Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน29 มิถุนายน 2549
จีสตีลหลบทำเทนเดอร์หุ้นNSM             
 


   
www resources

โฮมเพจ จี สตีล

   
search resources

Metal and Steel
Stock Exchange
จี สตีล, บมจ.




โบรกเกอร์ประเมินสถานการณ์ บริษัทจีสตีลอาจจะไม่ทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์หลังจากมีแผนเข้าไปซื้อหนี้จากนครไทยสตริปมิลจำนวน 33% ชี้ช่องในแง่ของการถือหุ้นไม่ถึง 25% หรืออาจจะขอผ่อนผันจากก.ล.ต.หลังจากเข้าไปปรับโครงสร้างหนี้ ขณะที่ผู้บริหารบริษัทจีสตีลเตรียมเชิญมูดี้ส์ และเอสแอนด์พีรับฟังข้อมูลในเดือนส.ค.นี้หลังจากการประชุมผู้ถือหุ้นผ่านไปแล้ว

แหล่งข่าวจากโบรกเกอร์เปิดเผยว่า จากกรณีที่บริษัทจีสตีล จำกัด(มหาชน)หรือ GSTEEL เข้ามาลงทุนในสิทธิเรียกร้องประเภทมีหลักประกันที่สามารถแปลงเป็นทุนได้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัท นครไทยสตริปมิล จำกัด (มหาชน) หรือNSM ในจำนวนประมาณ 180 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยเป็นการซื้อจากเจ้าหนี้ของบริษัทนครไทยสตริปมิลในสัดส่วน 33%นั้น มองว่าถ้าเป็นไปตามเกณฑ์การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์เมื่อถึงระดับ 25% ขึ้นไปบริษัทจีสตีล จะต้องทำคำเสนอซื้อหรือเทนเดอร์ออฟเฟอร์จากนักลงทุนรายย่อย ซึ่งถ้าทำคำเสนอซื้อก็จะต้องใช้เงินทุนอีกจำนวนมาก

อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัทจีสตีล มีแนวทางที่จะเลือกหลายแนวทางก่อนที่จะถึงระดับ 33% ภายในระยะเวลา 18 เดือน เช่นบริษัทจีสตีลอาจจะถือหุ้นไม่ถึง 25% โดยหุ้นส่วนที่เหลืออาจจะดึงพันธมิตรเข้ามาถือหุ้นแทนก็ได้ หรือในกรณีที่ถือในระดับ 33% บริษัทก็อาจจะยื่นขอสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือ ก.ล.ต.เพื่อขอผ่อนผันไม่ทำคำเสนอซื้อจากรายย่อยก็ได้ เพราะในกรณีนี้ถือเป็นการเข้าไปปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อที่จะช่วยทำให้บริษัทนครไทยสตริปมิลมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสำนักงานก.ล.ต.ว่าจะให้ความเห็นชอบหรือไม่ แต่ในอดีตที่ผ่านมานั้นมีหลายกรณีที่บริษัทมีการปรับโครงสร้างหนี้และเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นใหญ่และสำนักงานก.ล.ต.ก็ให้ความเห็นชอบในการผ่อนผันไม่ต้องทำคำเสนอซื้อ

ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) มองว่าทาง GSTEEL จะไม่ใช้สิทธิเต็มจำนวน โดยน่าจะเข้าถือหุ้นนครไทยสตริปมิล ต่ำกว่า 25% เพื่อหลีกเลี่ยงการทำเทนเดอร์ออฟเฟอร์

ตามปกติแล้วในแง่บัญชีการเข้าถือหุ้นต่ำกว่า 20% จะรับรู้รายได้ในรูปเงินปันผลอย่างเดียว ถ้าหากถือหุ้นระหว่าง 20%-50% จะรวมเข้ามาในรูปส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุน มองว่าการเข้าถือหุ้นในบริษัทนครไทยสตริปมิล ช่วง 6 เดือนแรก 19% จะยังไม่รับรู้รายได้จากเงินปันผล เนื่องจากคาดหมายว่าบริษัทนครไทยสตริปมิลยังไม่จ่ายเงินปันผล แต่ในระยะสั้นจะเกิดผลลบคือ จำนวนหุ้นที่เพิ่มขึ้นประมาณ 2,200 ล้านหุ้น เป็นประมาณ 11,900 ล้านหุ้น จะส่งผลลบในแง่ Dilution effect ประมาณ 19% และภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 120 ล้านเหรียญ หรือ ประมาณ 4,560 ล้านบาท ทำให้ต้องมีภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น

ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์บริษัทหักทรัพย์ นครหลวงไทย มองในเชิงบวกว่า เนื่องจากลักษณะของกระบวนการผลิตของสองบริษัทมีความใกล้เคียงกันและหลังการเป็นพันธมิตรจะทำให้มีกำลังการผลิตรวมสูงสุดของประเทศที่ 4.9 ล้านตันต่อปี

