|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2549
|
|
Narita International Airport เบิกฤกษ์เปิดตัวโฉมใหม่ของ Terminal 1 ไปเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมานั้น สลัดภาพลักษณ์เก่าของสนามบินอายุ 28 ปีแห่งนี้ทิ้งไป พร้อมกับการประกาศจุดยืนใหม่ในการผันตัวไปสู่ e-Airport ชั้นนำของโลก
การสร้างสนามบินนานาชาติแห่งใหม่นอกเมืองหลวงทดแทน Haneda International Airport ที่อยู่ทางใต้ของมหานครโตเกียวในช่วงทศวรรษ 1960 นั้นดำเนินไปบนแรงเสียดทานระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มประชาชนที่ไม่เห็นด้วยซึ่งยืดเยื้อนานถึง 12 ปี
แต่ในที่สุด New Tokyo International Airport (ชื่อเดิมก่อนเปลี่ยนเป็น Narita International Airport เมื่อปี 2004) ก็สร้างเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้เมื่อ 20 พฤษภาคม 1978 เป็นเสมือนประตูบ้านเปิดไปสู่ Modern Japan รับผู้มาเยือนจากทั่วโลกและกลายเป็น Air Hub ที่มีจำนวนเที่ยวบินหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของเส้นทางสัญจรระหว่าง Asia-Pacific
กระแสขับเคลื่อนพลังเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียก่อให้เกิดภาวะการแข่งขันที่ขยายตัวขึ้นทุกด้านรวมทั้งอุตสาหกรรมการบิน ยกตัวอย่างเช่น CENTRAIR ท่าอากาศยานนานาชาติล่าสุดของญี่ปุ่นที่ลอยตัวอยู่บน man-made island กลางอ่าว Ise ทางตอนใต้ของเมือง Nagoya สะท้อนมิติใหม่ของท่าอากาศยานแห่งศตวรรษที่ 21 ที่โดดเด่นด้วยการผสมผสานสุดยอดเทคโนโลยีทางวิศวกรรมเข้ากับการอนุรักษ์สภาพแวดล้อมซึ่งได้เปิดใช้ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2005 หรือที่กำลังจะเปิดใช้ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าอย่างสนามบินสุวรรณภูมิก็ดีล้วนเป็นแรงกดดันจากภายใน และภายนอกส่งผลให้ Narita Airport ไม่สามารถหยุดนิ่งอยู่ได้แม้ว่าจะได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์และมากด้วยประสบการณ์ก็ตาม
หากย้อนกลับไปดูภูมิหลังของการก่อสร้างสนามบินแล้วเป็นไปได้ยากที่จะละทิ้งสนามบินนี้ไปสร้างสนามบินแห่งใหม่ให้โอ่อ่าอลังการที่สุดในโลกซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ตรงนั้นหากแต่จะใช้สิ่งที่มีอยู่แล้วอย่างไร ให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่า
ด้วยเหตุนี้การปรับปรุง Narita Airport ครั้งใหญ่จึงเป็นการตกผลึกความคิดที่ลงตัวทั้งในแง่ของงบประมาณและระยะเวลาที่ใช้ สถาปัตยกรรมภายนอกของสนามบินอาจยังดูเชยและโบราณแต่ภายในอาคารโดยสารได้รับการออกแบบใหม่ในบรรยากาศที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลายและเป็นกันเอง ซึ่งอย่างน้อยผู้โดยสารสามารถสัมผัสถึงความพิถีพิถันในการออกแบบนี้ได้จากการเลือกใช้เก้าอี้แบรนด์ Herman Miller ที่มีดีไซน์เรียบง่ายและให้ความสบาย คลายเมื่อยเมื่อได้นั่งมากกว่าจะมาคำนึงถึงแต่สนนราคาของเก้าอี้
พื้นที่ใช้สอยที่เพิ่มขึ้นกว่า 440,000 ตารางเมตร เกิดจากการสร้าง no.5 Satellite เสริมเข้าที่ South Wing ทำให้กว้างขวางขึ้น 2.4 เท่าตัวมี gate เพิ่มขึ้น 8 แห่งสำหรับเป็นประตูงวงช้างเชื่อมสู่เครื่องบิน 37 ประตูอันรวมถึงทางต่อพิเศษที่ทำเพื่อใช้เชื่อมกับเครื่อง Airbus 380 ที่จะประเดิมใช้โดย Singapore Airlines
ยิ่งไปกว่านั้น Narita Nakamise บนเนื้อที่ 3,500 ตารางเมตร เป็น duty-free ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น อยู่ที่ชั้น 3 บริเวณ departure area ซึ่งรวบรวมเอาร้านค้าแบรนด์เนมระดับโลก อาทิ RALPH LAUREN, EMPORIO ARMANI, COACH, BVLGARI, TIFFANY และยังย่อเอา Akihabara ศูนย์รวมเครื่องใช้ไฟฟ้าปลอดภาษีให้เลือกช็อปก่อนขึ้นเครื่อง
