Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ พฤษภาคม 2538








 
นิตยสารผู้จัดการ พฤษภาคม 2538
"เงินบาท" ตั้งมั่น ท่ามกลางวิกฤติเงินดอลลาร์             
 

 
Charts & Figures

การแทรกแซงค่าเงินบาทโดยธนาคารแห่งประเทศไทย


   
www resources

โฮมเพจ ธนาคารแห่งประเทศไทย

   
search resources

ธนาคารแห่งประเทศไทย
ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์
Economics




นับตั้งแต่พฤศจิกายนปี 2537 เป็นต้นมา นักบริหารเงินทุกคนแทบไม่มีใครคาดคิดว่าค่าเงินดอลลาร์ ซึ่งเป็นเงินสกุลหลักของโลกจะเสื่อมค่าได้อย่างรวดเร็วอย่างน่าใจหาย จากระดับที่กว่า 100 เยนถูกเทขายจนลงมาเหลือ 80.10 เยนต่อดอลลาร์ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์ค่าเงินดอลลาร์ เมื่อวันที่ 10 เมษายนที่ผ่านมา

วิกฤติการณ์ค่าดอลลาร์อ่อนตัวลงครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะระบบอัตราแลกเปลี่ยนแปลงของไทยเป็นระบบตะกร้าเงินผูกติดกับดอลลาร์ถ้าดอลลาร์อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเยน และมาร์กค่าเงินบาทก็จะอ่อนตัวลงไปด้วย แต่ทั้งนี้เงินบาทยึดกับดอลลาร์เพียง 80% เท่านั้นจึงทำให้ค่าเงินบาทลดลงน้อยกว่า ดังนั้นโดยเปรียบเทียบแล้วจะทำให้ค่าเงินบาทแข็งขึ้นเมื่อเทียบกับค่าดอลลาร์

ตามปกติค่าเงินบาทถูกกำหนดโดยกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน ที่ทำหน้าที่คำนวณสูตรกำหนดค่าเงินบาทตามน้ำหนักสกุลเงินในตะกร้าเงินทุกวัน และจะประกาศค่าเงินบาทกลางทุกเช้าก่อนที่จะเปิดตลาดค้าเงินในประเทศ ซึ่งนับตั้งแต่ระยะเวลาที่ดอลลาร์อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง ค่าเงินบาทแข็งตัวขึ้นมาโดยตลอดจาก 25.1 บาทต่อดอลลาร์ เดือนมกราคม และทยอยปรับตัวแข็งขึ้นตามค่าดอลลาร์ที่ทำลายสถิติค่าต่ำสุดลงมาเรื่อยๆ จนล่าสุดวันที่ 10 เมษายน ค่าเงินบาทแข็งเป็นประวัติการณ์ที่ 24.54 บาทต่อดอลลาร์

การปล่อยให้ค่าเงินบาทมีความเคลื่อนไหวในลักษณะนี้ ทำให้หลายฝ่ายแสดงความกังวลว่าธนาคารชาติควรที่จะมีมาตรการออกมา เพื่อช่วยเหลือเงินบาทไม่ให้แข็งขึ้นตามค่าดอลลาร์โดยการปรับสูตรตะกร้าเงินตามที่ไอเอ็มเอฟเสนอ หรือการปรับเงินทุนสำรองทางการเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากวิกฤติการณ์ค่าดอลลาร์

อย่างไรก็ตาม ถ้าพิจารณาความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทตามดอลลาร์ในช่วงที่เกิดวิกฤติการณ์นั้น จะมีข้อสังเกตว่าไม่ว่าดอลลาร์จะผันผวนรุนแรงอย่างไร เงินบาทก็ยังคงมีเสถียรภาพและค่อยๆ ปรับตัวตามแนวโน้ม และในบางวันที่ค่าดอลลาร์อ่อนตัวลงมาเป็นจุดต่ำสุดครั้งใหม่ติดกัน สองวันแต่ค่าเงินบาทยังคงอยู่ที่ระดับเดิม และมีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินเพิ่มขึ้นเพียง 3-4 สตางค์เท่านั้น

