Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538
"เมธา โมชดารา" คลื่นลูกที่3 ของโมชดารา72 ปีแห่งการยืนหยัดคู่ตลาดการเงินการธนาคารไทย             
 


   
search resources

โมชดารา
เมธา โมชดารา
Home and Office Appliances




หากพูดถึงตลาดเครื่องนับ-เครื่องคัดธนบัตรและเหรียญแล้ว แทบจะไม่มีใครเลยที่ไม่รู้จักชื่อของโมชดาราในฐานะที่เป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องนับธนบัตรของบริษัท เดอ ลา รูย์ แห่งประเทศอังกฤษ

จนปัจจุบันกล่าวได้ว่าธนาคารพาณิชย์ของไทยจะมีเครื่องนับธนบัตร และเหรียญยี่ห้อเดอลารูย์ตั้งอยู่ในสำนักงานแทบทั้งสิ้น

แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ของโมชดารา ยุคสมัยได้ผ่านมาถึง 3 สมัย

เริ่มตั้งแต่ปี 2465 นายมารค โมชดารา ได้ก่อตั้งบริษัท โมชดารา ขึ้นบริเวณหัวมุมของถนนสีลม-บางรัก ด้วยธุรกิจปั๊มน้ำมัน, ขายยางรถยนต์, ปะยางด้วยไฟฟ้า และตั้งเป็นโรงเรียนฝึกหัดขายของไปในตัวด้วย อีกทั้งได้เป็นผู้จัดการขายเครื่องพิมพ์อยู่อีกบริษัทแห่งหนึ่ง

ด้วยความที่มีฝีมือในทางซ่อมแซมเครื่องพิมพ์ ทำให้เจ้านายพระองค์หนึ่งนำเครื่องคิดเลขยี่ห้อ "ฟาซิท" ซึ่งสมัยนั้นยังเป็นระบบกลไกอยู่มากมาให้ซ่อม จนเกิดประทับใจในการซ่อมของนายมารค จึงได้แนะนำให้เป็นเอเย่นต์เครื่องคิดเลขนั้นเข้ามาจำหน่าย ซึ่งนอกจากเครื่องคิดเลขแล้ว ยังมีเครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องอัดสำเนา, และอุปกรณ์อื่นๆ ของบริษัทฟาซิท ประเทศสวีเดนอีกหลายอย่าง

ต่อมานายมารคได้ย้ายบริษัทมาตั้งที่เชิงสะพานพิทยเสถียร เลขที่ 969 ถนนเจริญกรุง อันเป็นที่ตั้งของถนนโมชดารามาจนปัจจุบัน เมื่อย้ายมาที่ใหม่นี้เขาได้เพิ่มคำว่าพิมพ์ดีดท้ายชื่อเดิมเป็นบริษัทโมชดารา พิมพ์ดีดจำกัด ทำการบุกเบิกตลาดราชการด้วยการขายเครื่องใช้สำนักงานให้ ซึ่งยุคนั้นนับว่ากว่าจะขายได้ยากมากเพราะส่วนใหญ่ ตลาดจะเป็นของบริษัทคนต่างชาติทั้งสิ้น แต่เขาก็สามารถสร้างชื่อจนเป็นที่รู้จักในตลาดราชการขณะนั้นเป็นอย่างมากได้

กระทั่งเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และนายมารคได้เสียชีวิตลงเมื่อสงครามสงบในปี 2489 โดยมีนางพุดซ้อน ภรรยาสานงานต่อ กิจการยิ่งโตขึ้นเรื่อยๆ จนสามารถเปิดโรงเรียนพิมพ์ดีดขึ้น 2 แห่ง สอนทั้งพิมพ์ดีดไทย-อังกฤษ และขวเลข พร้อมกัยเป็นเอเย่นต์เครื่องพิมพ์ดีดยี่ห้ออื่นๆ ทั้งที่ทำในสวีเดน, เยอรมนี, และสหรัฐอเมริกา และเริ่มเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องนับธนบัตรของบริษัท เดอ ลา รูย์ ประเทศอังกฤษอีกด้วย

จนในปี 2503 นางพุดซ้อนได้มอบให้นายเล็ก ลูกชายทำแทน ซึ่งยุคนั้นธนาคารและสถาบันการเงินเริ่มมีบทบาทมากขึ้นในเศรษฐกิจไทย ซึ่งนายเล็กได้นำเครื่องลงบัญชียี่ห้อ "เคียนเซิล" ไปเสนอขายตามสถาบันการเงินและธนาคารด้วย จนได้รับการยอมรับไปทั่วประเทศ อีกทั้งยังได้เครื่องนับเครื่องคัดธนบัตร, เครื่องตอกเวลาทำงาน และเครื่องควบคุมเงินสด "อังเกอร์" ให้แก่ธนาคารออมสินทั่วประเทศด้วย เรียกได้ว่าเป็นยุคทองของโมชดาราพิมพ์ดีดก็ว่าได้

