|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ทีโอทีเตรียมแผนรับมือการประกาศใช้ไอซีซึ่งส่งผลกระทบกับรายได้กว่าหมื่นล้านบาท ด้วยการแตกไลเซ่นต์ โอนบริการทั้งหมดไปสู่บริษัทลูกในรูปแบบเซอร์วิสโพรวายเดอร์ เพื่อลดต้นทุนค่าธรรมเนียมลง ส่วนทีโอทีจะกลายเป็นเน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์เต็มรูปแบบ
พล.อ.ท.สมชาย เธียรอนันท์ รองประธานบอร์ดบริษัท ทีโอที กล่าวว่าทีโอทีมีแนวทางในการรับมือกับการประกาศใช้ค่าเชื่อมโครงข่ายหรืออินเตอร์คอนเน็กชั่นชาร์จ (ไอซี) เนื่องจากจะกระทบรายได้ที่ทีโอทีได้รับจากค่าแอ็คเซ็สชาร์จที่ทำสัญญากับเอกชนกว่าปีละ 1 หมื่นล้านบาท โดยฝ่ายบริหารทีโอทีได้ปรึกษาบอร์ดในการตั้งบริษัทลูกขึ้นมาเพื่อขอใบอนุญาตประเภทที่ 1 เพื่อทำหน้าที่เป็นเซอร์วิส โพรวายเดอร์ ในขณะที่ทีโอทีจะทำหน้าที่เน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์
ทีโอทีจะโอนบริการเข้าไปอยู่ภายใต้บริษัทลูก เพื่อประโยชน์ในการทำให้ต้นทุนต่ำลง เนื่องจากใบอนุญาตประเภทที่ 1 จะเสียแค่ค่าธรรมเนียมและค่าเลขหมาย โดยไม่ต้องเสียค่าบริการ USO จำนวน 4% ของรายได้ในขณะที่ใบอนุญาตประเภทที่ 3 ที่มีโครงข่ายเป็นของตัวเองซึ่งทีโอทีได้รับจาก กทช.จะมีต้นทุนสูงกว่า
“โดยส่วนตัวผมเห็นด้วยกับหลักการนี้ เพราะจะทำให้ทีโอทีสามารถแข่งขันได้คล่องตัวขึ้น โดยที่ฝ่ายบริหารเตรียมเสนอบอร์ดในเร็วๆนี้ แต่ทีโอทีจะใช้ก็ต่อเมื่อได้รับแรงกดดันจากเรื่องไอซี”
นายกิติพงศ์ เตมีย์ประดิษฐ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่าประเด็นเกี่ยวกับไอซีมีเรื่องที่ควรพิจารณา 2 ประเด็นคือ 1.กทช.ไม่ควรกดค่าไอซีให้ต่ำจนเกินจริง เพราะในอนาคตจะไม่มีใครอยากลงทุนเป็นเน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์ แต่มุ่งที่จะเป็นโอเปอเรเตอร์ที่ไม่ต้องมีโครงข่ายเป็นของตัวเอง กทช.ควรกำหนดไอซีเพื่อให้เน็ตเวิร์ก โพรวายเดอร์อยู่ได้ แต่หากกทช.กำหนดไอซีต่ำเกินไป ทีโอทีก็ แตกบริษัทลูกเป็นเซอร์วิสโพรวายเดอร์ เพื่อมาเช่าโครงข่ายของทีโอทีซึ่งเป็นบริษัทแม่
2.ท่าทีของโอเปอเรเตอร์เอกชนภายใต้สัมปทานบริษัท กสท โทรคมนาคม ต้องการหยุดจ่ายค่าแอ็คเซ็สชาร์จ เมื่อมีการประกาศใช้ไอซี ซึ่งจะกระทบกับรายได้ของทีโอที ทำให้ทีโอทีมีแผนที่จะแตกไลเซ่นต์เพื่อลดภาระลง เนื่องจากทีโอทีมีบริการสาธารณะที่ต้องลงทุนจำนวนมาก ดังนั้นการที่จะเปิดเสรี ก็ควรสร้างกลไกที่เป็นธรรมกับทีโอทีด้วย ไม่ใช่มากดดันฝ่ายเดียว
พล.อ.ท.สมชายกล่าวว่าทีโอที ยังมีแผนในการลดภาระองค์กรในภาพรวมอีก 2 ด้านคือการสมัครใจออกหรือ early retired และการตั้งบริษัทย่อยเพื่อให้บริการเอาท์ซอร์สซิ่ง เพื่อสร้างรายได้เพิ่มและรองรับบุคลากรที่มีคุณภาพจากการสมัครใจออก โดยการสมัครใจออกประเมินจากการทำ benchmarked เทียบในอุตสาหกรรม พบว่าควรลดขนาดองค์กรลงจากปัจจุบันกว่า 20,000 คน เหลือ 13,000 คนภายใน 3 ปี ทีโอทีจึงมีนโยบายที่จะทำโครงการ early retired ตั้งแต่ปี 2007-2009 และจะไม่ทำอีก โดยทีโอทีจะให้ผลตอบแทนเต็มที่ในปีแรกและลดผลประโยชน์ลงตามลำดับในปีที่2และ3 ซึ่งคาดว่าจะใช้เงินประมาณ 8 พันล้านบาทหรือเฉลี่ยคนละ 3 ล้านบาทสำหรับในปีแรก
ทั้งนี้การทำ early retired อาจมีข้อเสียคือคนเก่งอาจออกไปด้วย ทีโอทีจึงทำแผนรองรับไว้คือ เตรียมจะตั้งบริษัทย่อยต่างๆ ตามสายงานออกมา เพื่อดึงคนเหล่านี้มาอยู่ ซึ่งฝ่ายบริหารกำลังศึกษาเตรียมเสนอเข้าบอร์ดเช่นกัน อย่างบริษัทด้านคอลเซ็นเตอร์ ,ไอเอสพี,ทรานสปอตเตชั่น,ระบบบิลลิ่ง
|
|
|
|
|