พร้อมกันนั้นได้จัดระเบียบการบินใหม่โดยรวมสายการบินในกลุ่มเดียวกันมาไว้ใกล้กันช่วยลดความคับคั่งของการจราจรทางอากาศและเพิ่มความสะดวกในการประสานงานระหว่างสายการบิน กล่าวคือพื้นที่ North Wing ใน Termainal 1 ใช้เป็นที่ทำการของกลุ่ม Sky Team ในขณะที่ Star Alliance นำทีมโดยเจ้าบ้าน ANA จัดไว้ที่ South Wing ส่วนใน Terminal 2 เป็นกลุ่มของ One World นำทีมโดยเจ้าบ้าน JAL*
นอกจากนี้ยัง integrate เอา Domestic Terminal สำหรับสายการบิน ANA ไว้ที่ Terminal 1 และสำหรับสายการบิน JAL จัดไว้ที่ Terminal 2 อำนวยความสะดวกในการต่อเครื่องไปสู่เมืองต่างๆ ทั่วญี่ปุ่น
หัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์พัฒนา e-JAPAN Program อยู่ที่การนำเสนอนวัตกรรมการสื่อสารล้ำสมัยมาใช้เพิ่มมาตรฐานการบริการเพื่อก้าวไปสู่ e-Airport ที่สะท้อนความเป็นประเทศผู้นำทางด้าน IT ของโลก ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน เช่น กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม บริษัทท่องเที่ยว บริษัทโทรคมนาคม บริษัทขนส่ง ที่ต้องพัฒนาไปในทางเดียวกัน
ส่วนหนึ่งที่สำเร็จเป็นรูปธรรมภายใน Terminal 1 คือระบบ CUSS (Common Use Self-Service) ของสายการบินในกลุ่ม Star Alliance ช่วยลดระยะเวลา Check In และการลดขั้นตอน security check ในการตรวจกระเป๋าเดินทางที่มีความปลอดภัยสูงด้วย EDS (Explosive Detection System) ซึ่งนอกจากจะสะดวกรวดเร็วแล้วยังลดพื้นที่ตั้งโต๊ะแยกต่างหากเพื่อเปิดกระเป๋าผู้โดยสารทีละใบ
อีกไม่นานการเดินทางไปต่างประเทศจะกลายเป็นเรื่องง่ายเพียงปลายนิ้ว ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบข้อมูลของสายการบินจองตั๋วเครื่องบิน จองโรงแรมที่พักในต่างประเทศ รวมถึงการขอ VISA (ของบางประเทศที่จำเป็นสำหรับคนญี่ปุ่น) ได้จากอินเทอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือ
เมื่อตกลงเลือกโปรแกรมการเดินทางเรียบร้อยทางบริษัทท่องเที่ยวจะส่งอีเมลมายังโทรศัพท์มือถือเพื่อยืนยันอีกครั้งก่อนจะชำระเงินผ่านทาง Internet Banking
ทันทีที่ได้รับการยืนยันจากธนาคาร e-Ticket จะถูกส่งเข้าไปเก็บไว้ที่โทรศัพท์มือถือของลูกค้าในขณะเดียวกันทางบริษัทท่องเที่ยวก็ส่งข้อมูลการเดินทางของลูกค้ารายนั้นไปยัง Immigration Authority ที่กระทรวงการต่างประเทศโดยอัตโนมัติ ก่อนวันเดินทาง บริษัทขนส่งจะมารับกระเป๋าเดินทางที่บ้าน เพื่อบันทึกข้อมูล e-Ticket ผ่าน infrared ของโทรศัพท์มือถือและออก e-Tag ติดกระเป๋า สำหรับ early check in นำไปเก็บไว้ที่สนามบิน
ดังนั้นสิ่งจำเป็นในวันเดินทางจึงเหลือเพียง carry bag, passport และโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้สายการบินจะคำนวณเวลา เส้นทางที่ใกล้และประหยัดที่สุดส่งเป็นอีเมลโดยอัตโนมัติไปยังผู้โดยสารอีกครั้งก่อนออกจากบ้าน
เมื่อถึงสนามบินก็สามารถตรงไปยัง Automated Check In Kiosk แล้วเข้า security gate ได้ทันทีซึ่งส่งข้อมูล e-Boarding Pass ในโทรศัพท์มือถือจะถูกส่งจาก security gate ไปยัง Immigration Authority ของสนามบิน
ในอนาคตอันใกล้เมื่อระบบทุกอย่างลงตัว ท่าอากาศยานแห่งนี้จะกลายเป็น e-Airport ที่สมบูรณ์แบบแห่งแรกในโลกและนี่ก็คือสิ่งที่ NARITA Naritai**
* ยกเว้น Air New Zealand ที่เป็นสมาชิก Star Alliance แต่ยังอยู่ที่ Terminal 2
** คำว่า Naritai ในภาษาญี่ปุ่นแปลตรงตัวได้ว่า "อยากจะเป็น"
|
|
|
|
|