกู้กลุ่มธุรกิจการเมือง และดอดเลือกตึกเกรด เอ หวังสร้างต่อแล้วขายทำกำไร
*จับตากลุ่มทุนทางการเมือง เข้าเทค โอเวอร์ซากอาคารร้างล็อตแรก
พลันที่รัฐบาลมีประกาศิตให้กระทรวงการคลังเป็นเจ้าภาพแก้ไขปัญหาซากอาคารร้าง หรืออาคารที่ก่อสร้างไม่เสร็จทั่วประเทศ โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ที่มีจำนวนมากถึง 281 แห่ง มีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ต้องยอมรับว่า ช่วงนี้ภาวะเศรษฐกิจมีความผันผวน และน่าจะตกต่ำลงมากกว่านี้ ถึงกับทำให้มีการคาดการณ์ว่า GDP ในปีนี้ จะมีอัตราเติบโตแค่ 4-4.5% เท่านั้น และยังมีการประมาณการณ์ว่าในปี 2550 GDP จะเติบโตลดลงเหลือแค่ 3.5-4.5%
ตัวเลขการเติบโตที่คาดการณ์กันนั้น น่าจะเป็นการส่งสัญญาณให้รัฐบาลรู้ว่า หากไม่รีบหาแนวทางแก้ไข และปล่อยให้ภาวะเศรษฐกิจเดินไปเอง โดยไม่ใช้แรงขับเคลื่อน จะเป็นผลลบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม และรัฐบาลมาก
ชุบชีวิตซากตึกเครื่องมือฟื้นศก.
ดังนั้น รัฐบาลจึงเลือกที่จะใช้วิธีการชุบชีวิตซากอาคารร้างที่เห็นกลาดเกลื่อนอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร เพราะการเลือกฟื้นซากอาคาร นอกจากจะช่วยเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจโดยรวมอีกด้วย
ในช่วงเกิดวิกฤตในราวปี 2538-2539 ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ก้าวลงสู่จุดตกต่ำสุดขีดหรือที่เรียกกันว่า “ภาวะฟองสบู่” หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ธุรกิจก้าวสู่ยุคเฟื่องฟู มีการโหมลงทุนอย่างมหาศาล ทั้งโครงการแนวราบและแนวสูง ประเภทบ้านจัดสรร อาคารสูง โดยไม่สนใจว่ากำลังซื้อมีมากแค่ไหน จนทำให้เกิดปัญหาโอเวอร์ ซัปพลายในที่สุด
ประกอบกับ ในช่วงนั้น เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ดอกเบี้ยสูง สถาบันการเงินหยุดปล่อยกู้ ทำให้โครงการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการ ขาดเม็ดเงินที่จะมาสานต่อให้แล้วเสร็จ รวมถึงผู้ซื้อไม่มีเงินผ่อนต่อเพราะรายได้ลดลง หรือบางรายตกงาน จึงทิ้งดาวน์ ทำให้ผู้ประกอบการยิ่งขาดเงินมาพัฒนาโครงการต่อ จนทำให้เกิดซากตึกร้างจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล
โดยในปี 2544 มีอาคารร้างอยู่ทั้งหมด 508 แห่ง และในช่วง 2-3 ปีก่อน ซากอาคารดังกล่าวถูกนำมาปัดฝุ่นพัฒนาต่อแล้วเสร็จจนใช้งานได้แล้ว 227 แห่ง ทำให้ในขณะนี้ ยังเห็นซากอาคารอยู่อีก 281 แห่ง คิดเป็นพื้นที่ใช้สอยรวม 6.2 ล้านตารางเมตร ซึ่งในจำนวนดังกล่าว กำลังจะได้รับการแก้ไขและกลับมาใช้งานได้เช่นเดียวกับอาคาร ทั่วๆไป
แหล่งข่าวในวงการอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า “นโยบายการแก้ปัญหาซากอาคารร้างของรัฐบาลเป็นสิ่งที่ดี จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม สถาบันการเงิน และผู้ประกอบการ แต่การแก้ปัญหาดังกล่าวไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เพราะอาคารแต่ละแห่งมีปัญหาต่างกัน บางอาคารติดปัญหาเรื่องโครงสร้าง น้ำท่วมขัง เหล็กเป็นสนิมได้รับความเสียหาย บางอาคารมีปัญหาที่มีเจ้าหนี้หลายราย ทำให้การเจรจาต่อรองค่อนข้างล่าช้า ขณะที่บางอาคารเจ้าของต้องการขายในราคาสูงแต่ในสภาพความเป็นจริงผู้ซื้อต้องการซื้อในราคาถูก ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคในการชุบชีวิตอาคารร้างเหล่านั้น”
