ในช่วง 10 ปีมานี้ ล็อกซเล่ย์เทรดดิ้งเฟิร์มเก่าแก่ของไทย ได้พลิกบทบาททางธุรกิจออกไปอย่างมากมาย
การเป็นเพียง "นายหน้า" ค้าขายสินค้าที่มีตั้งแต่ไม้ขีดไฟยันเรือรบ
เช่นในอดีตเมื่อ 56 ปีที่แล้วไม่สามารถทำได้อีกต่อไป
ล็อกซเล่ย์ จำเป้นต้องแสวงหาธุรกิจใหม่ ๆ เพื่อให้ทันต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ
จะเห็นได้ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมาล็อกซเล่ย์ได้ขยายการลงทุน ในลักษณะของการจับมือกับพันธมิตร
เพื่อร่วมลงทุนในกิจการประเภทต่าง ๆ อาทิ ธุรกิจค้าน้ำมัน ธุรกิจวัสดุก่อสร้าง
ตลอดจนธุรกิจโทรคมนาคม ที่ล็อกซเล่ย์ร่วมลงทุนในบริษัทไทยเทเลโพน แอนด์ เทเลคอมมิวนิเคชั่น
ในโครงการโทรศัพท์ 1.1 ล้านเลขหมาย และวิทยุติดตามตัวฮัทชิสัน
มาในปีนี้ ถึงคราวที่ ล็อกซเล่ย์ จะต้องขยายบทบาทธุรกิจของตัวเองอีกครั้ง
โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ธุรกิจสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ซึ่งจะมีด้วยกัน 3 กลุ่มธุรกิจ
คือ โทรคมนาคม พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
ภายหลังของการชิมลางุรกิจพลังงาน ด้วยการประมูลสร้างเขื่อนห้วยเฮาะ ในประเทศลาว
โดยร่วมกับบริษัทแดวูของเกาหลีล็อกซเล่ย์เริ่มหาโอกาสที่จะขยายธุรกิจทางด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
มีเป้าหมายอยู่ที่ประเทศไทย
การมีส่วนร่วมในการขยายอุปกรณ์ควบคุมระบบ ตลอดจนคอมพิวเตอร์ให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตมา
แล้ว ล็อกเล่ย์จึงไม่ลังเลที่เข้าร่วมในโครงการให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าอิสระ
หรือโครงการไอพีพี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งนับเป็นการเปิดฉากเข้าสู่ธุรกิจ
ไอพีพี เป็นโครงการที่โดดเด่นมากที่สุดในเวลานี้ เพราะเท่ากับเป็นการพลิกโฉมหน้าใหม่ของการเปิดเสรีทางด้านการผลิตกระแสไฟฟ้า
ที่เคยผูกขาดมายาวนานซึ่งเป็นผลให้เกิดธุรกิจการผลิตกระแสไฟฟ้า มูลค่านับแสนล้านบาท
ในระยะเวลา 17 ปี
วสันต์ จาติกวณิช กรรมการบริหาร บรำทล็อกซเล่ย์ จำกัด มีส่วนร่วมในการบุกเบิกุรกิจสำคัญ
ๆ ของล็อกซเล่ย์ในอดีต อาทิ โทรศัพท์ภูมิภาค 1 ล้านเลขหมาย วิทยุติดตามตัวฮัทชิสัน
รกิจคอมพิวเตอร์ หรือโครงการโทรศัพท์มือถือผ่านดาวเทียมโอเดสซี่ คือ ผู้ที่รับภารกิจสำคัญของการเข้าประมูลในโครงการไอพีพี
ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก ที่วสันต์จะถูกวางตัวให้เป็นผู้รับการภารกิจในครั้งนี้
วสันต์ เป็นทายาทคนโตของเกษม จาติกวณิช อดีตผู้ว่าการไฟฟ้า เจ้าของของฉายา
"ซุปเปอร์เค" อันลือลั่น ปัจจุบันนั่งเป็นประธานและกรรมการอำนวยการของไทยออยล์
ซึ่งประกาศจะเข้าร่วมประมูลในดครงการไอพีพีด้วย โดยร่วมกับกลุ่มยูโนแคล และบริษัทผลิตไฟฟ้าบางแห่ง
สนามสนามประลองฝีมือนักลงทุนในครั้งนี้ จึงกลายมาเป็นสนามพิสูจน์ฝีมือ
ระหว่างเกษม ผู้เป็นพ่อที่ประสบการณ์และสายสัมพันธ์มาอย่างโชกโชน และวสันต์
ผู้เป็นลูก หนุ่มไฟแรงที่พ่วงดีกรีทางวิศวเคมี ในระดับตรีและโท และเคยเป็นหนึ่งในทีมดครงการเซาท์เทริ์นบอร์ด
ของสภาพัฒน์มาแล้ว ก่อนที่จะตัดสินใจมาร่วมบุกเบิกธุรกิจหใม่ให้กับล็อกซเล่ย์
อันเป็นุรกิขครอบครัวของคุณหญิงชัชนี ผู้เป็นแม่ มาจนครบ 10 ปี มาแล้ว และเขาเป็นผู้หนึ่งที่ถูกวางตัวเนทายาทุรกิจคนต่อไป
วสันต์ กล่าวกับ "ผู้จัดการรายเดือน" ว่า ในส่วนตัวของเขาแล้วยอมรับว่าชอบธุรกิจพลังงานมาก
เพราะผูกพันมาตั้งแต่เด้ก แม้จะไม่มีโอกาสได้เข้าไปทำงานทางด้านนี้ดดยตรงก็ตาม
"ผมเกิดที่สหรัฐอเมริกา เพราะพ่อต้อง
ไปดูการออกแบบสร้างเขื่อนแห่งแรกของไทย ในสหรัฐอเมริกาและเมื่อกลับมาเมืองไทยเมื่อพ่อทำงาน
