Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน4 กรกฎาคม 2549
คลังเรียกแบงก์ปล่อยกู้ตึกร้าง ทักษิณสั่งเองอุ้มบิ๊กอสังหาฯ             
 


   
www resources

โฮมเพจ กระทรวงการคลัง

   
search resources

กระทรวงการคลัง
Real Estate
ศุภรัตน์ ควัฒน์กุล




ปลัดคลังรับคำสั่ง "แม้ว" เรียกนายแบงก์กดดันช่วยปล่อยกู้ตึกร้างทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล 508 แห่ง พื้นที่กว่า 6.2 ล้านตารางเมตร มูลค่าหลายหมื่นล้าน หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ พร้อมเจรจาสำนักโยธาฯ แก้กฎหมายขจัดอุปสรรค คาดภายใน 3 สัปดาห์ได้ข้อสรุป ด้านนายแบงก์หนุนปล่อยสินเชื่อ เผยอานิสงส์ตกอยู่กับบิ๊กอสังหาฯ ได้แก่ ทีซีซีแลนด์ บางกอกแลนด์ ซึ่งเจ้าของตึกใหญ่ "รัชดาสแควร์-เมืองทองธานี"

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ได้เรียกสถาบันการเงิน ประกอบด้วย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTB) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) บริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ (บสก.) ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ และนายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย เข้ามาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาอาคารสร้างค้างหรือตึกร้างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล

“การหารือในวันนี้เป็นการหาแนวทางว่าจะพัฒนาตึกร้างที่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพได้อย่างไร โดยได้ให้การบ้านกับสถาบันการเงินต่างๆ ไปรวบรวมข้อมูลว่าอาคารต่างๆ เหล่านั้นเป็นสินทรัพย์รอการขาย (NPA) เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) หรืออยู่ในกระบวนการฟ้องร้องของกรมบังคับคดี รวมทั้งหารือกับเจ้าของโครงการว่าจะดำเนินการพัฒนาตึกร้างเหล่านี้อย่างไร ซึ่งภายใน 3 สัปดาห์สถาบันการเงินต่างๆ น่าจะหาข้อสรุปในเรื่องนี้ได้” นายศุภรัตน์กล่าว

นายศุภรัตน์กล่าวว่า ปัญหาที่พบในเบื้องต้นคือข้อติดขัดทางกฎหมาย ซึ่งตึกเหล่านี้ก่อสร้างมานานแล้วใบอนุญาตก่อสร้างก็หมดอายุทำให้ไม่สามารก่อสร้างต่อไปได้ หากขออนุญาตก่อสร้างใหม่ตามกฎหมายผังเมืองที่เพิ่งประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคมเข้มงวดขึ้นทำให้ผู้ซื้อไม่มีแรงจูงใจที่จะเข้ามาพัฒนาโครงการ เพราะเดิมอาคารได้รับอนุญาตก่อสร้าง 30 ชั้น แต่กฎหมายใหม่อาจอนุญาตให้สร้างเพียง 15 ชั้นเท่านั้น

กระทรวงการคลังจะเข้ามาเป็นตัวกลางประสานกับสำนักโยธาธิการกรุงเทพมหานครเพื่อขอให้ต่ออายุใบอนุญาต หรือแก้ไขข้อกฎหมายให้สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อไปได้ ซึ่งก่อนหน้านี้ บสท.ได้เคยยื่นขอต่อกฤษฎีกาเพื่อให้แก้ไข้กฎหมายในเรื่องนี้เช่นกัน แต่ทางกฤษฎีกาต้องการให้มีการแก้ไขครั้งเดียวแล้วสามารถแก้ปัญหาได้เป็นภาพรวมทั้งระบบ

“ปัญหาอีกอย่างที่ต้องพิจารณาเป็นรายตึกคือปัญหาด้านเทคนิควิศวกรรม เนื่องจากเป็นตึกที่มีการก่อสร้างมาเป็นเวลานาน อาจมีปัญหาด้านโครงสร้างเหล็กอาจเป็นสนิมหรือเกิดความไม่ปลอดภัยจากก่อก่อสร้างโครงการต่อได้ ซึ่งต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธาเข้าไปสำรวจเพื่อให้เกิดความปลอดภัยอีกครั้งหนึ่งด้วย” นายศุภรัตน์กล่าว

นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ กล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นส่วนช่วยกระตุนเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง โดยที่มาของการประชุมครั้งนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายศุภรัตน์ มาหารือกับสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อสำรวจว่ามีอาคารสร้างค้างเหลืออยู่ในระบบเท่าไร เพื่อที่จะได้หามาตรการแก้ไขให้อาคารสร้างค้างหมดไปจากระบบ