นายธนาธิป วิทยะสิรินันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทเซจแคปปิตอล จำกัดในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินบริษัทจีสตีลเปิดเผยว่า ตามแผนการเข้าไปถือหุ้นของบริษัทจีสตีลในบริษัทนครไทยสตริปมิลนั้น จะกำหนดช่วงเวลาไว้ 3 ช่วงคือในช่วงแรก 45 วันจะมีการแปลงหนี้เป็นทุนและถือหุ้นในสัดส่วนประมาณ 12% ช่วงที่สองคือช่วง 6 เดือนในสัดส่วน 19% และช่วงระยะเวลา 18 เดือนจะแปลงหนี้เป็นทุนเพื่อถือในสัดส่วน 33% ตามที่กำหนดไว้ แม้ว่าบริษัทจีสตีลจะเข้าไปซื้อหนี้จากเจ้าหนี้ในครั้งนี้แล้ว แต่เจ้าหนี้ของบริษัทนครไทยสตริปมิลก็ยังถือสิทธิในการแปลงหนี้เป็นทุนอีกจำนวน 30%

ทั้งนี้การเข้ามาร่วมถือหุ้นเพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในครั้งนี้จะส่งผลดีต่อทั้งบริษัทจีสตีลและบริษัทนครไทยสตริปมิลในแง่ของการมีอำนาจในการต่อรองซื้อสินค้าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ก็มีประโยชน์ในแง่ของการขายเหล็กอีกด้วย รวมถึงในแง่ของการขนส่ง เพราะโรงงานของทั้ง 2 บริษัทอยู่ใกล้เคียงกัน ดังนั้นจึงจะช่วยในแง่ของต้นทุนขนส่งให้ลดลงอีกด้วย

"ที่ผ่านมาบริษัทนครไทยสตริปมิลนั้นจะมีสภาพคล่องไม่มาก แต่เมื่อบริษัทจีสตีลเข้าไปถือหุ้นทำให้จะช่วยทำให้เสริมสภาพคล่องได้ และจะช่วยทำให้เกิดผลดีต่อทั้ง 2 บริษัท เพราะเชื่อว่าจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินธุรกิจลดลง ขณะเดียวกันในแง่ของรายได้ก็มีโอกาสเพิ่มขึ้นแต่คงจะยังไม่เกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ"นายธนาธิปกล่าว

แหล่งผู้บริหารระดับสูงจากบริษัท จีสตีล จำกัด (มหาชน) หรือ GSTEEL กล่าวว่า บริษัทจะมีการเชิญ มูดี้ส์อินเวสเตอร์สเซอร์วิส หรือ มูดี้ส์ และเอสแอนด์พี เข้ามาเยี่ยมชมบริษัทภายในเดือนสิงหาคมนี้ หลังจากที่บริษัทมีการจัดประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 2 สิงหาคมเพื่อเป็นการให้ข้อมูลใหม่ๆของบริษัทให้ทั้ง 2 แห่งได้ทราบข้อมูล แต่ถือว่าการเชิญสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทั้ง 2 แห่ง มาให้ข้อมูลนั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะ เมื่อปีที่ผ่านมาทั้ง 2 สถาบันก็มีการจัดอันดับให้กับบริษัท ก็เหมือนกับการเป็นการอัพเดทข้อมูลเพราะครบปีแล้ว

"หลังจากที่บริษัทมีการประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 2 สิงหาคมแล้ว บริษัทจะมีการเชิญมูดี้ส์ และเอสแอนด์พี มาที่บริษัทเพื่อเป็นการอัพเดทข้อมูลของบริษัท เนื่องจาก บริษัทสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขต่างได้แล้ว หลังจากที่มีการประชุมผู้ถือหุ้น และบริษัทไม่อยากให้ความเห็นว่าหลังจาการเข้ามาทราบข้อมูลบริษัทแล้วผลจะเป็นอย่างไร เพราะ ขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย”แหล่งข่าวกล่าว

ขณะนี้บริษัทไม่มีแผนที่จะมีการหาพันธมิตรทางธุรกิจใหม่หลังจากที่เข้าไปลงทุนในสิทธิเรียกร้องประเภทมีหลักประกันฯของบริษัทนครไทยสตริปมิลแล้ว แต่ในระยะยาวนั้นก็อาจเป็นไปได้ที่จะมีการหาพันธมิตร ซึ่งบริษัทก็ไม่จำกัด เฉพาะพันธมิตรด้านผู้ผลิตเหล็กเท่านั้น อาจจะเป็นพันธมิตรด้านการเงินก็ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us