|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
DM คาดผลงานไตรมาส 2 จะดีกว่าไตรมาสแรกที่แม้ปัจจัยรอบด้านรุมเร้า แต่ได้รับผลดีจากดอกเบี้ยขาขึ้น ลูกค้าหันมาใช้บริการเพิ่ม พร้อมตั้งเป้าพอร์ตสินเชื่อปีนี้ให้ได้ 1 หมื่นล้านบาท และตั้งเป้าการเติบโตปีนี้ 10% เล็งโรดโชว์ในประเทศเพื่อเปิดตัวให้นักลงทุนรับรู้ข้อมูลบริษัทมากขึ้น
นายวิวัฒน์ คงคาสัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท ธนมิตร แฟคตอริ่ง จำกัด (มหาชน)(DM) เปิดเผยว่าคาดผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ปีนี้ว่าน่าจะสูงกว่าไตรมาสแรกปีนี้ที่บริษัทมีรายได้ 21.35 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวส่งผลให้การบริโภคของประชาชนลดลง ซึ่งทำให้ปริมาณการรับซื้อสิทธิเรียกร้องของบริษัทแรกลดลง ขณะที่ต้นทุนในการบริหารเพิ่มขึ้น
“เรายังเชื่อว่าผลงานไตรมาส 2 จะดี แม้ว่ามูลค่าจะลดลง แต่ปริมาณของลูกค้าใหม่เราเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่อัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ทำให้ลูกค้าหันมาพึ่งเรามากกว่าปกติ ” นายวิวัฒน์
สำหรับปีนี้ บริษัทยังตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ไว้ที่ 10% แม้ผลงานไตรมาสแรกจะออกมาไม่ดีนักก็ตาม เพราะมองว่าในไตรมาส 2 แนวโน้มจะดี บวกกับครึ่งปีหลังที่มั่นใจว่าบริษัทจะสามารถทำได้ตามเป้าได้ จากความต้องการใช้ของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับธุรกิจแฟคตอริ่งที่มีอัตราการเติบโตที่ดี โดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 40-50%
อย่างไรก็ตาม จากราคาน้ำมันที่พุ่งสูง ส่งผลให้การใช้จ่ายชะลอตัวลง ทำให้ลูกค้าเก่าลดลงเช่นกัน แต่ DM พยายามหาลูกค้าใหม่ ๆ เพิ่มทดแทน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่ทำธุรกิจขนาดกลางและย่อม โดยปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าอยู่เกือบ 300 ราย และพอร์ตสินเชื่อ ณ สิ้นปี 48 อยู่ที่ 8,300 ล้านบาท
“เราตั้งเป้าที่จะทำให้พอร์ตสินเชื่อของเราให้ได้ที่ระดับ 1 หมื่นล้านบาทในปีนี้ หรือหากคลาดเคลื่อนก็บวกลบ 10% เพื่อรองรับความต้องการใช้บริการของลูกค้าที่น่าจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะลูกค้า เอสเอ็มอี ที่เมื่อแบงก์เข้มงวดในการปล่อยกู้ก็จะหันมาเป็นลูกเรา ” นายวิวัฒน์กล่าว
สำหรับต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น DM ต้องบริหารต้นทุนทางการเงิน ด้วยการกู้เงินจากแบงก์เป็นแบบระยะยาว 6-9 เดือน และผลักภาระต้นทุนให้กับลูกค้าได้บ้าง โดยเมื่อปี 48 ที่ผ่านมา บริษัทได้ผลักภาระให้กับลูกค้าได้บางส่วน ซึ่งแต่ละครั้งปรับได้ 0 .25- 0.50 % และDM ยังโอนสิทธิการรับเงินมาดำเนินการเอง เพื่อลดต้นทุนทางการเงิน รวมทั้งการบริหารพอร์ตสินเชื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
โดยที่ผ่านมา บริษัทปรับขึ้นดอกเบี้ยของลูกค้า โดยการปล่อยสินเชื่อของบริษัทเป็นระยะสั้นทำให้เมื่ออัตราดอกเบี้ยปรับขึ้นบริษัทก็สามารถปรับขึ้นตามได้ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยที่ปล่อยให้กับลูกค้าอยู่ที่ 10-12 %
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่พอร์ตสินเชื่อเพิ่มได้ตามเป้าหมายแล้ว บริษัทมีแผนที่จะไปโรดโชว์ในประเทศเพื่อเปิดเผยข้อมูลให้กับนักลงทุนได้รับทราบข้อมูลบริษัทมากขึ้น เนื่องจากเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ที่นักลงทุนไม่ค่อยให้ความสนใจนัก
|
|
 |
|
|