|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2549
|
|
อะไรเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้บริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์เล็กๆ แห่งนี้สามารถก้าวเข้าไปเป็นบริษัทซอฟต์แวร์คนไทยเพียงหนึ่งเดียวที่
จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ได้เกือบสองปีแล้ว และมีทีท่าว่าจะเติบโตเป็นบริษัทคนไทยที่ก้าวเข้าไปแข่งขันในระดับภูมิภาคในอีกเร็ววันนี้
แม้จะประกาศว่าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai (Market for Alternative Investment : mai) ในหมวดธุรกิจขนาดกลาง ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2547 ก็ตาม แต่บริษัท โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) จำกัด (มหาชน) หรือ scl ก็น่าจะเป็นบริษัทผู้ดำเนินกิจการด้านการผลิตซอฟต์แวร์จำหน่ายเพียงหนึ่งเดียวที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้ ไม่รวมบริษัทในหมวดเดียวกันที่ดำเนินกิจการทั้งขายฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือแม้แต่การบริการรับติดตั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เอาไว้ด้วยกันมากกว่า
โดยปกติแล้วโซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) ไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากนัก นอกจากบุคคลที่คลุกคลีอยู่ในวงการพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อธุรกิจ หรือแม้แต่ซอฟต์แวร์ดูแลงานเอกสาร จนกระทั่งล่าสุด โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) เปิดตัวอย่างเป็นทางการต่อสาธารณชนในฐานะผู้จัดทำรายการ "ไอทีนิวส์" ออกอากาศทางช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา
ด้วยความที่เป็นคนหนุ่มและผ่านประสบการณ์ล้มเหลวในการทำธุรกิจพัฒนาซอฟต์แวร์ ในบริษัทชื่อคล้ายคลึงกันเมื่อครั้งยุคเศรษฐกิจฟองสบู่แตกมาแล้ว ทำให้นิทัศน์ มณีศิลาสันต์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ ผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทในเวลาเดียวกัน ได้เรียนรู้การทำธุรกิจด้านซอฟต์แวร์ในมุมมองที่ต่างจากคนที่มีเงินทุนหนา และมองธุรกิจนี้อย่างฉาบฉวย
นิทัศน์และภรรยามีอาชีพเป็นโปรแกรมเมอร์ ได้ลงทุนทำธุรกิจซอฟต์แวร์ และตั้งชื่อใหม่เป็นโซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) อย่างเช่นทุกวันนี้ ทั้งคู่เป็นผู้บริหารของบริษัท จนถึงวันนี้ โดยมีเพื่อนร่วมวงการอย่างชัชพงศ์ มัญชุภา ปัจจุบันรั้งตำแหน่งรองกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดและการจัดการ เข้ามาช่วยเหลือหลังจากตั้งบริษัทได้ไม่นานนัก
เริ่มต้นบริษัทมีสมาชิกเพียง 6 คน หลังจากฟันฝ่าอุปสรรคในการทำตลาดด้วยการเดินออกไปหาลูกค้าด้วยตนเอง ตลอดจนศึกษาแนวโน้มของซอฟต์แวร์ที่องค์กรต่างๆ สนใจว่าไม่ได้มีเฉพาะระบบบัญชีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้หลังจากนั้นไม่กี่ปีบริษัทก็ประสบความสำเร็จในแง่ของยอดขายเกิน 50 ล้าน และสามารถเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ได้สำเร็จ โดยใช้เวลาในการเจรจากับคณะกรรมการของตลาดเกือบปี
กลายเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการด้วยการพัฒนาซอฟต์แวร์ขายเพียงอย่างเดียวที่สามารถเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งนี้ได้สำเร็จ และจากการกระจายหุ้นในตลาดนั่นเอง ทำให้บริษัทสามารถขยายกิจการให้เติบโตได้
ปัจจุบันโซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) มีพนักงานกว่า 60 ชีวิต มีรายได้ที่รับรู้ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมามากกว่ารายได้ทั้งปีของปีที่ผ่านมากว่า 50 เปอร์เซ็นต์
บริษัทยังคงดำเนินกิจการทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาซอฟต์แวร์อยู่หลายรูปแบบ ทั้งรับพัฒนาระบบงานตามความต้องการของลูกค้า เช่น ระบบงานลงทะเบียน นักศึกษา ระบบการเงิน ระบบงบประมาณ ระบบพัสดุไปจนถึงระบบบริหารศูนย์รถยนต์
ขณะที่โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) ประสบความสำเร็จในการจับซอฟต์แวร์ของตัวเองลงกล่องและวางขายตามร้านค้าได้สำเร็จ ซึ่งหลายคนปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นสูตรสำเร็จอย่างหนึ่งที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ต้องไปถึง
ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูปที่ชื่อ Benefit ถูกนำมาใส่กล่องและแบ่งแยกออกเป็นหลายประเภท แล้วแต่ความต้องการของลูกค้า อาทิ ระบบบัญชีและระบบบริหารร้านค้าปลีก บริษัทเลือกที่จะขายขาดโดยในกล่องจะบรรจุทั้งวิธีการติดตั้งและวิธีการใช้งานเสร็จสรรพในตัว
เช่นเดียวกับโปรแกรมสำเร็จรูปที่เรียก ว่า Benefit e-Office 2000 ที่แบ่งออกเป็นทั้งโปรแกรมระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์โปรแกรมระบบสืบค้นงานเอกสารบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมระบบติดตามงานเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ สารบรรณ และโปรแกรมจัดเก็บค้นหาเอกสารผ่านสื่อบันทึกข้อมูล วางขายในรูปแบบของกล่องซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเช่นเดียวกัน
โดยซอฟต์แวร์ ทั้งหมดมีจุดเด่นอยู่ที่ทำงานอยู่บน Web based ทั้งหมด เพื่อรองรับการใช้งานซอฟต์แวร์ในอนาคต ซึ่งมีแนวโน้มจะใช้งาน กันบน Web based เสียเป็นส่วนใหญ่
ไม่นับรวมการขายเครื่องมือในการสร้างซอฟต์แวร์แบบต่างๆ หรือที่เรียกว่า Tools ที่บริษัทคิดค้นเองและนำออกขาย เพื่อเป็นการสร้างมูลค่าให้กับเครื่องมือของตนด้วย
ไปจนถึงการกระจายความเสี่ยงให้กับธุรกิจ ด้วยการตัดสินใจเตรียมแตกไลน์บริษัทในเครือ โดยถือหุ้นทั้งหมด เพื่อทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกซอฟต์แวร์ของตนไปยังต่างประเทศ โดยเริ่มงานแรกด้วยการเจรจาการค้ากับคู่ค้าในประเทศมาเลเซีย ที่สนใจจะให้พัฒนาสินค้าในกลุ่ม e-Office ให้มีภาษาท้องถิ่นคือ ภาษามลายู และเป็นผู้จัดจำหน่ายในประเทศมาเลเซีย ก่อนรุกไปยังประเทศอื่นๆ ที่สนใจต่อไป
ตลอดจนการก้าวมาเป็นผู้จัดทำรายการไอทีทางโทรทัศน์ และการทำธุรกิจเว็บไซต์เพื่อแลกเปลี่ยนสิ่งของหรือบราเธอร์ระหว่างบริษัทเอกชนหรือหน่วยงานซึ่งซื้อแฟรนไชส์ชื่อเว็บไซต์มาจากต่างประเทศในเร็ววันนี้อีกด้วย
โซลูชั่น คอนเนอร์ (1998) เป็นหนึ่งในตัวอย่างของบริษัทซอฟต์แวร์ของไทยที่เติบโตมาจากการเป็นบริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์เล็กๆ แต่ด้วยความตั้งใจ มุ่งมั่น และสร้างจุดแข็งให้กับธุรกิจของตน ตลอดจนกระจายความเสี่ยงในการทำธุรกิจออกไปในโอกาสและจังหวะที่พอเหมาะ ทำให้บริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์เล็กจะกลายเป็นซอฟต์แวร์เฮาส์ขนาดใหญ่ได้อย่างไม่ยากนัก
|
|
|
|
|