|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
 |
ปัจจัยลบนานัปการกระแทกใส่ธุรกิจบ้านจัดสรรอย่างไม่หยุดนิ่ง ส่งผลกำลังซื้อชะลอตัวยาว 3 ปีขึ้นไป จากเดิมตัดสินใจซื้อบ้านภายในครึ่งปี ชี้ใครแข็งแกร่งมีสิทธิ์รอด ใครอ่อนแอมีสิทธิ์ล่ม
ธุรกิจบ้านจัดสรรเป็นธุรกิจหนึ่งที่มักจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ จากภาวะเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นธุรกิจที่มักจะถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ร้ายทำให้เศรษฐกิจดิ่งเหวเสมอ แต่ในทางกลับกัน หากภาวะเศรษฐกิจไม่ดี จะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ตกต่ำได้
ไพโรจน์ สุขจั่น นายกสมาคมการขายและการตลาดอสังหาริมทรัพย์ และประธานกรรมการบริหาร กลุ่มบริษัท บัวทอง พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด กล่าวถึงภาพรวมของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ว่า เป็นปีที่มีปัจจัยลบรอบด้านมากระทบตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่างรุนแรง ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวมากขึ้น หากผู้ประกอบการรายใดสามารถปรับตัวและเดินต่อจนผ่านปีนี้ไปได้ก็เชื่อว่าจะสามารถอยู่รอดต่อไปได้ แต่ในทางตรงกันข้าม หากใครปรับตัวไม่ทันอาจจะต้องเลิกกิจการได้
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ดอกเบี้ย หรือแม้แต่การเมือง ยังไม่ได้รับการคลี่คลายไปในทางที่ดี โดยราคาน้ำมันยังผันผวนและมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นอีก ส่วนอัตราดอกเบี้ยยังมีโอกาสที่จะขึ้นอีกเล็กน้อย ขณะที่ปัญหาการเมืองยังอึมครึม ยังไม่มีใครกล้าการันตีว่า จะมีการจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ ล้วนเป็นตัวแปรที่สำคัญที่จะชี้เป็นชี้ตายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เพราะปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการชะลอการซื้อออกไป ในเบื้องต้นประมาณว่า จะทำให้ผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปนาน 3 ปี จากเดิมที่ใช้เวลาเพียงครึ่งปีเท่านั้น
ในขณะที่ผู้ประกอบการยังมีการพัฒนาสินค้าออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ตลาดบ้านจัดสรรเกิดขึ้นมากและทำให้เกิดภาวะซัปพลายเกิดขึ้นในเกือบทุกเซกเมนท์ ซึ่งภาวะดังกล่าวเริ่มเห็นชัดเจนตั้งแต่ปีก่อน
โดยเฉพาะ บ้านเดี่ยวที่มีราคา 8 ล้านบาทขึ้นไป และราคา 3-8 ล้านบาท ที่มีปริมาณมากกว่ากำลังซื้อ โดยในปี 2548 บ้านเดี่ยวราคา 8 ล้านบาทขึ้นไป มีซัปพลายมากกว่าดีมานด์ 1.23% ส่วนระดับราคา 3-8 ล้านบาท มีซัปพลายมากถึง 9.40% ขณะที่ปี 2549 มีซัปพลายเกิน 9.20% และคาดกว่าจะเพิ่มขึ้นอีก หากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากผู้บริโภคชะลอการซื้อออกไป
ส่วนทาวน์เฮาส์ก็มีซัปพลายมากกว่าดีมานด์เกือบทุกระดับราคา โดยในปีนี้ พบว่า ทาวน์เฮาส์ราคา 3-8 ล้านบาท มีซัปพลายเกินอยู่ 7.83% และปี 2550-2552 คาดว่าจะมีจำนวนซัปพลายมากกว่านี้ ขณะที่ตลาดคอนโดมิเนียมระดับราคา 8 ล้านบาทขึ้น และราคา 3-8 ล้านบาท มีซัปพลายเกิดขึ้นจำนวนมาก และคาดว่าจะสูงขึ้นไปอีกเท่าตัว
อย่างไรก็ตาม บ้านเดี่ยว และทาวน์เฮาส์ ที่มีราคาต่ำกว่า 3 ล้านบาท ยังเป็นที่ต้องการอีกมากและจะสามารถเติบโตไปได้อีก เพราะยังมีกำลังซื้อในตลาดดังกล่าวอีกมาก
ไพโรจน์ บอกว่า “แม้ว่าจะมีซัปพลายมากกว่าดีมานด์เกือบทุกเซกต์เมนท์ แต่ที่อยู่อาศัยที่ตั้งอยู่ในแนวระบบราง จะสามารถขยายตัวได้ต่อเนื่อง แต่ก่อนที่ผู้ประกอบการจะพัฒนาสินค้าใหม่ออกมา จะต้องศึกษาความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียด เพื่อพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการให้มากที่สุด เนื่องจากเชื่อว่าในช่วงครึ่งปีหลัง ปัจจัยลบด้านต่างๆ จะยังไม่คลี่คลายลง โดยเฉพาะราคาน้ำมัน อัตราดอกเบี้ย และการเมือง ซึ่งเป็นตัวแปรฉุดภาวะเศรษฐกิจไม่ให้ขยายตัวมากนัก ซึ่งจะกระทบชิ่งธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง”
ด้านพงษ์ศักดิ์ ชิวชรัตน์ ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ กล่าวว่า ปัจจุบันผู้บริโภคที่มีรายได้ระหว่าง 20,000 บาท แต่ไม่เกิน50,000 ต่อเดือน สามารถซื้อบ้านได้ในราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท จึงทำให้บ้านราคา 3 ล้านบาท เป็นที่ต้องการมาก ส่วนผู้ที่มีรายได้ไม่ถึง20,000บาทต่อเดือน อาจจะไปซื้อบ้านในโครงการที่ภาครัฐจัดหาให้ เช่น โครงการบ้านเอื้ออาทร บ้านของกรมธนารักษ์ ซึ่งจะมีราคาที่ไม่แพงและสามารถผ่อนจ่ายได้
ส่วนในเรื่องทำเลที่ผู้บริโภคให้ความสนใจมากที่สุด น่าจะเป็นโซนกรุงเทพฯตอนบนฝั่งซ้าย รองลงมาเป็นโซนกรุงเทพฯฝั่งขวา และกรุงเทพฯศูนย์กลางธุรกิจที่เริ่มที่จะได้รับความสนใจจากผู้บริโภคมากขึ้น เพราะเดินทางสะดวกและใกล้แหล่งคมนาคม
อย่างไรก็ตาม ยังมีเหตุผลสำคัญที่ยังไม่ตัดสินใจซื้อ เช่น ไม่มีเงินออม ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ข้อมูลบ้านที่จะซื้อ ไม่มั่นใจในทำเลและสภาพแวดล้อมและความไม่พร้อมในเรื่องสินเชื่อ เพราะตอนนี้กระแสเครดิตบูโรกำลังมาแรง ซึ่ง20% จากยอกซื้อบ้านมีเครดิตบูโร ทำให้สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อและยังเข้มงวดในการปล่อยด้วย
|
|
 |
|
|