Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538
วนารักษ์ เอกชัย กับวันที่ "ฟอร์ม" ของไอบีเอ็มอาจจะเปลี่ยนไป             
โดย ไพเราะ เลิศวิราม เพิ่มพล โพธิ์เพิ่มเหม
 

   
related stories

วนารักษ์ เอกชัย ผู้นำใหม่ไอบีเอ็ม ประเทศไทย"ถ้าคุณทำรีเอ็นจิเนียริ่ง ตั้ง 2-4 ปี คุณเจ๊งแน่"

   
www resources

โฮมเพจ ไอบีเอ็ม (ประเทศไทย)

   
search resources

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย, บจก.
วนารักษ์ เอกชัย
Computer




แทนที่วนารักษ์ เอกชัย ทายาทของตระกูลหนังสือพิมพ์ จะยึดวิชาชีพสายข่าวตามที่เขาได้สัมผัสมาตลอดชีวิต เพราะไม่ว่าจะเป็นสนิท เอกชัย บิดาของเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของหนังสือพิมพ์ "เดลินิวส์" และผู้ให้กำเนิดหนังสือพิมพ์ เดลิไทม์ และเสริมศรี เอกชัย ผู้เป็นมารดา คอลัมนิสต์ชื่อดัง เจ้าของนามปากกา "สนทะเล" และปัจจุบันยังเป็นกรรมการในบริษัทมติชนด้วย

รวมทั้ง "สนิทสุดา เอกชัย" บรรณาธิการข่าว Outlook หนังสือพิมพ์บางกอกโพลต์ ผู้เป็นพี่สาวคลุกคลีอยู่ในวิชาชีพนี้ทั้งสิ้น แต่วนารักษ์กลับเลือกเดินบนเส้นทางธุรกิจค้าคอมพิวเตอร์

วนารักษ์มีพี่น้องอีก 5 คน นอกจากสนิทสุดาที่มีชื่อเสียงในวงการหนังสือพิมพ์แล้ว เขายังมีน้องสาวที่มีชื่อเสียงในวงสังคม "สนิทพิมพ์ เอกชัย" ดีไซเนอรื่อดัง เจ้าของห้องเสื้อชั้นสูง "จีน่า"

หลังจากจบการศึกษาในระดับมัธยมต้นที่เซนต์ดอมินิกแล้ว วนารักษ์ถูกส่งไปศึกษาในระดับไฮสกูลที่สหรัฐอเมริกา และได้ศึกษาต่อจนจบทางด้านปรัชญาและรัฐศาสตร์จาก Edgewood University สหรัฐอเมริกา

ในระหว่างที่เรียนอยู่ในต่างประเทศเขามีโอกาสบินกลับมาเยี่ยมบ้านตลอดทุกปีในช่วงปิดเทอม แต่แทนที่เขาจะใช้ชีวิตในช่วงหยุดเทอมกับการท่องเที่ยวเช่นเด็กหนุ่มในวัยเดียวกัน แต่วนารักษ์กลับใช้วันว่างเหล่านี้ไปกับการฝึกงานข่าวด้านอาชญากรรมที่หนังสือพิมพ์เดลิไทม์

จนกระทั่งเรียนจบกลับมา เขาได้เริ่มงานนักข่าวอย่างเต็มตัว โดยช่วยงานหนังสือพิมพ์ของครอบครัว ซึ่งวนารักษ์ยอมรับว่าชอบในวิชาชีพนี้ แต่การที่อยากลองงานใหม่ๆ ดูบ้าง ทำให้เขาเริ่มมองหางานใหม่ๆ

ไอบีเอ็ม ประเทศไทย บริษัทค้าคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรที่หมายตาของผู้จบการศึกษา แม้ว่าเขาจะไม่ได้จบทางด้านคอมพิวเตอร์โดยตรง วนารักษ์จึงไม่ลังเลที่จะไปเริ่มงาน เมื่อได้รับการเรียกตัวในตำแหน่งเจ้าหน้าที่การตลาด ซึ่งในสมัยนั้นมร.แพท ปีเตอร์สัน ผู้บริหารที่บริษัทแม่ส่งมาดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการผู้จัดการ

หลังจากการตัดสินใจร่วมงานในไอบีเอ็มไม่นานเขาเริ่มติดกับตัวองค์กรจึงไม่คิดที่จะกลับมาหาวิชาชีพผู้สื่อข่าวอีกต่อไป แม้ว่าเขายืนยันว่าจะยังคงรักในอาชีพนักข่าวก็ตาม ซึ่งการตัดสินใจในครั้งนั้น ได้ทำให้ชีวิตการทำงานของเขาพลิกผันไปอย่างไม่คาดฝัน

เวลา 15 ปีในไอบีเอ็ม วนารักษ์ได้รับมอบหมายงานในด้านต่างๆ ที่แตกต่างกันออกไป หลังจากไต่เต้าจากเจ้าหน้าที่การตลาดดูแลสินค้าสำนักงาน เขาได้รับมอบหมายให้มาดูทางด้านธุรกิจทั่วไป ตลอดจนคู่ค้า ก่อนที่จะมารับผิดชอบการสอนหนังสือผู้บริหาร หรือแมเนจเมนต์ เทรนนิ่ง ซึ่งเขาใช้เวลาในการทำงานที่นี่เป็นเวลาถึง 3 ปี ก่อนที่จะมาดูลูกค้าราชการและธุรกิจทางด้านธนาคารและไฟแนนซ์ ในตำแหน่งของผู้จัดการทั่วไปของสายธุรกิจนี้

จนกระทั่งในเดือนธันวาคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่ชาญชัย จารุวัสตร์ ได้ตัดสินใจยื่นใบลาออก และเป็นวันที่พลิกผันชีวิตของวนารักษ์ด้วย เพราะเขาคือคนที่บริษัทแม่ได้มอบหมายให้ขึ้นรับตำแหน่งสูงสุด

วนารักษ์เป็นคนตัวสูงใหญ่ สูบบุหรี่มาร์ลโบโร พูดจากันเองไม่ค่อยวางท่าหรือวางฟอร์มนัก และความที่เขาค่อนข้างคุ้นเคยกับคนหนังสือพิมพ์ทำให้เขารู้จักที่จะสื่อกับสาธารณชนอย่างรวดเร็วด้วยท่าทีง่ายๆ

การเริ่มต้นของวนารักษ์ในวันนี้อาจทำให้ภาพหรือ "ฟอร์ม" ของไอบีเอ็มซึ่งเคยดูขรึมและเต็มไปด้วยมาดเปลี่ยนแปลงไป

แต่เขาจะนำพาไอบีเอ็ม ประเทศไทย กลับไปสู่ความรุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่งหรือไม่ ยังเป็นคำถาม

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us