โดยในปี 2544 มีตึกร้างที่มีขนาดตั้งแต่ 5 ชั้นขึ้นไปและมีพื้นที่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไปจำนวนทั้งสิ้น 508 แห่ง ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และได้มีการพัฒนาไปบ้างแล้วบางส่วนและสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้แล้ว ซึ่งในปี 2549 เหลืออาคารที่ค้างสร้างอีกจำนวน 287 แห่ง และมีพื้นที่ใช้สอยตามใบอนุญาตเดิมจำนวน 6.2 ล้านตารางเมตร

ทั้งนี้ อาคารที่อยู่ในข่าย 508 แห่งดังกล่าว มูลค่าเกือบแสนล้าน แบ่งเป็นที่มีการพัฒนาไปแล้วและเป็นตึกใหญ่ ได้แก่ อาคารฐานเศรษฐกิจ อาคารศุภาลัย ปาร์ค และอาคารฮาร์เบอร์วิว ส่วนอาคารค้างสร้างที่ยังไม่ได้มีการพัฒนา ได้แก่ อาคารรัชดาสแควร์ของทีซีซี แลนด์ (ซื้อมาจากคุณหญิง พจมาน ชินวัตร) อาคารเมืองทองของบางกอกแลนด์ และอาคารสหวิริยาซิตี้ พระราม 3

**ส.ธนาคารไทยหนุนสินเชื่อ

นายธวัชชัย ยงกิตติกุล เลขาธิการสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า ทางสมาคมธนาคารไทยมีความเห็นว่าทุกฝ่ายควรมีความร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาตึกร้าง ซึ่งแต่ละโครงการมีปัญหาที่แตกต่างกันหลายอย่าง ทางภาคธุรกิจเองก็มีความต้องการที่จะเดินหน้าแต่ติดขัดที่ปัญหาหลายอย่างทั้งเรื่องความมั่นคงของอาคาร เรื่องคดีความ เรื่องใบอนุญาต หากร่วมมือกันทำก็น่าจะมีประโยชน์ทำเป็นนโยบายร่วมกันหากปล่อยทิ้งไว้ก็ทรุดโทรมโดยเปล่าประโยชน์

ทั้งนี้ หากมีการดำเนินการก่อสร้างอาคารเหล่านั้นต่อ ทางธนาคารก็พร้อมที่จะช่วยเหลือโดยการปล่อยสินเชื่อให้ แม้ว่าเจ้าของโครงการดังกล่าวอาจจะเป็นลูกหนี้ของธนาคารอื่นก็ตาม โดยในเบื้องต้นตึกร้างเหล่านั้นมีมูลค่าไม่เกิน 10,000 ล้านบาท เพราะดูจากสภาพที่แท้จริงของตึกร้างที่เหลืออยู่ประมาณ 281 อาคารนั้น ถ้ามีการหักสภาพของการดำเนินงานไปแล้ว เชื่อว่าคงไม่ถึง 200 แห่ง เช่นบางอาคารลง1เพียงเสาเข็ม เป็นต้น ส่วนการปล่อยสินเชื่อ ในสภาวะเช่นนี้จะมีความเสี่ยงหรือไม่นั้น มองว่าหากมีการลงมือทำตั้งแต่ตอนนี้จนแล้วเสร็จ ภาวะเศรษฐกิจก็คงฟื้นตัวแล้ว อย่างไร ก็ตาม การหารือในวันนี้ เบื้องต้น เพื่อเป็นการรักษามูลค่าทรัพย์สินที่มีการลงทุนไปแล้วไม่ให้สูญเปล่า อย่างน้อยก็ช่วยให้การลงทุนฟื้นตัว

นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า แนวทางที่กระทรวงการคลังเรียกเข้ามาหารือนับว่าเป็นการแก้ปัญหาความสูญเสียทางเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเมื่อร่วมมือกันแล้วน่าจะมีวิธีที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งระบบ โดยในส่วนของธนาคารกรุงไทยเองมีอาคารร้างอยู่ในพอร์ตของธนาคารประมาณ 12 แห่ง สาเหตุที่ทำให้อาคารสร้างค้างของธนาคารกรุงไทยเหลือน้อยเนื่องจากได้ขายให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์ต่างๆ ไปบ้างแล้วจึงทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาในการพัฒนาอาคารสร้างค้างแต่อย่างใด   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us