Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2538
โจนาธาน ทรัสโลว์ คนใจบุญแห่งฮ่องกงแบงก์             
 


   
www resources

HSBC Homepage

   
search resources

ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น - HSBC
โจนาธาน ทรัสโลว์
Credit Card




"ธนาคารฮ่องกงนับวันเป็นธนาคารผู้ออกบัตรเครดิตรายใหญ่รายหนึ่งในฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และในประเทศอื่นๆ อีก 18 ประเทศ ทั่วโลก และปัจจุบันก็กำลังเปิดตัวบัตรเครดิตดังกล่าวในประเทศไทยและไต้หวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งเพื่อบริการลูกค้ารายย่อยของธนาคาร"

ถ้อยแถลงในวันแถลงข่าวเปิดตัววีซ่าของธนาคารฮ่องกง ที่โรงแรมรีเจนท์ โจนาธาน ทรัสโลว์ ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการหนุ่มวัยฉกรรจ์ได้แสงความสามารถการพูด และอ่านภาษาไทยอย่างน่าทึ่ง ที่แม้แต่ทอม มอแรน ผู้จัดการส่วนตัวของวัฒนา ภู่โอบอ้อม (ต๋อง ศิษย์ฉ่อย) ซึ่งเป็นพรีเซนเตอร์ของบัตรวีซ่ายังประหลาดใจ เพราะสุนทรพจน์ที่ทรัสโลว์กล่าวต่อสื่อมวลชนในมือของทรัสโลว์เป็นภาษาไทยล้วน ๆ แม้ว่ามีคำไทยไม่กี่คำ เช่น " ทางเลือก" ที่ทรัสโลว์ออกเสียงเพี้ยนเวยสำเนียงชาวอังกฤษไปบ้างก็ตาม

ทรัสโลว์ จึงเป็นหนึ่งในร้อยของนายธนาคารชาวต่างประเทศที่สามารถพูด-อ่าน-เขียนภาษาไทยได้อย่างดี

"ผมใช้เวลาสองปีครึ่งจึงสามารถอ่านภาษษไทยได้ และได้สอบเทียบชั้นป.6 หลังจากนั้นผมก็บินไปดรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางด้านการอ่านและเขียนจดหมายทางธุรกิจจนสามารถเขียนได้ แต่เขียนช้ามาก" นี่คือนายะนาคารชื่อทรัสโลว์ ผู้ซึ่งไม่ได้จบด้านดภาษาศาสตร์ ตรงกันข้ามภูมหลังการศึกษาของเขาจบด้านคณิตศาสตร์ แต่ใจรักวัฒนธรรมไทยที่ดึงดูดใจให้เขามาทำงานที่นี่ และเดินทางเสาะแสวงหาประสบการร์ท่องเที่ยวเกือบทั่วเมืองไทย โดยเฉฑาะเขารักถิ่นอีสานและภาคเหนือมาก ๆ

ดังนั้นภายในบ้านพักผุ้บริหารธนาคารฮ่องกง ซึ่งตั้งอยู่หลังสสถานทูตออสเตรเลีย ถนนสารทร ทรัสโลว์ตกแต่งบรรยากาศแบบไทย ๆ น่าอยู่ ครอบครัวของทรัสโลว์ ซึ่งประกอบด้วยภรรยาชาวอังกฤษและลูกสองคน ซึ่งคนโตอายุ 8 ขวบ ส่วนอีกคนหนึ่งอายุ 3 ขวบ ซึ่งไม่ใช่เลือเนื้อเชื้อไขแท้จริงแต่เป็นบุตรบุญธรรมที่ทรัสโลว์ได้ขอรับเลี้ยงดูเด้กไทยราวกับลูกในไส้

ความผุกพันของทรัสโลว์ที่มีต่อคนไทย ได้สร้างพันธนาการแห่งชีวิตอันแน่นหนาจากบุตรบุญธรรมคนนี้ และในเดือนหน้า ทรัสโลว์และครอบครัวต้องย้ายไปประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบรัทแม่ ตำแหน่งใหม่ที่ทรัสโลว์รับผิดชอบในฐานะ AREA MANAGER ของธนาคารมิดแลนด์ ซึ่งเป้นธนาคารขนาดยักษ์อันดับสองของอังกฤษที่กลุ่มฮ่องกงแบงก์ซื้อมา

ผู้บริหารใหม่ที่เข้ามาแทนทรัสโลว์ก็คือ เดวิด อี. โจนส์ ซึ่งโยกย้ายมาจากธนาคารฮ่องกง ประเทศไต้หวัน จากตำแหน่ง vice president ด้าน credit และ relationship management ขึ้นสู่ผู้จัดการฝายปฏิบัติการ