ก็ปล่อยให้วิ่งเล่นดรงไฟฟ้าฝ่ายผลิตบางกรวย ผู้ว่าฯ หรือรองผู้ว่าฯ คนปัจจุบันล้วนแต่เคยเลี้ยงผมมาทั้งนั้น"
วสันต์ย้อนถึงความหลังในวัยเด็ก
แม้จะคลุกคลีมาตั้งแต่เด็ก แต่เมื่อต้องลงมือวางแผนปฏิบัติจริงแล้ว คงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
วสันต์ เล่าว่า ในการประมูลโครงการไอพีพี จะต้องมีการวางแผนอย่างแน่ขัด ไม่เพียงแค่เพทคโนดลยีของการผลิตเท่านั้น
ยังต้องมีการประเมินราคาของเชื้อเพลิงที่จะนำมาใช้ในการผลิตว ซึ่งจะต้องมีความแม่นยำอย่างมาก
ไม่เช่นนั้นแลก้วการลงทุนจะเท่ากับสูญเปล่าเลยทีเดียว
"ในวันแรกที่ยื่นเสนอแบบประมูล หากคุณยื่นราคาผิดก็เท่ากับจบไปแล้ว
เพราะเมื่อตกลงกันได้แล้วเท่ากับว่าจะต้องเซ็นสัญญาชีวิตการทำงานไป 25 ปี
จะหลับหูหลับตาทำไม่ได้ ทุกอย่างต้องลงตัวหมด เพระเวลาเจรจาคุณต้องมีเหตุผล
ต้องพิสูจน์ได้หมด เรียกว่าในวันยื่นเสนอแบบงานคุณต้องเสร็จลุล่วงไปแล้วมากว่า
50%
เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจโทรคมนาคมแล้ว วสันต์ยืนยันว่าแตกต่างกันมาก
"ธุรกิจโทรคมนาคม ในวันที่คุณยื่นซอง คุณอาจจะเสร็จเพียงแค่ 5% เท่านั้น
เพราะมันยืดหยุ่นได้ตลอดเวลา"
วสันต์ กล่าวด้วยว่า ข้อที่แตกต่างในอีกแง่มุมหนึ่งของธุรกิจพลังงาน กับโทรคมนาคม
คือการสร้างรายได้ต่อเนื่อง ที่ธุรกิจพลังงานนั้นไม่สามารถทำได้เช่นเดียวกับโทรคมนาคม
ซึ่งเมื่อมีโอกาสรับสัมปทานทำโทรศัพท์พื้นฐานแล้ว การที่จะหารายได้เพิ่มจากบริการเสริมย่อมเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
เช่น กิจการเคเบิลทีวี ที่กำลังจะมีขึ้นในเร็ว ๆ นี้
แต่ส่วนข้อดีของการประมูลธุรกิจพลังงาน ไม่ต้องกังวลเรื่องหาลูกค้า ไม่เหมือนกับดทาคมนาคมต้องแข่งขันเพื่อช่วงชิงลุกค้ากันตลอดเวลา
ที่สำคัญเป็นระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอีกประเภทหนึ่ง ที่มีความต้องการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
ทว่า ต้องประเมินราคาของเชื้อเพลิงให้ตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด
การเตรียมตัวเพื่อเข้าประมูลในไอพีพี จึงเป็นงานชิ้นสำคัญที่วสันต์ต้องระดมคนที่มีความเชี่ยวชาญอย่างเต็มขั้น
ทั้งผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของล็อกซเล่ย์เอง รวมทั้งของพันธมิตร ที่จะต้องมาช่วยในเรื่องของเทคโนโลยี
และประสบการณ์ในการทำงานเหล่านี้มาแล้ว 80 คน ได้ใช้เวลาในการวางแผนโครงการที่จะยื่นเสนอมาแล้วเกือบ
8-9 เดือน
วสันต์ เล่าว่า ในการประมูลเฟสแรก ที่เปิดให้เอกชนลงทุนมีกำหนดการผลิตประมาณ
1,000 เมกะวัตต์นั้น รัฐกำหนดไว้แล้วว่า ต้องการแก๊ส เป็นเชื้อเพลชิง เนื่องจากต้องการเร็ว
ดังนั้นการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับราคาเป้นสำสคัญ เรียกว่าใครถูกที่สุดคว้าไป
เมื่อถามถึงล็อกซเล่ย์แล้ว ถ่านหินคือเชื้อเพลิงที่จะเลือกใช้ด้วยเหตุที่ว่าสินค้าประเภท"คอมโมดิตี้"
สามารถหาซื้อได้ทั่วไป และราคาคงที่ สามารถมองเห็นราคาแนวโน้มของราคาได้
ส่วนปัญหาของมลภาวะนั้น วสันต์ยืนยันว่า เทคโนโลยีในปัจจุบันจะขจัดปัญหาเหล่านี้ได้หมดไป
สิ่งเหล่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของแนวคิดในการประมูลไอพีพี ที่ล็อกซเล่ย์จะต้องชิงดำร่วมกับคู่แข่ง
ยักษ์ใหญ่ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งคร่ำหวอดกับธุรกิจพลังงานมาเป็นอย่างดี
รวมทั้งคู่แข่งในธุรกิจโทรคมนาคม ที่ประกาศตัวไปแล้วหลายค่าย และในอีกไม่นาน
เมื่อผลการประมูลโครงการไอพีพีปรากฏ เส้นทางสู่ธุรกิจพลังงานของล็อกซเล่ย์
จะเป็นไปตามที่หวังไว้หรือไม่ เป็นเรื่องที่น่าติดตาม.