Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538
ยามาฮ่ากลัว "พรเทพ"ผู้ขายทุกอย่างที่ขวางหน้า ?             
โดย เดือนเพ็ญ ลิ้มศรีตระกูล สันทิฏฐ์ สมานฉันท์
 

   
related stories

ยามาฮ่าในเงื้อมมือคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช

   
www resources

โฮมเพจ-ยามาฮ่า มอเตอร์
โฮมเพจ บริษัท สยามกลการ จำกัด

   
search resources

สยามกลการ, บจก.
ยามาฮ่า มอเตอร์, บจก.
พรเทพ พรประภา
Motorcycle




ทำไมยามาฮ่าไม่ต่อสัญญาความร่วมมือทางเทคนิคกับสยามยามาฮ่า ซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยสยามกลการ หรือพูดง่ายๆ ทำไมยามาฮ่า มอเตอร์ ไม่เลือกสยามกลการซึ่งเป็นคู่ค้าเก่าแก่กันมานานกว่า 30 ปี ดูเหมือนจะเป็นคำถามที่ทุกฝ่ายพยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง หรือหากจะตอบก็ตอบแบบเลี่ยงๆ

โดยเฉพาะนายซาโตชิ วาตานาเบ้ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ยามาฮ่า มอเตอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งน่าจะเป็นผู้ที่ตอบคำถามนี้ได้ดีที่สุด ก็ปฏิเสธที่จะตอบเมื่อถูกสื่อมวลชนถามเอาตรงๆ ในวันแถลงข่าวประกาศการร่วมธุรกิจกับกลุ่มเคพีเอ็นเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2538

ฝ่ายนายเกษม ณรงค์เดช ประธานกลุ่มเคพีเอ็น ซึ่งสวมหมวกอีกใบในฐานะผู้จัดการใหญ่สยามยามาฮ่าตอบแทนอย่างอ้อมๆ ว่า การไม่ต่อสัญญาครั้งนี้เป็นสิทธิที่ยามาฮ่า มอเตอร์ จะกระทำได้โดยชอบธรรม เพียงแต่แจ้งให้สยามยามาฮ่ารับทราบล่วงหน้าก่อน 1 ปี ก็ถือว่าการดำเนินธุรกิจร่วมกันเป็นอันสิ้นสุดลง

ยิ่งด้านนายพรเทพ พรประภา ผู้จัดการใหญ่ของสยามกลการเองแล้วการที่ยามาฮ่า มอเตอร์ ไม่ต่อสัญญากับสยามยามาฮ่านั้นเป็นเรื่องที่ทำให้เขาแทบ "ช็อก" เพราะไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้น

ดังนั้นเมื่อต้องการค้นหาคำตอบกันจริงๆ ก็คงต้องย้อนกลับไปดูอดีตที่ผ่านมาว่าแต่ละฝ่ายทำอะไรไว้ประทับใจกรรมการมากน้อยแค่ไหน

เริ่มจากบริษัทสยามกลการ จำกัด ซึ่งมีนายพรเทพ พรประภา เป็นแม่ทัพใหญ่ในปัจจุบันนั้นค่อนข้างเสียเปรียบในเรื่องอดีต แม้ว่าจะสามารถสร้างภาพพจน์ให้โดดเด่นขึ้นมาได้ในช่วงหลัง โดยมีโครงการ "Think Earth" เป็นธงนำ

แต่ว่ากันว่าการบริหารในสยามกลการเป็นที่สะพรึงกลัวแก่ฝ่ายยามาฮ่า มอเตอร์ ยิ่งนัก จนกลายเป็นสาเหตุหลักที่ยามาฮ่า มอเตอร์ เลือกที่ดำเนินธุรกิจร่วมกับเคพีเอ็นแทน

พรเทพ พรประภา เข้ามาบริหารในสยามกลการต่อจากคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช ซึ่งถูกลดบทบาทลง โดยถูกดันไปนั่งในตำแหน่งรองประธานบริษัทเมื่อช่วงปลายปี 2536 หลังจากความขัดแย้งในสยามกลการสุกงอมเต็มที่

ทันทีที่พรเทพเข้ามาบริหารงานในบริษัท สยามกลการ สิ่งแรกที่เขาทำคือ การเปลี่ยนระบบจัดจำหน่ายจากสาขามาเป็นดีลเลอร์ โดยการขยายสาขา 117 แห่งทั่วประเทศให้แก่นักลงทุนท้องถิ่นที่สนใจ

ถ้าถามว่าการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดจำหน่ายจากสาขามาเป็นดีลเลอร์นั้นดีและเหมาะสมหรือไม่ คงเป็นเรื่องที่พูดกันลำบากเพราะหลักการบริหารที่จะนำมาใช้มันแตกต่างกัน แต่ที่แน่ๆ ภาพพจน์ที่ยิ่งใหญ่ของสยามกลการถูกลดทอนลงแน่

