Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2549
ทุนแห่งความรู้             
โดย วิรัตน์ แสงทองคำ
 


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารไทยพาณิชย์
โฮมเพจ เครือซิเมนต์ไทย
โฮมเพจ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

   
search resources

ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.
เครือซิเมนต์ไทย
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์




หมายเหตุ : ข้อเขียนชิ้นนี้คัดย่อมาจากข้อสังเกตของผม ที่วิจารณ์งานวิจัยเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (CPB) ของจุฬาฯ ในวงแคบๆ เมื่อปลายปีที่แล้ว เห็นว่าทันสมัยและสอดคล้องกับนัยของสถานการณ์ปัจจุบัน

การอรรถาธิบายยุทธศาสตร์ CPB ในปัจจุบัน มีความซับซ้อนมากพอควร คำว่า "ทุน" ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ 25 ปีที่แล้ว คงจะไม่สามารถทำให้เรื่องนี้น่าสนใจ และสมเหตุสมผลได้เท่าที่ควร แนวคิดว่าด้วย "ทุน" ที่มีพัฒนาการอย่างมาก ควรให้ความสำคัญกลไกซับซ้อน การจัดการ และองค์ความรู้ และโดยเฉพาะการพัฒนาทางเทคโนโลยี ที่สำคัญทุนมีพลวัตสัมพันธ์กับระบบสังคมเศรษฐกิจ ตั้งแต่ระดับชุมชน ภูมิภาค และระดับโลก แนวคิดนี้น่าจะสอดคล้องกับสภาพสังคมไทยปัจจุบัน มิฉะนั้นคงเป็นเรื่องยากที่จะตอบคำถามได้อย่างครอบคลุม

ยิ่งไปกว่านั้นผมเชื่อว่า ผลของการศึกษาวิจัยย่อมมีบทเรียนที่ผมเรียกว่า "ทุนแห่งความรู้" ที่มีคุณค่าของสังคมด้วย

จากการศึกษาพัฒนาการ CPB อย่างต่อเนื่องมากว่า 20 ปี บทเรียนสำคัญบทหนึ่ง คือ การสะสมและพัฒนาของทุนที่ไม่มี "องค์ความรู้" เป็นผลที่เกิดขึ้นมา เช่นเดียวกับตัวเลขของสินทรัพย์ กำไร หรือ "ความยิ่งใหญ่" และ "อิทธิพล" ของกลุ่มทุน การสะสมทุน และการพัฒนาเช่นว่านั้น ก็ดำเนินไปอย่างไม่ยั่งยืนเท่าที่ควร

60 ปีแรกของปูนซิเมนต์ไทยอยู่ภายใต้การบริหารของชาวเดนมาร์ก ในช่วงแรกการลงทุนเป็นเงินทุนของพระคลังข้างที่ แต่หากไม่มีชาวเดนมาร์กที่มีความรู้เรื่องการผลิตซีเมนต์ และเครือข่ายการเงิน เครือข่ายการค้าในยุคอาณานิคมหรือ European Age (ซึ่งระยะหลังๆ ผมชอบคำนี้) กิจการนี้ก็คงไม่เกิดขึ้นและขยายตัว ในช่วงต่อมาหากคณะราษฎรไม่เข้ามาแทรกแซงกิจการนี้ โดยพยายามให้คนไทยเข้ามามีส่วนร่วมบริหาร ก็คงไม่มีความต่อเนื่อง เช่นเดียวกัน เมื่อมีการเพิ่มเติมด้วยมืออาชีพคนไทยที่มีประสบการณ์บริหารจากบริษัทต่างชาติในช่วงการขยายตัวตั้งแต่ปี 2515 ความต่อเนื่องของบุคลากรของเครือซิเมนต์ไทย น่าจะเป็นคำอธิบายที่มีน้ำหนักพอประมาณ ในการสะสมและพัฒนาทุนอย่างต่อเนื่องของเครือซิเมนต์ไทยมาจนถึงทุกวันนี้

