Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538
เมื่อ "ประสิทธิ์ ณรงค์เดช" วางมือจากเซลล็อกซ์ ก็ถึงยุครวมดาวคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค             
 


   
www resources

โฮมเพจ คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค (ประเทศไทย)

   
search resources

คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค (ประเทศไทย), บจก.
สมศักดิ์ วิวัฒนพนชาติ
ประสิทธิ์ ณรงค์เดช
Personal cares




เมื่อประสิทธิ์ ณรงค์เดช เจ้าพ่อวงการกระดาษอนามัย ประกาศวางมือจากการเป็นผู้กุมบังเหียนของบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์ จำกัด เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ทำให้ทุกคนจับตามองกันว่า ใครจะได้รับมอบหมายให้เข้ามารับหน้าที่แทนเขา เพราะหากพิจารณาดูจากประสบการณ์ที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการนี้มายาวนานถึง 30 ปีแล้วการผู้มีฝีมือและประสบการณ์ทัดเทียมกับเขาต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายนัก

ประสิทธิ์เริ่มเข้าสู่ธุรกิจกระดาษอนามัยด้วยการก่อตั้งบริษัทอนามัยภัณฑ์ขึ้นมาผลิตผ้าอนามัยยี่ห้อ "เซลล็อกซ์" และผลิตภัณฑ์กระดาษอื่นๆ สำหรับในครัวเรือนเมื่อปี 2508

ปี 2512 ได้ร่วมลงทุนกับบริษัทสก็อตต์ เพเพอร์ แห่งเมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในบริษัทไทย-สก็อตต์ ทำให้ประสิทธิ์และกลุ่มผู้ถือหุ้นคนไทยถอนตัวออกมาร่วมหุ้นกับบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด จัดตั้ง "บริษัท กระดาษเซลล็อกซ์ จำกัด" ขึ้นมาผลิตกระดาษอนามัยภัณฑ์ยี่ห้อ "เซลล็อกซ์" และ "เซลล่า" โดยมีบริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้แทนจำหน่าย

จนกระทั่งล่าสุดเมื่อมิถุนายน 2537 ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นในบริษัทกระดาษเซลล็อกซ์ อีกครั้งโดยคราวนี้บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ กลับกลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ถึง 52.06% (จากเดิมถือหุ้นอยู่ 10%) ที่เหลือเป็นส่วนของครอบครัวนายประสิทธิ์รวมกับเพื่อนและพนักงาน 23% สถาบันลงทุนในประเทศ 17.66% สถาบันลงทุนจากต่างประเทศ 7% ของทุนจดทะเบียนที่เพิ่มจาก 300 ล้านบาทเป็น 500 ล้านบาท

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นครั้งนี้นี่เอง ที่ประสิทธิ์ ณรงค์เดช ประกาศวางมือจากตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการ เพราะต้องการกลับไปเล่นการเมือง อย่างไรก็ดี ประสิทธิ์จะยังคงนั่งอยู่ในตำแหน่งประธานกรรมการของเซลล็อกซ์เพื่อเป็นที่ปรึกษาให้กับผู้ที่มาทำหน้าที่แทนเขา

หลังจากใช้เวลาสรรหาตัวระยะหนึ่ง ในที่สุดวันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา ผู้อำนวยการคนใหม่ คือ ดร.สมศักดิ์ วิวัฒน์พนชาติ ก็เข้ามารับงานเป็นวันแรก

"ดร.สมศักดิ์เคยเป็นผู้จัดการโรงงานของคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ก่อนที่จะลาออกไปทำงานกับบริษัทสยามแมชชีนเนอรี่ แอนด์ อีควิปเมนต์ในเครืออิตัลไทย แต่ในที่สุดก็ทนความยั่วยวนของตลาดสินค้าอุปโภค-บริโภค ไม่ไหวจึงหวนกลับมา ดังนั้นจึงน่ายินดีที่ขณะนี้เซลล็อกซ์มีมือดีจากไทยสก็อตต์ คือ ผม และมือดีจากคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค คือ ดร.สมศักดิ์ มาช่วยกันสร้าง" ประสิทธิ์กล่าวแนะนำดร.สมศักดิ์กับสื่อมวลชนที่ไปเยี่ยมชมโรงงานกระดาษเซลล็อกซ์

ดร.สมศักดิ์สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเคมี จากมหาวิทยาลัยโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ด้วยทุนโคลัมโบของรัฐบาลนิวซีแลนด์

นอกจากนี้ยังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและเอกด้านวิศวกรรมจากมหาวิทยาลัยนาโงย่า ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ทุนการศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น

เขาเริ่มชีวิตการทำงานด้วยการเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อยู่ 2-3 ปี ก่อนที่จะมาเป็นผู้จัดการโรงงาน บริษัท คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค (ประเทศไทย) จำกัด อยู่ 9 ปี และเป็นผู้จัดการทั่วไปบริษัท สยามแมชชีนเนอรี่ แอนด์ อีควิปเมนต์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเครืออิตัลไทยอีก 5 ปี