ต่อมานายเล็กได้ตัดคำหลังของชื่อบริษัทออกเหลือเพียง "โมชดารา" เท่านั้น และได้ขยายสาขาในต่างจังหวัด 3 แห่งคือที่เชียงใหม่, ขอนแก่น และหาดใหญ่

จากคลื่นลูกที่ 1 ยุคนายมาร์คและภรรยา มาคลื่นลูกที่ 2 ยุคนายเล็ก จนถึงคลื่นลูกที่ 3 คือนายเมธา ลูกชายนายเล็ก ที่นับเป็นอีกยุคหนึ่งที่โมชดารามีการเปลี่ยนโฉมเพื่อเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์

"ผมรับช่วงต่อคุณพ่อในปี 2530 และต้องทำการปรับปรุงเพื่อเข้ายุคสมัยโดยเปลี่ยนจากเครื่องจักรกลมาเป็นคอมพิวเตอร์ พลิกโฉมจากหน้ามือเป็นหลังมือ ถือว่าเราเริ่มต้นใหม่ เรียนกันใหม่ ลงทุนกันใหม่ก็ว่าได้ สิ้นงบในการเปลี่ยนแปลงไปหลายล้านบาท" เมธา โมชดารา ผู้รับภาระหนักอึ้งในการนำโมชดาราเข้าสู่ยุคคอมพิวเตอร์ กล่าวกับ "ผู้จัดการ"

จากตึกเก่าๆ ก็ถูกปรับสภาพเป็นตึกใหม่ กว้างและตกแต่งด้วยไม้และตู้โชว์อย่างสวยงาม ระบบออฟฟิศออโตเมชั่น รวมทั้งโครงสร้างต่างๆ ได้ปรับสภาพใหม่หมด มีการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการซ่อม เป็นแฟ้มข้อมูลลงในระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัย รวมทั้งการติดต่อระหว่างสาขาทั้ง 3 ก็เป็นไปในระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ มีการบันทึกการทำงานของช่างแต่ละคนรวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ได้ถูกนำมาใช้อย่างครบครัน

เมธาเล่าถึงการใช้สำนักงานที่บรรพบุรุษได้ค้าขายไว้โดยมาเน้นที่เครื่องนับ-คัดเหรียญและธนบัตรมากกว่า

"เพราะการแข่งขันมันเยอะและช่องทางการจำหน่ายก็มีมาก จะเห็นว่าเราสามารถหาซื้อเครื่องใช้สำนักงานเหล่านี้ได้ทุกแห่งไม่ว่าจะแม็คโครหรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป ฉะนั้นผมจึงต้องปรับแนวทางเพื่อให้มีจุดตลาดที่แน่นอน นั่นคือ อุปกรณ์การจัดการเงินสด หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับธนบัตรและเหรียญ"

จากตัวเลขของบริษัทปรากฏตลาดเครื่องนับ-คัด-บรรจุธนบัตรและเหรียญที่โมชดาราติดตั้งไปแล้วก็ตาม ธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ ทั่วประเทศมีถึง 4,000 กว่าแห่ง เป็นตลาดเอกชนมากที่สุดถึง 80% การเติบโตอยู่ระดับ 25%

"เรามีสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกันการเงินกว่า 40 ชนิดแล้ว ซึ่งล่าสุดเราจะนำปากกาตรวจธนบัตรปลอมเข้ามาจำหน่ายด้วย เป็นปากกาที่ใช้ง่ายเพียงขีดไปที่แบงก์เท่านั้น หากปลอมก็จะมีสีดำ แต่หากไม่ปลอมก็จะไม่เกิดอะไร ฉะนั้นพูดได้เลยว่าเรามีสินค้าครบครันแล้วตั้งแต่ระดับ 250 บาทไปจนถึงกว่า 10 ล้านบาท" เมธากล่าวพร้อมทิศทางของโมชดาราในอนาคตว่าจะยังคงเป็นสินค้าที่เกี่ยวกับการเงินการธนาคารต่อไป

ล่าสุดทางธนาคารแห่งชาติเขมรได้สนใจซื้อเครื่องนับ-คัดธนบัตร, เครื่องทำลายธนบัตรและอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับโมชดาราแล้ว ฉะนั้นจึงกล่าวได้อีกว่าในอนาคตจะต้องบุกไปในตลาดเพื่อนบ้านแน่นอน

ครบ 72 ปีแห่งยุคสมัย มาสู่คลื่นลูกที่ 3 ในยุคเมธา เขาจะเก็บเกี่ยวการเติบโตของตลาดการเงินเสรีได้มากน้อยเพียงใด เขาจะปรับเปลี่ยนอะไรอีกหรือไม่ และตึกเลขที่ 969 จะคงอยู่ต่อไปนานเท่าใด เมธาเท่านั้นที่รู้และต้องทำโจทย์นี้ด้วยตัวเขาเอง

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us