ในอีกแง่หนึ่งตั้งแต่ปี 2535 มืออาชีพรุ่นใหม่ของธนาคารไทยพาณิชย์ มีความเชื่อมั่นตนเองอย่างสูงว่า สามารถอาศัยความชำนาญด้านการเงินก้าวผ่านไปสู่การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และสื่อสารมีเดียได้ ทั้งๆ ที่มีทุน และ "ความเชื่อถือ" สนับสนุนอย่างเต็มเปี่ยม แต่แล้วธุรกิจที่สร้างขึ้นใหม่ ล้วนมีปัญหาจนต้องถอนตัวออกมา ด้วยการลงทุนที่แทบจะเรียกได้ว่า สูญเปล่า ในที่สุด วันนี้เริ่มต้นใหม่ ใช้ความรู้จากสิงคโปร์ (กรณี Primus International) บริหารธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือแม้กระทั่ง CPB เองที่ไม่มีคนมีความรู้ด้าน Portfolio Management และ Property Investment จึงต้องใช้ฝรั่งที่มีประสบการณ์ด้านนี้ (ทั้งนี้ยังไม่รวมกรณีธนาคารไทยพาณิชย์เองก็จำเป็นต้องจ้างฝรั่งมาบริหารงานใหม่ๆ ด้วย) มาปรับปรุงองค์กรให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย ดูเหมือนจะมีแนวทางเช่นเดียวกับ Crown Estate ของอังกฤษก็เป็นได้ (ดู www.crowne state.co.uk)

เครือซิเมนต์ไทยปรับยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ภายหลังวิกฤติ ด้วยการถอนตัวออกจากธุรกิจยานยนต์ มิใช่เพราะธุรกิจไม่ทำกำไร หากเครือซิเมนต์ไทยมองว่าไม่สามารถเป็นเจ้าของหรือมีส่วนในทุนที่มีคุณค่าที่สุดของกิจการร่วมทุนเหล่านี้ได้ ในเรื่องตราสินค้าและการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์

หลังวิกฤติการณ์ บุคลากรจากเครือซิเมนต์ไทยมีบทบาทต่อ CPB มากขึ้น แทนที่จะเป็นธนาคารไทยพาณิชย์ ไม่ว่าจะเป็นกรณี ชุมพล ณ ลำเลียง (ความรู้นักการเงินของผู้กู้ คนละเรื่องกับความรู้นักการเงินของผู้ให้กู้) ในช่วงการแก้วิกฤติธนาคารไทยพาณิชย์จนถึงนักการเงินของเครือซิเมนต์ไทยคนหนึ่ง (อวิรุทธ์ วงศ์พุทธพิทักษ์) ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารบริษัทเทเวศประกันภัยที่กำลังปรับปรุงกิจการ และเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ CPB ด้วย

นี่คือบทสรุปสำคัญที่ว่าด้วยการดำรงอยู่ของทุนรากฐานดั้งเดิมของสังคมไทย

คำว่า "ทุน" ตามทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมือง ที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่เมื่อ 25 ปีที่แล้ว เกิดขึ้นจากภาพสะท้อนการเติบโตและยิ่งใหญ่ของธุรกิจครอบครัวไทย โดยมีระบบธนาคารครอบครัวเป็นแกนกลาง (อ่านในหนังสือ The Fall of Thai Banking) ความสำคัญจึงเน้นมาที่ "อำนาจของทุนภายใต้ระบบอุปถัมภ์ความคิด "นักคิดเก่า" ในยุคสงครามเวียดนามชุดนี้มีพลังไม่น้อย โดยถูกใช้มาอย่างเต็มที่ถึง 30 ปีแล้ว

การเสียสมดุลของสังคมไทยในบางช่วง บางครั้งอาจมาจากระบบความคิดที่ถูกใช้มานานเกินไป   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us