รัฐบาลจึงมีเป้าหมายชุบชีวิตซากอาคารดังกล่าว ซึ่งจะต้องมีการแก้กฎหมาย หรือผ่อนปรนกฎเกณฑ์บางข้อ เพื่อให้สามารถนำอาคารเหล่านั้น มาพัฒนาต่อให้แล้วเสร็จ โดยปัญหาสำคัญน่าจะเป็นเรื่องใบอนุญาตหมดอายุที่คาดว่าในจำนวนดังกล่าว ใบอนุญาตหมดอายุราว 70% อีกทั้งเมื่อกลางเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา กทม.ยังบังคับใช้ผังเมืองฉบับใหม่ด้วย ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นซากอาคารมาก จึงเชื่อว่ารัฐบาลน่าจะผ่อนปรนหรือแก้กฎหมาย เพื่อให้นำอาคารร้างมาก่อสร้างต่อได้
คลังเจ้าภาพพชุบชีวิต
โดยสั่งการให้กระทรวงการคลังเป็นแกนนำในการดำเนินการชุบชีวิตซากอาคารทั่วประเทศ และร่วมมือกับหน่วยงานราชการหลายแห่ง อาทิ สมาคมธนาคารไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) รวมถึงขอความร่วมมือสถาบันการเงินปล่อยกู้เพื่อสานต่อโครงการให้แล้วเสร็จ ซึ่งกระทรวงการคลังจะใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ สรุปแนวทางการแก้ปัญหา
สิ่งที่น่าคิดคือ“อยู่ดีๆ รัฐบาลก็ลุกขึ้นมาให้ช่วยแก้ปัญหาซากอาคารร้าง โดยไม่มีการส่งสัญญาณล่วงหน้า ทำให้คิดว่า การแก้ปัญหาครั้งนี้ น่าจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้องมากกว่า ที่สำคัญคาดว่าจะมีการไปเลือกอาคารที่สนใจไว้เรียบร้อยแล้ว รวมถึงเตรียมเจรจากับสถาบันการเงินเพื่อปล่อยกู้มาพัฒนาโครงการต่อให้แล้วเสร็จ เพราะการแก้ปัญหานี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่กลับให้หน่วยงานต่าง ๆ ไปสรุปข้อมูลมาภายใน 2-3 สัปดาห์”แหล่งข่าวตั้งข้อสังเกต
แหล่งข่าว กล่าวว่า จะเห็นว่าที่ผ่านมา การสั่งการของภาครัฐส่วนมากจะมีอะไรแอบแฝงอยู่เสมอ ที่สำคัญจะเอื้อประโยชน์แก่นักการเมือง เครือญาติ และพวกพ้องเสมอ อาทิ การปั่นราคาที่ดินรอบสนามบินสุวรรณภูมิ ,การสร้างข่าวโครงการเมืองใหม่นครนายก รวมถึงโครงการริเวียร่า ที่มีการไปกว้านซื้อที่ดินไว้ล่วงหน้า หลังจากนั้นก็ประกาศนโยบายที่จะทำโครงการริเวียร่า
ชี้กลุ่มทุนการเมืองได้ประโยชน์
กรณีการชุบชีวิตซากอาคารร้างในขณะนี้ก็เช่นเดียวกัน เชื่อว่าคนที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด น่าจะเป็นกลุ่มทุนทางการเมือง ที่มีการไปเล็งไว้แล้วว่าจะซื้ออาคารไหน และน่าจะมีการเจรจากับสถาบันการเงินปล่อยกู้ เพื่อปรับปรุงให้แล้วเสร็จพร้อมใช้งานแล้ว
ส่วนเอกชนรายอื่นอาจจะเลือกซื้อไม่ทัน เพราะยังไม่ได้ดูไว้ล่วงหน้า กว่าที่จะศึกษาและเจรจากับเจ้าของ หรือเจ้าหนี้ ต้องใช้เวลานานพอสมควร ซึ่งอาจจะไม่ทันกลุ่มทุนการเมืองที่จะเลือกซื้ออาคารที่ดี เกรด เอ หรือ บี ตั้งในทำเลใจกลางเมือง(CBD) หรือไม่ไกลCBD มากนัก
“ในจำนวน 281 แห่ง น่าจะเป็นอาคารเกรด เอหรือ บี ประมาณ30% และเชื่อว่าอาคารเหล่านั้น จะถูกจับจองไว้เกือบหมด จากกลุ่มทุนทางการเมือง และผู้ใกล้ชิดนักการเมือง ส่วนที่เหลือ 70% เป็นอาคารที่ต้องลงทุนอีกมาก ทั้งในแง่ของตัวเงินและใช้เวลาในการพัฒนาต่อให้เสร็จ จึงเชื่อว่า อาคารเหล่านั้น จะไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากนัก”
|
|
|
|
|