15 กรกฎาคม 2538 สถานีบริการน้ำมันของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือปตท.
จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษมีสารตะกั่วในเขตกรุงเทพมหานคร จากนั้นหนึ่งเดือนสถานีบริการน้ำมันของปตท.ทั่วประเทศจะสามารถยกเลิกการจำหน่ายเบนซินพิเศษมีสารตะกั่วได้ทั้งหมด
ถือเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญอีกครั้งสำหรับการกระตุ้นให้เกิดการใช้น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว
เพื่อที่มลพิษทางอากาศจะได้เบาบางลงไปบ้าง และครั้งนี้เป็นเริ่มต้นกระตุ้นด้วยการบังคับที่เร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิม
ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากที่ผ่านมา การประชาสัมพันธ์ของภาครัฐและเอกชนผู้เกี่ยวข้องแม้จะทุ่มเทในระดับที่มากพอ
แต่ก็ไม่สามารถปลุกจิตสำนึกของผู้ใช้รถยนต์ส่วนใหญ่ให้ร่วมรับผิดชอบสังคมได้
จากเดือนพฤษภาคม 2534 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เมืองไทยเริ่มต้นการใช้น้ำมันไร้สารตะกั่ว
จนถึงปัจจุบัน ปริมาณการจำหน่ายหรือการใช้น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว
มีอัตราเติบโตที่เข้าข่ายล้มเหลวทีเดียว
เป้าหมายเดิมที่วางไว้ว่านับจากปี 2539 น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่วจะเข้ามาแทนน้ำมันเบนซินมีสารตะกั่วได้ทั้ง100%
นั่นหมายความว่า จะไม่มีการจำหน่ายน้ำมันเบนซินมีสารตะกั่วหลงเหลืออยู่ในตลาดเมืองไทย
แต่จากทิศทางตลอด 4 ปี ที่ผ่านมา อัตราเติบโตของปริมาณการใช้น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่วมีน้อยมาก
และน่าที่จะทำให้ไม่สามารถบรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้ค่อนข้างแน่ ถ้ายังปล่อยให้การใช้มีอัตราเติบโตไปตามธรรมชาติ
กล่าวคือในปี 2534 ซึ่งเป็นปีแรกของการเริ่มใช้ปรากฏว่ามีเพียง 18.95% เท่านั้นที่ใช้น้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว
ปีต่อ ๆ มา เพิ่มเป็น23.23% และ 43.19% ในปี 2537
สิ่งที่เกิดขึ้น สร้างความหนักใจอย่างมากแก่หน่วยงานของรัฐ อย่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
หรือ สพช. ที่มีดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทร์ เลขาธิการกำกับดูแลอยู่ ได้เคยมีการวิเคราะห์ให้เห็นถึงปัญหาอย่างถ่องแท้ว่าเป็นเพราะอะไร
โดยว่าจ้างบริษัทเอกชนทำการสำรวจความเห็นผู้เกี่ยวข้อง 4 ฝ่าย คือผู้บริโภค
เจ้าของ สถานีบริการน้ำมัน พนักงานบริการในสถานีบริการน้ำมัน และผู้ค้ารถยนต์
ซึ่งผลสำรวจพบว่าอุปสรรคใหญ่อยู่ที่ทัศนคติและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของผู้บริโภคเอง
จึงทำให้สินค้าทีทุกอย่างุ้มค่ากว่า ขายไม่ได้ตามเป้าหมาย
ดร.ปิยสวัสดิ์ ให้ความเห็นว่า ที่ยังไม่สวามารถปลุกจิตสำนึกของผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้นั้น
คงเป้นเพราะในช่วงแรกของการใช้น้ำมีนไร้สารตะกั่วนั้น มีปัญหาค่อนข้างมากในรถยนต์หลายรุ่น
เป็นปัญหาที่เกิดจากคุณภาพของน้ำมันไร้สารตะกั่วโดยเฉพาะ เนื่องจากขณะนั้นยังไม่มีการกำหนดเกณฑ์น้ำมันไร้สารตะกั่วอย่างรัดกุมเพียงพอ
ทำให้ทำให้มีส่วนประกอบของส่วนที่หนักมากเกินไป
แต่ปัจจุบันไร้สารกับมีสารไม่แตกต่างกันในเรื่องผลกระทบต่อเครื่องยนต์
และเป็นเช่นนี้มาหลายปีแล้ว มีการกระตุ้นให้การใช้มีมากขึ้นตามเป้าหมายก็ยังเป็นเรื่องลำบาก
การตัดสินใจประกาศจุดเริ่มเชิงบังคับ โดยการให้สถานีบริการน้ำมันของปตท.
ซึ่งถือเป็นหน่วยงานของภาครัฐเป็นหัวหอก จึงน่าจะเป็นหนทางที่จำเป็นแล้ว
สำหรับสถานการณ์เช่นนี้ สถานการณ์ที่ให้ความรู้กันอย่างไร ก็ไม่เป็นผลอีกต่อไปแล้ว
ทั้งนี้ในด้านของผู้ค้าน้ำมันเอง โดยส่วนใหญ่ก็ประกาศว่าพร้อมที่จะสนองนโยบายดังกล่าวของรัฐได้ทันที
ตามที่ปตท.ดำเนินการ ซึ่งถ้าเป็นไปได้เช่นนั้น เป้าหมายของรัฐที่วางไว้ว่า
1 มกราคม 2539 จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษมีสารตะกั่ว ก็จะเป็นจริงได้
การให้ปตท.เป็นหัวหอก ยกเลิกการจำหน่ายเบนซินพิเศษมีสารตะกั่วครั้งนี้
ดูเหมือนจะเป็นกลยุทธ์ท่เหนือชั้นมากของ สพช.เพราะเป็นนโยบายที่นอกจากบังคับให้ผู้ใช้ได้ใช้น้ำมันไร้สารตะกั่วตามเป้าหมายแล้ว
ยังเป็นการตีกันไม่ให้ผู้ค้าหาทางบ่ายเบี่ยงเมื่อถึงเวลาที่จะต้องเลิกจำหน่ายน้ำมันมีสารตะกั่วอีกด้วย.