Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page








 
ผู้จัดการรายวัน28 มิถุนายน 2549
กสิกรฯชี้ดบ.เฟดมีโอกาสแตะ5.50%             
 


   
www resources

โฮมเพจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

   
search resources

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, บจก.
Interest Rate
พิศาล มโนลีหกุล




ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้เฟดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยไปถึงระดับ 5.50% แม้ว่าจะปรับขึ้นไปแล้วในการประชุมวันที่ 28-29มิ.ย.นี้ หากแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับที่สูง โดยล่าสุดเดือนพฤษภาคมยังอยู่ในระดับ 2.4% สูงเกินขอบบนที่ 2.0% ระบุหากดอกเบี้ยเฟดปรับขึ้นกว่า 5.5% ธปท.ต้องปรับตามแน่ เพราะกระทบต่อเงินทุนไหลออก

นายพิศาล มโนลีหกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ในการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) พรุ่งนี้ คาดว่าเฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% เป็น 5.25% หลังจากนั้นในเดือนส.ค. ก็คงยังต้องจับตาว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ ซึ่งหากอัตราดอกเบี้ยสหรัฐฯ อยู่ที่ 5.25% ก็ไม่น่าจะส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องปรับอัตราดอกเบี้ยตาม เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมากกว่านี้

ทั้งนี้ ถ้าเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปในระดับไม่เกิน 5.5% ก็ไม่น่าจะส่งผลต่อดอกเบี้ยนโยบายของไทย แต่หากปรับขึ้นดอกเบี้ยเกิน 5.5% ธปท.ก็คงจะต้องพิจารณาถึงผลกระทบต่อเงินทุนไหลเข้า-ออกด้วย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยของเฟดน่าจะอยู่ในระดับสูงสุดที่ 5.5% เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ

ขณะที่รายงานจากศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินจากการออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับภาวะเงินเฟ้ออย่างต่อเนื่องถี่เกินปกติของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของเฟด โดยเฉพาะภายหลังการประกาศข้อมูลอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทางด้านผู้บริโภคในเดือนพฤษภาคมที่เพิ่มขึ้นมาที่ 2.4% ซึ่งสูงเกินขอบบนที่ 2.0% ของกรอบที่เฟดจะยอมรับได้ ทำให้บ่งชี้ว่าการตัดสินใจนโยบายอัตราดอกเบี้ยของเฟดในการประชุมรอบที่ 4 ของปีในวันที่ 28-29 มิถุนายน 2549 นี้ เฟดคงจะเทน้ำหนักหลักให้กับประเด็นเรื่องแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อที่ยังคงมีระดับสูง

ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯอาจมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงในช่วงที่เหลือของปี 2549 อันเป็นผลจากปัจจัยหนุนการใช้จ่ายของผู้บริโภคที่กำลังจะหมดไป และผลกระทบจากการดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ยเข้มงวดถึง 2 ปีของเฟดที่คงจะเริ่มปรากฏให้เห็นชัดเจนมากขึ้น แต่การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ของเฟดในการประชุมวันที่ 28-29 มิถุนายน ก็คาดว่าคงจะไม่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ต้องเข้าสู่ภาวะถดถอย ในอีกทางการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็นผลดีเมื่อคำนึงถึงภาวะความไม่สมดุลเกี่ยวกับการใช้จ่ายที่เกินตัวของผู้บริโภคสหรัฐฯ

ดังนั้น คาดว่าจึงเฟดคงจะเลือกดำเนินนโยบายในลักษณะป้องกัน (Pre-emptive) ด้วยการเดินหน้าปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% จาก 5.00% มาที่ 5.25% ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้มองข้ามโอกาสที่เฟดอาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยด้วยขนาดถึง 0.50% มาที่ 5.50% ในการประชุมรอบนี้ด้วยเช่นกัน

สำหรับผลกระทบต่อตลาดการเงินนั้น ปัจจัยสำคัญคงจะอยู่ที่ขนาดการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟด และแถลงการณ์หลังการประชุม ซึ่งจะบ่งชี้ถึงมุมมองทางด้านเศรษฐกิจของเฟดและเป็นสิ่งที่ตลาดจะนำไปคาดการณ์ต่อถึงทิศทางอัตราดอกเบี้ย Fed Funds ในระยะข้างหน้า โดยหากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีก 0.25% ตามที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาด เงินดอลลาร์ฯ อาจจะไม่ได้รับปัจจัยหนุนมากนัก ในทางตรงกันข้าม หากเฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแรงกว่าที่คาด และยังส่งสัญญาณว่าจะเดินหน้าปรับขึ้นต่ออีก เงินดอลลาร์ฯ ก็อาจจะมีแรงหนุนให้ปรับแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น

ส่วนทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยนั้น นอกเหนือไปจากน้ำหนักหลักทางด้านสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจในประเทศแล้ว หากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดมีขนาดที่มากกว่าการคาดการณ์ตามสมมติฐานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ก็อาจจะมีผลกระทบตามมาต่อการพิจารณาทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยในระยะข้างหน้าได้เช่นเดียวกัน   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us