|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2549
|
|
ก่อนที่ปรารถนาจะเริ่มทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับตัวเลข เงินๆ ทองๆ แต่ญาณศักดิ์กลับมีประสบการณ์ใกล้ชิดกับเรื่องนี้มาแทบจะเรียกได้ว่าตั้งแต่เกิดเลยทีเดียว
ญาณศักดิ์เป็นลูกคนที่ 4 ในครอบครัวชาวจีนที่มีลูกรวมกัน 12 คน บิดาของเขามีภรรยา 2 คน โดยตัวเขาเป็นลูกภรรยาคนแรก และมีพี่น้องร่วมท้อง 9 คน ด้วยความที่เป็นครอบครัวใหญ่ ชื่อสกุลจึงแตกเป็น 2 สาย คือ มโนมัยพิบูลย์ และมโนมัยวิบูลย์
ปู่ของญาณศักดิ์เริ่มสร้างตัวจากกิจการโรงรับจำนำ โดยมีบิดาของเขาเป็นผู้ช่วยขยายกิจการจนใหญ่เพียงพอที่ปู่จะแบ่งสมบัติให้ลูกๆทุกครอบครัวแยกกันออกไปตั้งตัว โดยบิดาของญาณศักดิ์ออกมาทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ก่อนเปิดกิจการร้านขายทองในเวลาต่อมา
ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมปีที่ 5 ที่โรงเรียนเซนต์คาเบรียล ญาณศักดิ์มักวุ่นอยู่กับการช่วยงานในโรงรับจำนำของปู่ พออายุได้ 15-16 ปี ทั้งเขาและพี่น้องมักใช้วันหยุดช่วยพ่อทำงานหน้าไซต์งานก่อสร้าง บางครั้งหากพ่อไม่ว่าง เขาจะคอยตรวจรับวัสดุก่อสร้าง หรือหิ้วเงินไปจ่ายค่าแรงคนงานแทนพ่อ
จนปี 2527 ขณะที่ยังเรียนอยู่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รัฐบาลโดยสมหมาย ฮุนตระกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศลดค่าบาท ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างของบิดาประสบปัญหาถึงขั้นต้องตัดสินใจปิดกิจการ
แม้ทางบ้านจะลำบาก แต่ด้วยเหตุที่ญาณศักดิ์ไม่เคยใช้ชีวิตกินเที่ยวเหมือนเด็กวัยรุ่นทั่วไป เพราะเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลโรงเรียนมาตั้งแต่ชั้นประถมจนถึงในรั้วจุฬาฯ ญาณศักดิ์จึงไม่รู้สึกเดือดร้อนมากนักเพราะไม่มีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นด้านอื่น
ตั้งแต่เด็กญาณศักดิ์ฝันอยากมีธุรกิจส่วนตัว ระหว่างเรียนวิศวะที่จุฬาฯ บิดาเริ่มเปิดร้านขายทอง เมื่อเรียนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 แทนที่จะร่วมงานกับปูนซิเมนต์ไทยซึ่งเรียกตัวเขามาแล้วในทันที ญาณศักดิ์ตัดสินใจลองไปทำงานในร้านทองของพ่อซึ่งยังคงเป็นธุรกิจกงสี แต่ทำได้ไม่นานเขาก็เริ่มเอ่ยปากขอปันพื้นที่เล็กๆ ตรงหัวมุมภายในร้าน เพื่อเปิดเป็นร้านขายทองของตนเองขึ้นมาอีกแห่งหนึ่ง โดยชักชวนญาติพี่น้องอีก 2-3 คนมาช่วยกันทำ
หลังใช้เวลา 3 เดือน วางระบบบัญชีให้ร้านทองที่ตั้งขึ้นเอง ญาณศักดิ์จึงเริ่มทำงานที่ฝ่ายการตลาด บริษัทปูนซิเมนต์ไทย แต่ยังเข้ามาดูแลร้านทุกวันหยุด ว่าไปแล้วธุรกิจของเขาไปได้ค่อนข้างดี เพราะรายได้ที่มาจากร้านนี้คือทุนที่ญาณศักดิ์ใช้ส่งเสียน้องชายอีก 2 คนให้เรียนจนจบหมอ
ส่วนปรารถนาเป็นลูกสาวคนสุดท้องของ ศ.นพ.กำจัด มงคลกุล เธอมีพี่ชาย 2 คน โดยคนกลางซึ่งเธอสนิทสนมที่สุด คือปัณฑิต มงคลกุล ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยปริญญ์ จิราธิวัฒน์ CFO ของเซ็นทรัล กรุ๊ป
เธอจบชั้นมัธยมปลายจากโรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เรียนต่อปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังเรียนจบจึงเข้าทำงานกับ USAID ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ และเรียน MBA ที่ธรรมศาสตร์ไปพร้อมๆ กัน
ในชั้นเรียน MBA คือที่ที่เธอได้พบกับญาณศักดิ์ ซึ่งปูนซิเมนต์ไทยส่งเข้ามาเรียน ก่อนจะได้รับทุนไปเรียน MBA ต่อที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา วิทยาเขตบูมมิงตัน สหรัฐอเมริกา ในอีก 1 ปีต่อมา
ทั้งคู่แต่งงานกันเพียงไม่กี่เดือนก่อนที่ญาณศักดิ์จะบินไปเรียนต่อสหรัฐอเมริกา โดยปรารถนาตัดสินใจพักการเรียนปริญญาโทไว้ชั่วคราว เพื่อไปอยู่ด้วย
เมื่อกลับมาเมืองไทย ญาณศักดิ์เข้าทำงานต่อที่ปูนซิเมนต์ไทย ก่อนย้ายข้ามวงการมาอยู่กับบริษัทหลักทรัพย์เจเอฟ ธนาคม และบริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง
ส่วนปรารถนากลับเข้าเรียนต่อปริญญาโทจนจบ และเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน บริษัทไทยอินเตอร์แอร์พอร์ต ก่อนย้ายมาอยู่กับเซ็นทรัลพัฒนา และไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จนได้รับโปรโมตขึ้นเป็น CFO เมื่อปี 2541
|
|
|
|
|