ฝ่ายวิจัยบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ซิทก้าให้คำอธิบายว่า ค่าเงินบาทที่เคลื่อนไหวอยู่นี้ เป็นค่าที่ไม่แข็งตัวตามสูตรตะกร้าเงินอย่างแท้จริง แต่เป็นค่าที่ทุนรักษาระดับธนาคารชาติแทรกแซง กำหนดให้อ่อนตัวกว่าที่ควรจะเป็น เพราะนโยบายการกำหนดค่าเงินบาทของธนาคารชาติมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมเรื่องการส่งออกเป็นหลัก

ทั้งนี้เพราะการส่งออกเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในอัตราที่สูง โดยจะเห็นว่าอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2537 อัตรา 8.5% เป็นอัตราที่ธนาคารชาติประมาณการใหม่หลังจากที่ตั้งประมาณไว้ว่าทั้งปีจะขยายตัวเพียง 7.8% ด้วยเหตุผลว่าการส่งออกขยายตัวเกินคาดจากที่ตั้งเป้าไว้ 16.7% แต่การส่งออก ณ สิ้นปี 2537 ขยายตัวสูงถึง 19.7% มูลค่า 1,102,500 ล้านบาท

ถ้าหากการส่งออกได้รับความกระทบกระเทือนจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยราคาสินค้าไทยแพงขึ้น เพราะค่าเงินบาททที่แข็งกว่าดอลลาร์ และที่สำคัญถ้าหากค่าเงินบาทแข็งกว่าค่าเงินของประเทศในกลุ่มเพื่อนบ้านแถบอาเซียนด้วยกันแล้ว จะทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางการค้ากับประเทศเหล่านี้ทันที

ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนธนาคารชาติ ต้องยื่นมือเข้ามาพยุงค่าเงินบาทไว้ไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งตัวอย่างรวดเร็ว เพราะนอกจากจะกระทบต่อการส่งออกแล้วตลาดการเงินในประเทศก้จะผันผวนแล้วยังส่งผลต่อเสถียรภาพของค่าเงินบาท ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงรักษาไว้เพื่อจูงใจให้มีกระแสเงินทุนไหลเข้ามาลงทุนเพื่อชดเชยเงินออมของประเทศที่มีน้อยกว่าการลงทุน

จากสถิติในวันที่ 5 มกราคม 2537 ดัชนีค่าเงินบาทแสดงการคำนวณค่าเงินบาทจากตะกร้าเงินตามสูตรจึงมีค่าเท่ากับ100 แต่ต่อมาค่าดัชนีปรับตัวลดลงต่ำกว่า 100 แสดงว่าการคำนวณค่าเงินบาทนั้นไม่เป็นไปตามสูตรตะกร้าเงินโดยมีการกำหนดค่าเงินบาทให้อ่อนกว่าค่าตามสูตรที่แท้จริง

ชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการอาวุโสธนาคารแห่งประเทศไทยในฐานะผู้จัดการกองทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยนกล่าวว่า ปัจจุบันการกำหนดค่าเงินบาทจะไม่ใช้ตามสูตรตะกร้าเงินเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องพิจารณาการซื้อขายตราต่างประเทศในตลาดไทย รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มด้วย

สำหรับภาวะในขณะธนาคารชาติ แนะนำให้ผู้ที่ต้องเกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ ควรที่จะซื้อบริการคุ้มครองความเสี่ยงของธนาคารพาณิชย์ เพื่อป้องกันการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน และถ้าเป็นไปได้ธุรกิจที่ไม่มีความชำนาญด้านอัตราแลกเปลี่ยน ควรที่จะกู้เป็นเงินสกุลบาทมากกว่าที่จะเห็นแก่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่างประเทศที่ แม้ว่าจะต่ำกว่ากู้เงินบาทครึ่งต่อครึ่งแต่ถ้าเทียบกับความเสี่ยงของความผันผวนแล้วไม่คุ้มที่จะเสี่ยง และควรที่จะเชื่อมั่นให้มากที่สุดว่าระบบตะกร้าเงินที่ใช้อยู่ขณะนี้ลดแรงกระทบจากภายนอกประเทศได้เป็นอย่างดีที่สุดแล้ว

   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us