นอกจากนี้ยอดการจำหน่ายรถยนต์นั่งของนิสสันในยุคพรเทพเป็นผู้บริหารยังลดต่ำลงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน กล่าวคือลดลงถึง 76% ทั้งๆ ที่คู่แข่งสำคัญอย่างโตโยต้า ฮอนด้า มิตซูบิชิ สามารถประคองตัวอยู่ได้ ยังดีที่ได้รถกระบะเข้ามาช่วยกู้ยอดขายไว้ได้ มิฉะนั้นตัวเลขการขายของนิสสันในปีปีที่ผ่านมาคงดูไม่จืด

ความตกต่ำของรถยนต์นั่งนิสสันอย่างมโหฬาร ทั้งๆ ที่สภาพเศรษฐกิจของประเทศไม่ได้ตกต่ำขนาดนั้น จึงน่าจะทำให้ยามาฮ่า มอเตอร์ เห็นวี่แววอะไรบางอย่างอยู่บ้าง

เหตุการณ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับสยามกลการเมื่อเร็วๆ นี้ ก็คือการขายสินเชื่อจำนวน 7,000 ล้านบาทของบริษัทให้กับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซิทก้า จำกัด โดยอ้างว่าความเสี่ยงสูง อาจจะเก็บเงินไม่ได้

ทั้งๆ ที่โดยหลักแล้วสินเชื่อถือว่าเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงบริษัทรถยนต์มากกว่ายอดขายรถยนต์แต่ละเดือนเสียอีก เพราะโดยธรรมชาติแล้วการขายรถยนต์จะมีช่วงการขายที่ไม่แน่นอน บางช่วงขายได้มากบางช่วงขายได้น้อย ดังนั้นดอกเบี้ยจากการปล่อยสินเชื่อจะเป็นรายได้หลักที่นำไปใช้จ่ายภายในบริษัท

นอกจากนี้พรเทพยังมีแนวคิดที่จะหันไปทำธุรกิจสายอื่นที่แตกต่างออกไปจากอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่สยามกลการดำเนินการอยู่มากขึ้น อาทิ การเข้าไปถือหุ้นในบงล.ซิทก้า การเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ทั้งนี้เพื่อสร้างความหลากหลายให้แก่องค์กรและยังสร้างภาพการเป็นบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนลอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าช่วงปีกว่าที่พรเทพเข้ามาบริหารงาน สยามกลการเปลี่ยนโฉมหน้าไปจากบริษัทรถยนต์ระดับชาติ ชนิดไม่เหลือเค้า

แต่หากย้อนกลับมาดูธุรกิจในเครือเคพีเอ็นของเกษมและคุณหญิงพรทิพย์ ณรงค์เดช จะเห็นว่าแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ ช่วง 24 ปีที่เกษมเข้าไปรับผิดชอบบริษัท สยามยามาฮ่านั้นเขาสร้างอาณาจักรเคพีเอ็นให้ยิ่งใหญ่ขึ้นทุกวัน ปัจจุบันกลุ่มเคพีเอ็นมีบริษัทในเครือทั้งสิ้นรวมแล้วไม่น้อยกว่า 30 บริษัท (ดูตารางเครือข่ายธุรกิจของ "เคพีเอ็น" กรุ๊ป ประกอบ) มีทั้งกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์และรถยนต์เป็นหลัก นอกจากนี้ยังมีกลุ่มการค้า กลุ่มบริการและกลุ่มอื่นๆ อีก ซึ่งดูจะมีทิศทางชัดเจนกว่าสยามกลการยามนี้

ประกอบกับกระแสข่าวที่ว่าพรเทพ พรประภา พยายามที่จะดึงสยามยามาฮ่ากลับไปบริหารงาน จึงเป็นตัวกระตุ้นให้ยามาฮ่า มอเตอร์ ต้องเร่งตัดสินใจว่าเขาจะเลือกใคร เพราะหากไม่ตัดสินใจอะไร มัวปล่อยให้ตาอยู่มาคว้าเอาพุงไปกิน ก็จะกระทบกระเทือนไปถึงยอดขายและภาพพจน์ของยามาฮ่าซึ่งคงต้องใช้เวลานานกว่าจะพลิกฟื้นกลับมาได้

ที่สำคัญจากในอดีต ผู้ที่สร้างชื่อ "ยามาฮ่า" ขึ้นในวงการมอเตอร์ไซค์เมืองไทยน่าจะเป็น "เกษม ณรงค์เดช" เสียมากกว่า เพราะอย่างน้อยพรเทพก็มาทีหลัง

ด้วยสายสัมพันธ์อันยาวนานกับเกษม และเมื่อต้องตัดสินใจเลือกข้างในสถานการณ์ที่กำลังร้อนระอุเช่นนี้

ยามาฮ่า มอเตอร์จึงตัดสินใจได้รวดเร็วเป็นพิเศษ

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us