Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน7 กรกฎาคม 2549
เศรษฐกิจซบซีพีฉวยโอกาสเปิดชอป             
 


   
www resources

โฮมเพจ ซีพี-เมจิ

   
search resources

ไพศาล จงบัญญัติเจริญ
Marketing
Dairy Product
ซีพี-เมจิ, บจก.




“ซีพี” ผนึกสินค้าในเครือสร้างอำนาจต่อรองเชนโมเดิร์นเทรดยักษ์ใหญ่ ฉวยเศรษฐกิจซบชงโมเดลขายแฟรนไชส์”ซีพี เฟรชมาร์ท” เปิดร้านขายไส้กรอก-ไก่เข้าถึงผู้บริโภคทั่วประเทศ ชูยุทธศาสตร์ 3 ปี ธุรกิจนมขึ้นเป็นอันดับหนึ่งทุกเซกเมนต์ อัดฉีด 300 ล้านบาท บูมนมพาสเจอร์ไรส์-โยเกิร์ตนำร่อง เสริมทัพขยายสาวขายนม เล็งลั่นกลองบุกน้ำถั่วเหลือง-ยูเอชที 3 ปีรายได้จากกว่า 3,000 ล้านบาท แตะ 5,000 ล้านบาท

พี-เมจิ บริษัทในเครือซีพี เปิดเผยว่า ในเครือซีพีขณะนี้ได้วางยุทธศาสตร์ในการทำตลาด โดยอาศัยเครือข่ายการกระจายสินค้าในเครือ เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองกับรีเทลเลอร์รายใหญ่ อีกทั้งยังทำให้มีกำไรที่สูงขึ้น นอกจากนี้ในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว บริษัทยังได้เตรียมขยายช่องทางจำหน่ายให้ครอบคลุมมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ทั่วประเทศ นำร่องด้วยการเปิดขายแฟรนไชส์”ซีพีเฟรชมาร์ท”เป็นครั้งแรก จากเดิมที่มีอยู่ 150 สาขา เป็นการลงทุนจากซีพีเองทั้งหมด แบ่งเป็น กรุงเทพฯ 30 แห่ง และอีก 120 แห่งในต่างจังหวัด ทั้งนี้แฟรนไชส์ซีพีเฟรชมาร์ทใช้งบลงทุน 5-6 แสนบาทต่อสาขา

ด้านธุรกิจนมแบรนด์”ซีพี-เมจิ” ซึ่งเกิดจากการร่วมทุนระหว่างซีพีกับบริษัทญี่ปุ่นนั้น ได้วางแผนระยะ 3 ปี ภายใต้การใช้งบการตลาด 300 ล้านบาท เพื่อผลักดันรายได้รวมจากกว่า 3,000 ล้านบาท เป็นแตะ 5,000 ล้านบาทหรือขึ้นเป็นอันดับหนึ่งแต่ละเซกเมนต์ หรือมาจากการเปิดตัวสินค้าในตลาดที่บริษัทยังไม่มี อาทิ นมยูเอชที หรือกระทั่งนมถั่วเหลือง ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาลงทั้งสองตลาด อย่างไรก็ตามการผลิตนมทั้งสองชนิดนี้ บริษัทมีทั้งความพร้อมทางด้านกระบวนการผลิต และการพัฒนาสินค้าซึ่งมีทีมวิจัยสินค้าทั้งสองชนิดนี้อยู่แล้ว โดยการพัฒนาสินค้าจะเน้นสร้างความแตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่ในตลาด ทั้งนี้สาเหตุที่บริษัทสนใจในตลาดนมถั่วเหลืองและนมยูเอชที เนื่องจากเป็นตลาดใหญ่มีมูลค่ารวม 1.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นนมยูเอชที 6,000 ล้านบาท และนมถั่วเหลือง 5,800 ล้านบาท