"ตอนนี้ผมแนะนำครูสอนภาษไทยให้กับคุณเดวิด และเพื่อนอีกสองคนที่เพิ่งเข้ามาทำงานที่นี่ได้เพียงสิบกว่าวัน ผวมคิดว่าถ้าเราเรียนรู้ภาไทย จะทำให้ประสบการณ์ในเมืองไทยดียิ่งขึ้น ส่วนเรียนภาษาไทยเพื่อประโยชน์เชิงธุกริจ ผมคิดว่าไม่ค่อยสำคัญ เพราะ เวลานี้พนักงานของธนาคารพูดภาษาอังกฤษได้ดีมาก แต่ถ้ารู้ภาไทยก็จะทำให้เราเข้ากันได้มากว่าปกติ" ทรัสโลว์เล่าให้ฟัง

โจนาธาน ทรัสโลว์ อยู่เมใองไทยมาห้าปี ด้วยความตั้งใจอันแรงกล้าจากจุดเริ่มต้นแรกเริ่มที่ได้สัมผัสเมืองไทยในปี 2533 เพื่อมาช่วยพัฒนระบบคอมพิงเตอร์ระบบใหม่ให้กับธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นธนารพาณิชย์ของไทยที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุ 107 ปี นับจากเปิดสำนักงานกรุงเทพฯ ครั้งแรกในปี 2413 ขณะที่สำนักงานใหญ่ของกลุ่มธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ (HSBC) อยู่ที่ลอนดอน

ความเก่งกาจของธนาคารฮ่องกงในไทยนั้นมีความหมายถึงเป้นผู้ริเริ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการใหม่ ๆ คนแรก เช่นเป็นผู้พิมพ์ธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรก ช่วยค้ำประกันพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นแรกและเป็นที่ปรึกษาติดต่อหาเงินทุนจากต่างประเทศ เพื่อสร้างระบบทางรถไฟสายแรก และเป็นธนาคารแรกที่นำเอทีเอ็มมาใช้

"ผมเรียนภาษาไทยตั้งแต่มาถึงเมืองไทยระยะแรกๆ ตอนนั้ผมอายุ 24-25 และทำงานกับธนาคารที่ตะวันออกกลาง และคิดว่าถ้ามีโอกาสอยากทำงานที่เมืองไทย ผมขอให้นายส่งผมมาทำงานที่นี่ เพราะคนไทยน่ารักและผมรักเมืองไทย" ทรัสโลว์ เล่าให้ฟังด้วยสำเนียงชาวอังกฤษแต่พูดไยได้ชัดเจน โดยเฉพาะคำควบกล้ำระหว่างอักษร 'ร' และ 'ล' ที่คนไทยบางคนยังต้องอาย

เมื่อครบวาระประมาณ 3 ปี ทางสำนักงานใหญ่ก้ได้ย้ายทรัสดลว์จากตะวันออกกลาง เข้ามาทำงานประจำที่แผนกคอมพิวเตอร์ที่ประเทศฮ่องกง สักพักหนึ่งเจ้านายก็ทำให้ฝันของทรัสโลว์เป็นจริง เมื่อนายได้ส่งเขามาช่วยทำระบบคอมพิวเตอร์ระบบใหม่ที่เมืองไทย และในสองปีที่ผ่านมาเขาก็ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการและฝ่ายบริการลูกค้ารายย่อย

ในระยะสองปีที่ผ่านมา ผลงานของฝ่ายปฏิบัติการของทรัสโลว์ได้เน้นถึงผลิตภัณท์และบริการใหม่ของธนาคารฮ่องกง เช่นบริการแอสเสทแวนเทจที่รวมสิ่งอำนายความสะอดวไว้ในบัตรเดียวกัน ทั้งบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์ในรูปเงินบาท เบิกโอดี และระบบตัดบัญชีอัตโนมัติ รวมถึงบัญชีออมทรัพย์เงินต่างสกุลและบัญชีเงินฝากประจำสกุลเงินบาทหรือสกุลเงินตราต่างประเทศ สินเชื่อเพื่อที่อยุ่อาศัย บริการบัตรเอทีเอ็มโกลเบิลแอคเซส

ฉะนั้นธนาคารฮ่งอกงในไทยยุคเปิดเสรีทางการเงิน ทรัสโลว์ได้รุกเต็มที่เข้าไปในธุรกิจรีเทลแบงก์กิ้งที่เข่งขันกันรุนแรง จวบจนกระทั่งทรัสโลว์ต้องอำลาประเทศไทยในเดือนหน้า โดยมีผู้บริหารคนหใม่อย่างเดวิด โจนส์ เข้ามาสานต่อภารกิจ

ขณะที่ผู้จากไปอย่างทรัสโลว์วาดหวังว่าเขาต้องกลับมาอยู่เมืองไทยให้ได้ในอนาคต

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us