|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
กรมศุลการกรเผยยอดการจัดเก็บปีงบประมาณ 2549 อยู่ที่แสนล้าน ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่วางไว้ 1.24 แสนล้าน ระบุได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทแข็งค่ามาอยู่ที่ 38.90 ขณะที่ประเมินไว้ถึง 41.50 บาทต่อดอลลาร์ เผยได้ร่วมมือกับมาเลเซียศึกษาระบบข้อมูลขนส่งสินค้า เพื่อตรวจปล่อยสินค้าเพียงครั้งเดียว ช่วยลดความซ้ำซ้อน
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า การจัดเก็บรายได้ของกรมศุลกากร ประจำปีงบประมาณ 2549 คาดว่าจะสามารถจัดเก็บได้ประมาณ 100,000 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ที่ 120,400 ล้านบาท เนื่องจากสมมติฐานที่ใช้ในการคำนวณรายได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ ปริมาณการนำเข้าต่ำกว่าประมาณการที่ตั้งไว้ อัตราภาษีต่ำกว่าประมาณการ และค่าเงินบาทที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 38.90 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จากเดิมที่ประมาณการไว้ที่ 41.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้กรมจัดเก็บภาษีได้น้อยลง
“ต้องยอมรับความจริงว่ากรมฯคงจัดเก็บได้ไม่ถึงเป้า แต่ก็คงต้องพยายาม รวมทั้งการประมาณการเดิมกรมฯ ก็ได้ประมาณการไว้ต่ำอยู่แล้ว แต่ปัจจุบันสมมติฐานต่าง ๆ มันต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก อย่างเช่น ผู้นำเข้าหันมาใช้อัตราภาษีต่ำ 0% เพิ่มขึ้นจากปี 2548 ประมาณ 20% จึงทำให้รายได้ของกรมฯมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งปัจจุบันกรมสามารถจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 8% ของการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ แต่มองว่าในปี 2553 กรมจะเก็บรายได้ลดเหลือ 5% ของการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ”
อย่างไรก็ตาม กรมฯสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ของการนำเข้าได้เพิ่มขึ้น โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ต.ค.48-มิ.ย.49) จัดเก็บได้ 139,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 129,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7.72%
จับมือมาเลย์ศึกษาระบบข้อมูลส่งสินค้า
นายสถิตย์เปิดเผยว่า กรมศุลกากรได้ตั้งคณะกรรมการร่วมกับมาเลเซีย เพื่อร่วมกันตรวจปล่อยสินค้าเพียงครั้งเดียว เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ซึ่งหากสินค้าส่งออกจากไทยไปมาเลเซีย เมื่อศุลกากรไทยทำการตรวจปล่อยสินค้าแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำการตรวจสินค้าที่ด่านศุลกากรของมาเลเซียอีกครั้ง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดความซ้ำซ้อน
รวมทั้ง จะมีการพัฒนาไปสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกัน โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มใช้งานได้ภายในสิ้นปีนี้ ตลอดจนการขยายความร่วมมือในลักษณะเดียวกันไปยังด่านศุลกากรตามแนวชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ด่านอรัญประเทศ เพื่อร่วมกับศุลกากรกัมพูชา และด่านมุกดาหาร ประเทศลาว เพื่อเป็นความร่วมมือของกลุ่มประเทศอานุภาคลุ่มแม่น้ำโขง และหลังจากนั้นจะขยายความร่วมมือดังกล่าวไปยังแถบประเทศอาเซียน
นายสถิตย์ กล่าวว่า ในเดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา กรมฯได้เชื่อมความร่วมมือการส่งข้อมูลสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์กับประเทศฟิลิปปินส์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าร่วมกัน โดยเฉพาะการตรวจสอบสินค้าแบบฟอร์ม D ซึ่งเป็นใบการันตีเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีของประเทศอาเซียนด้วยกัน โดยการดำเนินการดังกล่าวเพื่อพัฒนาและปรับบทบาทศุลกากรในการอำนวยความสะดวกต่อการส่งออกนำเข้าสินค้าระหว่างประเทศแทนการเน้นจัดเก็บภาษีที่มีอัตราแนวโน้มลดลง
นอกจากนี้ กรมศุลกากรเตรียมร่วมมือกับกรมวิชาการเกษตร เพื่อตรวจปล่อยสินค้า ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระหว่างศุลกากรกับด่านกักกันพืช โดยจะทำการตรวจเพียงครั้งเดียวเพื่อลดขั้นตอนการตรวจปล่อยสินค้า และยังเตรียมขยายแนวทางดังกล่าวไปยังท่าเรือคลองเตยด้วย รวมถึงเตรียมเจรจากับผู้บริหารของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ด่านกักกันสัตว์น้ำและสัตว์บก เพื่อลดขั้นตอนการปล่อยสินค้าจากเดิมจะใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ให้เหลือเพียง 1 วัน
|
|
|
|
|