จากแผนยุทธศาสตร์ของซีพี-เมจิ ทำให้บริษัทคงต้องเพิ่มทุนอีกครั้งในปีหน้าจากปัจจุบันที่มีทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท โดยแผนใน 3 ปีนี้ ในเบื้องต้นบริษัทจะเน้นผลักดันสินค้าหลักในเครือ คือ นมพาสเจอร์ไรส์ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีส่วนแบ่ง 50% เป็นอันดับหนึ่งตลาด เพิ่มเป็น 60%ในสิ้นปีนี้ จากมูลค่า 2,500 ล้านบาท พร้อมกันนี้เร่งสร้างภาพพจน์ซีพี-เมจิให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เพื่อต่อยอดไปสู่การรุกตลาดโยเกิร์ต จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งตลาด 15% เป็นอันดับ3 ในตลาดโยเกิร์ต ที่มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดยมีดัชมิลล์เป็นผู้นำตลาดครองส่วนแบ่ง 60% คาดว่าสิ้นปีหน้าจะมีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มเป็น 40%

ทั้งนี้บริษัทได้ทุ่มงบการตลาดในครึ่งปีหลัง 100 ล้านบาท ในการผลักดันทั้งสองตลาดนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการใช้งบการตลาดมากที่สุดของซีพี-เมจิ โดยแบ่งงบอะโบฟเดอะไลน์ 70 ล้านบาท และบีโลว์เดอะไลน์ 30 ล้านบาท ในเบื้องต้นได้เพิ่มกลยุทธ์ทางการตลาด โดยอาศัยสื่อที่แมสมากขึ้นกว่าเดิมที่บริษัทเน้นการทำบีโลว์เดอะไลน์ ทั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้าง โดยบริษัทได้เปิดตัวภาพยนตร์โฆษณา 2 เรื่อง ได้แก่ กลุ่มนมสดพาสเจอร์ไรส์ ภายใต้คอนเซปต์ สดเต็มรสชาติ” ออกอากาศวันที่ 7 ก.ค. นี้ และกลุ่มโยเกิร์ต ภายใต้คอนเซปต์”เนื้อผลไม้เต็มๆลูก”ออกอากาศวันที่ 15 ก.ค. นี้ พร้อมกันนี้ยังได้เตรียมเปิดตัวสินค้าใหม่ 14 รายการในช่วงครึ่งปีหลัง โดยจะเป็นสินค้าที่มีความแตกต่างจากคู่แข่งที่มีอยู่ในตลาด

นอกจากนี้บริษัทยังหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาช่องทางจำหน่ายในส่วนของเอเยนต์ และการขายสินค้าตรงผ่านสาวซีพี-เมจิเพิ่มขึ้นจาก 20% เป็น 40% ขณะที่ช่องทางการจัดจำหน่ายทางโมเดิร์นเทรดจะลดลงเหลือจาก 80% เป็น 60% ทั้งนี้เพราะช่องทางโมเดิร์นเทรดซีพี-เมจิสามารถครอบคลุม พื้นที่ 100% แล้ว ส่วนทางเอเย่นต์เก่า-ใหม่ยังมีจำนวนน้อยเพียง 100 ราย และมีสาวขายซีพี –เมจิ 500 คน ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ช่องทางดังกล่าวมีศักยภาพ จึงได้จัดตั้งโรงเรียนสอนตัวแทนขายตรงที่กระจายไปตามภาคต่างๆจำนวน 9 ส่วน อีกทั้งยังจัดในเรื่องของสวัสดิการ ค่าคอมมิชชั่น รวมทั้งการเพิ่มกลุ่มสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น นำร่องด้วยการนำไอศกรีม”เอเต้”มาจำหน่ายในปีหน้านี้ ทั้งนี้เพื่อจูงใจผู้ที่สนใจสมัครเป็นตัวแทนขาย โดยคาดว่า 3ปีข้างหน้าจะมีประมาณสาวขายซีพี-เมจิจะเพิ่มเป็น 4,000 คน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us