ดร.สมศักดิ์กล่าวถึงแผนการทำงานที่เซลล็อกซ์ว่า อยากจะปรับปรุงเซลล็อกซ์ให้ดีขึ้นไม่แพ้คู่แข่งสำคัญอย่างคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค และไทย-สก็อตต์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำให้บริษัทมีฐานการตลาด การผลิต การเงินใกล้เคียงและต่อสู้กับคู่แข่งได้

โดยดร.สมศักดิ์ยอมรับว่า ขณะนี้เซลล็อกซ์ยังมีความแตกต่างในเชิงเสียเปรียบคู่แข่งสำคัญอยู่ 2 ประเด็นใหญ่ คือด้านการเงินและการตลาด

ด้านการเงินนั้นเนื่องจากคู่แข่งทั้งสองเป็นบริษัทข้ามชาติจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีบริษัทแม่ที่แข็งแกร่วและมีเงินทุนเยอะ รวมทั้งสามารถกู้เงินจากภายนอกประเทศซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยต่ำมาใช้ในการลงทุนได้ ต่างกับเซลล็อกซ์ซึ่งเป็นบริษัทท้องถิ่น ต้องกู้เงินจากแหล่งเงินทุนในประเทศเป็นหลักจึงต้องเสียดอกเบี้ยสูงสำหรับแนวทางในการแก้ปัญหานี้ก็คือ การแต่งตัวบริษัทเสียใหม่เพื่อนำเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีก 1-2 ปีกว่าจะเรียบร้อย

ส่วนด้านการตลาดนั้น แม้ว่าขณะนี้ทั้งเซลล็อกซ์ ไทย-สก็อตต์ และคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค จะมีส่วนแบ่งตลาดกระดาษชำระในประเทศไทยใกล้เคียงกัน แต่ทั้งสองรายก็ได้เปรียบเซลล็อกซ์ตรงที่บริษัทแม่มีสาขาในการทำตลาดทั่วโลก จึงสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการตลาดกันได้

ทางแก้ก็คือ การขยายธุรกิจของเซลล็อกซ์เข้าไปสู่ประเทศต่างๆ ในภาคพื้นอาเซียน โดยวางแผนไว้เป็น 2 ขั้นคือ ขั้นแรกส่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปเข้าไปให้เอเย่นต์จำหน่าย เมื่อประสบความสำเร็จก็จะร่วมกับเอเย่นต์ลงทุนเรื่องการผลิต ซึ่งจะเริ่มต้นจากการส่งกระดาษสำเร็จรูปม้วนใหญ่เข้าไปแปรรูป ก่อนที่จะตั้งโรงงานผลิตครบวงจรเมื่อมียอดขายสูงพอ

ในขณะที่ด้านการผลิตนั้นไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน แม้ว่าเซลล็อกซ์จะมีกำลังการผลิตน้อยกว่าแต่ก็สามารถลงทุนเพิ่มกำลังการผลิตได้ถ้าต้องการ

"เซลล็อกซ์คงจะต้องใช้คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค เป็นต้นแบบ ในฐานะที่เขาเป็นบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์จากกระดาษที่ใหญ่ที่สุดในโลก" ดร.สมศักดิ์กล่าว

เป้าหมายดังกล่าวอาจจะเป็นไปได้ ในเมื่อขณะนี้เซลล็อกซ์ได้กลายเป็นแหล่งรวมผู้บริหารที่เคยร่วมงานกับคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ทั้งทางตรงและทางอ้อมไว้ถึง 3 คน เพราะนอกจากดร.สมศักดิ์แล้วก็ยังมีดร.อดุล อมตวิวัฒน์ ผู้จัดการใหญ่เบอร์ลี่-ยุคเกอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในเซลล็อกซ์ขณะนี้ก็เคยเป็นผู้จัดการโรงงานคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค นาน 5 ปี

นอกจากนี้นายเรนาโต เพตรุซซี่ กรรมการบริหารบริษัทดีทแฮล์ม จำกัด ผู้แทนจำหน่ายกระดาษชำระยี่ห้อซิลค์, ซิลค์ คอตตอน และคอตตอน รีไซเคิล ของเซลล็อกซ์ ก็เคยร่วมงานกับคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ในฐานะที่ดีทแฮล์มเคยเป็นทั้งหุ้นส่วนและผู้แทนจำหน่ายให้กับคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค มานานนับสิบปีก่อนที่จะเลิกลากันไปเมื่อสองปีก่อน

ก็คงต้องดูว่าขุนพลเหล่านี้จะผนึกกำลังกันทำให้เซลล็อกซ์กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดผลิตภัณฑ์กระดาษโลกอย่างคิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าคได้หรือไม่

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us