|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2549
|
|
ชัยยุทธ พลายเพ็ชร์ ดีไซเนอร์หนุ่มใหญ่วัย 42 ปี ผู้สร้างสรรค์ Mr.P เป็นผู้ร่วมบุกเบิกแนวทางดีไซน์งานของพร็อพพาแกนดามาแต่แรก ชัยยุทธมีบุคลิกขี้เล่น ทะเล้นทะลึ่ง ดูเหมือนไม่แคร์สังคม แต่ขณะเดียวกันก็เป็นคนขี้อาย ไม่ผิดแผกไปจาก Mr.P ที่เขาออกแบบขึ้นมาเอง
ชัยยุทธจบการศึกษาด้านออกแบบนิเทศศิลป์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร แล้วระเห็จไปทำงานในวงการโฆษณาเหมือนกับสาธิต กาลวันตวาณิช รุ่นพี่ผู้ชักนำเขาสู่แวดวง Product Design ที่พร็อพพาแกนดา
แม้ประสบการณ์งานโฆษณาจะสอนให้ชัยยุทธเรียนรู้ในเรื่องไอเดีย อารมณ์ และเข้าใจความเป็นมนุษย์ แต่ทว่าไอเดียในการออกแบบ ตีความ และสร้างความหมายใหม่ๆ ให้กับรายละเอียดเล็กน้อยในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่มาจากงานอดิเรกของเขา
"ผมชอบเฝ้าดูพฤติกรรมมนุษย์ แล้วก็ชอบคิดไปเรื่อยๆ ดูว่า เขามีวิธีกินข้าวกันแบบไหน ดูว่าคนสนใจเรื่องอะไร สรยุทธคุยเรื่องอะไร เพราะเรากำลังออกแบบสินค้าให้คนได้ใช้ และใช้ได้จริงๆ โดยสอดแทรกความเป็นมนุษย์เข้าไปในสินค้านั้น"
ชัยยุทธยกตัวอย่างผลงานที่คิดได้จากความคับข้องใจต่อชามก๋วยเตี๋ยว ซึ่งเป็นความอึดอัดเช่นเดียวกับอีกหลายคน "คืนหนึ่ง นั่งกินบะหมี่ แล้วน้ำซุปอร่อยมากจนอยากกินให้หมด พฤติกรรมคนเราก็จะเริ่มเอียงชามเพื่อตักน้ำซุป ก็คิดว่า เอ๊ะ! ทำไมไม่ทำชามให้เอียงเล็กน้อย แล้วตัดมุมนิดนึง และก็มีหูสำหรับบิดให้ชามตั้งได้ ชามก็จะเอียงพอดีที่ตักน้ำซุปได้สะดวก"
ขณะที่ผลงาน One Man Try ที่ตัดเทปกาว สินค้าขายดีที่สุดในคอลเลกชั่น Mr.P ก็ได้ไอเดียจากประโยค "อย่ามาเล่นลิ้นกับฉัน" ที่ได้ยินโดยบังเอิญแล้วเกิดปิ๊งคำว่า "เล่นลิ้น" นำมาตีความเป็นสินค้า
One Man Shy สินค้า Mr.P ตัวแรกก็มาจากความคิดเล่นๆ ว่าอวัยวะใดมาทำเป็นสวิตช์โคมไฟแล้วน่าจะขายได้ และหลังจากขัดเกลาคอนเซ็ปต์ด้วยดีไซน์และปรับแต่งไอเดียให้ชัดเจนด้วยอารมณ์ขัน Mr.P จึงมีบุคลิกที่ชัดเจนและกลายเป็น ICON ตัวสำคัญของพร็อพพาแกนดาในทันที
"เสน่ห์ของ Mr.P น่าจะอยู่ที่บุคลิกของมันที่ชัดเจนมาก และก็อยู่ที่การนำเอาความทรมาน ความทะลึ่ง และเซ็กซ์ มาตีความใหม่ให้ออกมาน่ารัก เปลี่ยนมุมมองของคน ซึ่งสิ่งที่เรายกมาจริงๆ มันเป็นเรื่องใกล้ตัว อยู่ข้างในความรู้สึกเรา พอเอามาเล่น เปลี่ยนรูปแบบวิธีมองใหม่ คนก็เลยรับง่าย การสื่อสารก็เลยสำเร็จ"
สมดังคำกล่าว One man's ceiling is another man's floor
กว่าจะมาลงตัวที่คาแรกเตอร์ Mr.P แบบทุกวันนี้ ชัยยุทธยอมรับว่าต้องค้นหาตัวเองเยอะ ลองผิดลองถูกอยู่เยอะ แต่ก็ถือว่าคุ้มค่า เพราะแฟนๆ ที่หนาแน่นของ Mr.P ทำให้ชัยยุทธแอบฝันต่อไปว่าน่าจะมี Mr.P Shop ร้านค้าแห่งรอยยิ้มและเสียงหัวเราะเพิ่มขึ้นมาในเครือพร็อพพาแกนดาในเร็ววัน ก็เป็นได้
ผลงานที่ได้รับรางวัล เช่น "Saltepper" "Shark" ได้รับรางวัล Good Design Award จากประเทศสหรัฐอเมริกา ผลงาน "Ap-Peel" ยังได้รับรางวัล G-Mark จากญี่ปุ่น และรางวัล Red Dot Award จากเยอรมนีด้วย นอกจากนี้ยังมีผลงานชื่อ Help! ได้รับรางวัลจากงาน 100% Design จากอังกฤษ ฯลฯ
|
|
|
|
|