Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน11 กรกฎาคม 2549
โฆษณาเวิลด์คัพ 2006ผู้บริโภคจำแบรนด์...แม้มีผลต่อการตัดสินใจซื้อต่ำ             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Advertising and Public Relations




มหกรรมฟุตบอลโลก 2006 ปิดฉากลงแล้วในวันที่ 9 กรกฎาคม 2549 ที่ผ่านมา ซึ่งแฟนบอลลูกหนังคนไทยก็ได้สัมผัสถึงความสนุกสนานอย่างเต็มที่ตลอดช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาหลังจากต้องรอคอยมานานถึง 4 ปีเต็ม และคงจะได้เห็นลีลาที่หลากหลายของบรรดาแข้งทองระดับโลกจากหลายทวีป รวมถึงสีสันตระการตาจากเหล่ากองเชียร์ที่แม้ว่าจะมีความแตกต่างกันในส่วนของภาษา วัฒนธรรม และรูปแบบการเชียร์ แต่ก็สามารถสร้างความบันเทิงไม่น้อยให้แก่แฟนบอลที่ได้รับชมการถ่ายทอดทางโทรทัศน์

จากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยเกี่ยวกับพฤติกรรมการติดตามชม/ชิงโชคของคนกรุงเทพฯในช่วงฟุตบอลโลก 2006 ในระหว่างวันที่ 6-20 มิถุนายน 2549 จากจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 820 รายในกลุ่มอายุระหว่าง 15-65 ปี พบว่ากระแสติดตามชมเกมการแข่งขันฟุตบอลโลกในปีนี้ยังคงได้รับความสนใจจากคนกรุงเทพฯค่อนข้างมาก อีกทั้งกลุ่มแฟนบอลลูกหนังก็ยังกระจายตัวในวงกว้างมากขึ้นด้วยจากกลุ่มผู้ชายไปสู่กลุ่มแฟนบอลที่เป็นผู้หญิง

ขณะเดียวกันแฟนบอลรุ่นเยาว์ที่มีอายุ 15-19 ปีก็ให้ความสนใจเป็นจำนวนมากเช่นกัน ซึ่งก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่าวัยรุ่นไทยจะหันมาสนใจเล่นกีฬาฟุตบอล และขยายตัวไปสู่กีฬาอื่นกันมากขึ้นตามไปด้วย และแม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่เห็นว่าภาพยนตร์โฆษณาตลอดช่วงกระแสฟุตบอลโลก 2006 นับตั้งแต่ต้นปี 2549 ไม่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าในช่วงฟุตบอลโลก 2006

แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่ากลุ่มคนกรุงเทพฯจดจำภาพยนตร์โฆษณาที่อิงกระแสฟุตบอลโลกและแพร่ภาพทางโทรทัศน์ในช่วงมหกรรมฟุตบอลโลก 2006 ได้มากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาระหว่างการถ่ายทอดสดเกมการแข่งขันในแต่ละนัด ที่แม้ว่าจะฉายได้เฉพาะในช่วงก่อนเริ่มการแข่งขัน ระหว่างพักครึ่งเวลา และหลังจบการแข่งขันเท่านั้น หรือภาพยนตร์โฆษณาอิงกระแสฟุตบอลโลกที่เผยแพร่ในช่วงเวลาอื่นที่ไม่ใช่ช่วงเวลาการถ่ายทอดสดเกมการแข่งขัน ก็น่าจะเป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกได้ถึงการรับรู้ในแบรนด์ของสินค้าหรือบริการนั้นๆในระดับหนึ่ง

หากเจ้าของกิจการมีการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวกับกีฬาฟุตบอลหลังจากการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 สิ้นสุดลงแล้ว ก็อาจจะก่อให้เกิดการสร้างและกระชับความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างตราสินค้ากับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายทั้งเก่าและใหม่ ผู้จัดจำหน่าย และสาธารณชน มากขึ้นตามมาได้ และน่าจะนำไปสู่ความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาว รวมถึงการกระตุ้นยอดขายของกิจการในที่สุด

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าแม้ในช่วงครึ่งแรกของปี 2549 เม็ดเงินโฆษณาในเมืองไทยจะเติบโตประมาณ 4.5-5.0% ซึ่งนับเป็นอัตราการเติบโตที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตของเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อในช่วง 6 เดือนแรกปี 2548 ที่เติบโต 2.44% แต่มีความเป็นไปได้ว่ามหกรรมฟุตบอลโลก 2006 ครั้งนี้อาจจะไม่ก่อให้เกิดเม็ดเงินโฆษณาสะพัดรุนแรงเท่าฟุตบอลโลก 2002 หรือฟุตบอลยูโร 2004 (ในปี 2545 เม็ดเงินโฆษณาโดยรวมเติบโต 15.51% ขณะที่ในปี 2547 เติบโต 16.96% )

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าเม็ดเงินโฆษณาโดยรวมในปี 2549 จะมีอัตราการเติบโตในระดับ 5-10% ทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากปัจจัยลบต่าง ๆนับตั้งแต่ต้นปี 2549 ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้จ่ายทั้งของภาคประชาชน ภาคเอกชนและภาครัฐ ทำให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการหลายรายจึงต่างต้องวางแผนในการใช้จ่ายงบโฆษณาอย่างรอบคอบและระมัดระวังมากยิ่งขึ้น เพื่อให้เกิดการคุ้มค่ามากที่สุดต่อการลงทุน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us