|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
|
|
แบงก์ชาติปัดขอเสนอผู้ประกอบการบัตรเครดิตขอลดวงเงินผ่อนชำระขั้นต่ำจาก 10% เหลือ 50% ถามผู้ประกอบการกลับเป็นการช่วยลูกค้าหรือผู้ประกอบการกันแน่ แจงหากเห็นสัญญาณเอ็นพีแอลก็ให้เรียกลูกค้ามาปรับโครงสร้างหนี้ได้ ย้ำไม่สนับสนุนให้แก้หนี้เน่าโดยซุกหนี้ไว้ใต้พรม
นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึงกรณีที่สมาคมบัตรเครดิตได้ยื่นข้อเสนอเรื่องมายังธปท.เพื่อขอให้ลดเกณฑ์การผ่อนค่างวดขั้นต่ำรายเดือนของลูกค้าบัตรเครดิตจาก 10% ของยอดค้างชำระ เหลือ 5% ของยอดค้างชำระเนื่องจากเริ่มมีการผิดนัดชำระหนี้และเกรงว่าจะเป็นการทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้นว่า ในเรื่องดังกล่าวต้องมีการพิจารณาออกเป็น 2 มุมมอง ทั้งในกรณีที่อนุญาตให้ลดวงเงินชำระหนี้ขั้นต่ำให้และในกรณีที่ไม่พิจารณาลดวงเงินให้
ทั้งนี้ ในการพิจารณาต้องศึกษาให้ละเอียดด้วยว่าการลดวงเงินชำระหนี้รายเดือนขั้นต่ำ จาก 10% เหลือ 5% นั้น ในความจริงเป็นการช่วยเหลือฝ่ายใดกันแน่ระหว่างเป็นการช่วยเหลือลูกค้าบัตรเครดิตหรือเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการบัตรเครดิต ถ้าพิจารณาจากที่ว่าหากผ่อนชำระเดือนละ 10% ของวงเงินค้างชำระเมื่อรวมกับดอกเบี้ยแล้วคิดว่าผ่อน 12 เดือนจะหมด แต่หากผ่อนชำระเดือนละ 5% ดอกเบี้ยของประชาชนที่จะต้องผ่อนให้เงินค้างชำระเท่าเดิมจะเพิ่มขึ้นอีกมาก เพราะดอกเบี้ยจะเพิ่มขึ้นๆ ทุกเดือน เท่ากับเป็นการเพิ่มภาระหนี้ให้กับลูกค้าบัตรมากกกว่าจะลดภาระหนี้
นอกจากนั้น หากผู้ประกอบการบัตรเครดิตเห็นว่าลูกหนี้รายใดมีการผิดนัดชำระหนี้ที่อาจเกิดปัญหาขึ้นในอนาคตก็สามารถที่เรียกมาเพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ได้ ถือเป็นการลดเงินผ่อนส่งรายเดือน หรือยืดระยะเวลาการชำระหนี้ได้อยู่แล้ว ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ตั้งแต่กลางปี 2547 ธปท.ได้ออกกฎให้ผ่อนส่งรายเดือนขั้นต่ำ 10%ของยอดวงเงินค้างชำระได้ชี้แจ้งแล้วว่า เป็นการออกกฎเพื่อสร้างความระมัดระวังให้กับผู้ประกอบการมากขึ้น
ส่วนกรณีที่ว่า การปรับลดเหลือ 5% นั้นจะช่วยให้หนี้เอ็นพีแอลไม่เพิ่มขึ้นนั้น นายเกริก กล่าวว่า แม้ว่า เป้าหมายของ ธปท.จะเป็นการลดหนี้เอ็นพีแอลให้เหลือน้อยที่สุดก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่ว่าสนับสนุนให้มีการแก้หนี้เอ็นพีแอลด้วยการซุกปัญหาไว้ใต้พรม แต่ต้องการให้เกิดการแก้ไขปัญหาที่แท้จริงมากกว่า สำหรับลูกหนี้ที่แย่จริงๆ หากจำเป็นต้องเกิดก็ต้องเกิด เพราะจะทำให้แก้ไขปัญหาได้เร็วดีกว่าปล่อยให้คั่งค้างเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ
เป็นดินพอกหางหมูแล้วแก้หนี้ไม่ได้ ดังนั้น แม้ว่าสมาคมบัตรเครดิตจะอ้างถึงเรื่องลูกค้า และการลดหนี้เอ็นพีแอล ก็ไม่ใช่ว่าจะต้องให้เสมอไป แต่จะต้องพิจารณาทั้งทุกด้านอย่างเหมาะสมว่าแนวทางใดเป็นแนวทางที่ดีที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท.ได้พิจารณาในเรื่องดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว แต่ยังไม่มีการประกาศออกมาเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม คาดว่า ธปท.จะไม่อนุมัติให้สมาคมผู้ประกอบการบัตรเครดิตลดวงเงินชำระคืนหนี้ขั้นต่ำรายเดือนลง จาก 10% เป็น 5% ในขณะนี้
ก่อนหน้านี้นายนิวัตต์ จิตตาลาน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือเคทีซี กล่าวว่า ชมรมบัตรเครดิต และสมาคมธนาคารไทยได้เสนอไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ขอให้พิจารณาผ่อนปรนให้ลูกค้าบัตรเครดิตสามารถผ่อนชำระขั้นต่ำ 5% ต่อไปอีก ขณะเดียวกัน ก็ขอปรับขึ้นเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตด้วย จากปัจจุบันที่ธปท.กำหนดเพดานไว้ที่ไม่เกิน 18% ขณะที่ต้นทุนทางการเงินของธนาคารได้ปรับเพิ่มขึ้นไปมากแล้ว
"อัตราดอกเบี้ยในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) ได้ปรับขึ้นไปมากแล้ว ซึ่งก็ทำให้ต้นทุนทางการเงินของผู้ให้บริการเพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่เพดานดอกเบี้ย 18% นั้น ธปท.กำหนดตั้งแต่ตอนที่อัตราดอกเบี้ยอาร์พีอยู่ที่ 2% แต่ขณะนี้ขยับไปที่ 5%แล้ว ต้นทุนทางการเงินของเราก็ต้องสูงตามไปด้วย ซึ่งเรื่องนี้ขณะนี้ ธปท.ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนออกมา"นายนิวัตต์กล่าว
โดยอัตราค้างชำระสินเชื่อบัตรเครดิตของเคทีซี มีอัตราเพิ่มจาก 2.85% เป็น 3% ขณะที่สินเชื่อบุคคล เพิ่มจาก 8% เป็น 9% เนื่องมาจากความผันผวนของราคาน้ำมัน ภาวะเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้ประชาชนประชาชนมีความต้องการใช้บริการสินเชื่อมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของสินเชื่อเครดิต ดังนั้นเคทีซีต้องเพิ่มความระมัดระวังในการอนุมัติเนื่องจากที่ผ่านมาเริ่มเห็นสัญญาณอัตราค้างชำระที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัทได้ส่งเจ้าหน้าที่ติดตามทวงถามก็สามารถหยุดตัวเลขอัตราค้างชำระไม่ให้เพิ่มขึ้นได้ ทำให้เห็นว่าในสถานการณ์ขณะนี้จะต้องเพิ่มความระมัดระวัง จึงอนุมัติสินเชื่อบุคคลในสัดส่วนประมาณ 30% ของยอดขอสินเชื่อ ส่วนสินเชื่อบัตรเครดิตอนุมัติ 50% ของจำนวนผู้ขอ
|
|
|
|
|