|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
ในที่สุดรัฐบาลรักษาการณ์ชุดนายกรัฐมนตรีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรก็ประกาศเปิดให้บริการของสนามบินสุวรรณภูมิภายในวันที่ 28 กันยายน 2549 ส่งผลให้สายการบินต่างประเทศเริ่มปรับตัวรับกระแสทันที ว่ากันว่าในบรรดาสายการบินต่างประเทศกว่า 87 สายการบินมีการขอเพิ่มเที่ยวบินเข้าประเทศกว่า 2,427 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ มีความเคลื่อนไหวของสายการบินจากภูมิภาคตะวันออกกลางและภูมิภาคเอเชียมากที่สุด
นโยบายการเปิดน่านฟ้าเสรีของไทย ส่งผลให้สายการบินจากต่างประเทศหลั่งไหลเข้ามาเป็นจำนวนมาก และสายการบินแถบตะวันออกกลางดูจะคึกคักเป็นพิเศษมีการขอเที่ยวบินเพิ่มเพื่อเปิดตลาดใหม่ให้ทั้งคนไทยและคนตะวันออกกลางมีการเดินทางมากขึ้น ขณะที่สนามบินสุวรรณภูมิประกาศพร้อมเปิดให้บริการในเดือนกันยายนศกนี้ ศักยภาพของประเทศไทยจึงน่าจะเป็นประตูสากลสู่เมืองหลายๆแห่งในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เป็นอย่างดีไม่ว่าจะเป็นเวียดนาม กัมพูชา ลาวและพม่า ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของสายการบินตะวันออกกลางที่ตัดสินใจเข้ามาเปิดให้บริการอันเป็นที่มาของการขอเพิ่มเที่ยวบินในที่สุด โดยคาดว่าปีนี้จุดบินจากไทยไปตะวันออกกลางน่าจะมีการเติบโตถึง 45%
ล่าสุดสายการบินตะวันออกกลางอาทิ เอมิเรตส์ แอร์ไลน์ ก็มีการขอเพิ่มเที่ยวบินจากซัมเมอร์ที่แล้วซึ่งบินอยู่สัปดาห์ละ 14 เที่ยวบินเป็นสัปดาห์ละ 21 เที่ยวบิน รวมไปถึงสายการบินเอทิฮัต แอร์เวย์ ที่เพิ่มจากสัปดาห์ละ 4 เที่ยวบินเป็นสัปดาห์ละ 7 เที่ยวบิน
มาร์วาน โคลอยลัด ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายปฏิบัติการเชิงพาณิชย์ประจำภาคพื้นตะวันออกไกลและออสเตรเลีย สายการบินกาตาร์ ให้ความเห็นว่า ขณะนี้ปริมาณผู้โดยสารที่เดินทางระหว่างไทยและตะวันออกกลางมีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก กอปรกับมีสายการบินจากตะวันออกกลางเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นทำให้ทุกสายการบินต้องมีการปรับกลยุทธ์เพื่อช่วงชิงลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการปรับบนภาคพื้นดินและบนอากาศ
“กรุงเทพฯเป็น 1 ใน 12 จุดหมายปลายทางที่ต้องการให้บริการสำหรับเส้นทางตะวันออกไกล คาดว่าน่าจะเป็นร้อยละ 15 ของเครือข่ายการบินกาตาร์ในต่างประเทศทั้งหมด”มาร์วาน กล่าว
ปัจจุบันสายการบินกาตาร์ เปิดให้บริการเที่ยวบินจาก 10 เที่ยวบินต่อสัปดาห์เพิ่มขึ้นเป็น 14 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ หวังรองรับตลาดจากนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการเดินทางในเส้นทางไปและกลับในแถบเอเชียที่นับวันจะมีตัวเลขจะเพิ่มมากขึ้น
พลิกกลยุทธ์สู้
การเพิ่มเที่ยวบินให้มากขึ้นเพื่อขนถ่ายผู้โดยสารเป็นเพียงกลยุทธ์หนึ่งที่ถูกนำมาใช้ของสายการบินตะวันออกกลาง ขณะที่การปรับกลยุทธ์บนภาคพื้นดินและการใช้เครื่องบินที่ทันสมัยยังคงเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยส่งเสริมให้ธุรกิจประสบความสำเร็จอีกทางหนึ่ง
สอดคล้องกับที่ มร.โรฮาน เสนีวิรัตน์ ผู้จัดการเขตประจำประเทศไทยและกัมพูชาของสายการบินกาตาร์ กล่าวว่า การเพิ่มความสะดวกในการให้บริการสำหรับผู้โดยสารจำเป็นต้องเปิดสำนักงานสาขาที่ตั้งอยู่ใจกลางย่านธุรกิจ
นอกจากนี้การใช้เครื่องบินที่ทันสมัยรุ่น แอร์บัส A330-200 มีชั้นผู้โดยสารธุรกิจซึ่งสามารถปรับเก้าอี้เอนนอนได้ 160 องศาถึง 24 ที่นั่ง ขณะที่ชั้นประหยัดจะมีที่นั่งประมาณ 259 ที่นั่ง มาให้บริการคืออิมเมจที่จะสร้างความมั่นใจของผู้โดยสารได้ดีทีเดียว
อย่างไรก็ตามการพัฒนาสนามบินนานาชาติโดฮาแห่งใหม่ ที่สายการบินกาตาร์ คาดว่าจะเป้นศูนย์กลางการบินแห่งอนาคตในแถบภูมิภาคตะวันออกกลาง กำลังเริ่มปรับโฉมอาคารอามิรี เทอร์มินัล สำหรับเที่ยวบินระดับวีไอพี พร้อมด้วยลานจอดพิเศษ อาคารสำหรับขนส่งสินค้า โรงเก็บเครื่องบิน และองค์ประกอบอื่นๆของสายการบินและสนามบิน อาคารดังกล่าวจะมีโรงแรมประจำสนามบินใกล้กับอาคารที่พักผู้โดยสาร ขนาด 100 ห้องภายในอาคารที่พักผู้โดยสาร เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาเยือนรวมถึงผู้โดยสารที่รอเปลี่ยนเครื่อง
“ระยะแรกจะมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2552 เพื่อรองรับผู้โดยสาร 12 ล้านคนต่อปี และสนามบินจะเปิดดำเนินการเต็มรูปแบบในปี 2558 คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 4 เท่าตัวหรือประมาณ 50 ล้านคน”มร.โรฮาน กล่าวทิ้งท้าย
|
|
|
|
|