|
Today's News
Cover Story
New & Trend
Indochina Vision
GMS in Law
Mekhong Stream
Special Report
World Monitor
on globalization
Beyond Green
Eco Life
Think Urban
Green Mirror
Green Mind
Green Side
Green Enterprise
Entrepreneurship
SMEs
An Oak by the window
IT
Marketing Click
Money
Entrepreneur
C-through CG
Environment
Investment
Marketing
Corporate Innovation
Strategising Development
Trading Edge
iTech 360°
AEC Focus
Manager Leisure
Life
Order by Jude
The Last page
ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ ฉบับ กรกฎาคม 2549
|
|
2 ปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นยุคทองของธุรกิจเรือสินค้า จากการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจโลก ผลักดันให้อัตราค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นชนิดก้าวกระโดด ช่วยให้ผลการดำเนินงานของบริษัทเรือสินค้าพุ่งขึ้นตามไปด้วย
โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทหนึ่งที่ได้ประโยชน์จากปรากฏการณ์ดังกล่าว เห็นได้จากผลการดำเนินงานงวดปี 2547 และ 2548 ของบริษัท ซึ่งรายได้จากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นในอัตรา 119% และ 42% ตามลำดับ เช่นเดียวกับกำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นถึง 331% และ 37%
อย่างไรก็ตาม ค่าระวางเรือที่ปรับลดลงอย่างรวดเร็วส่งผลให้ผลการดำเนินงานของโทรีเซนไทยฯ ในปีนี้ทรุดลงตามไปด้วย ถึงแม้รายได้งวด 6 เดือนแรกจะยังคงเพิ่มขึ้นแต่เมื่อ หักค่าใช้จ่ายแล้วกำไรสุทธิกลับลดลงกว่า 44% (ดูรายละเอียดผลการดำเนินงานจากตารางประกอบ)
รายได้ของโทรีเซนไทยฯ ที่ผ่านมา ได้จากค่าระวางเรือในสัดส่วนเกินกว่า 90% มาโดยตลอด ในขณะที่ธุรกิจเดินเรือมีวัฏจักรขึ้นลง เพื่อลดผลกระทบจากการแกว่งตัวของผลดำเนินงานในช่วงขาลงของธุรกิจ โทรีเซนไทยฯ จึงได้ขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจเกี่ยวเนื่องอื่นๆ โดยเฉพาะบริการเรือขุดเจาะปิโตรเลียมกลางทะเล ผ่านทางบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ จำกัด
เมอร์เมด มาริไทม์ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2526 ให้บริการในธุรกิจพาณิชยนาวี ครอบคลุมตั้งแต่การบำรุงรักษาแพชูชีพและอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในทะเล การตรวจสอบสภาพเรือใต้ผิวน้ำ งานบริการเทคนิคใต้น้ำโดยใช้นักประดาน้ำหรือเครื่องตรวจสอบระบบรีโมตคอนโทรล และในปีที่ผ่านมาได้ขยายธุรกิจไปสู่บริการเรือขุดเจาะปิโตรเลียมกลางทะเล ด้วยการซื้อเรือขุดเจาะปิโตรเลียม 2 ลำ ในเดือนเมษายนและกรกฎาคม
โทรีเซนไทยฯ เข้าถือหุ้นเมอร์เมด มาริไทม์ ตั้งแต่ปี 2538 และปีที่ผ่านมาได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 63.14%
"การลงทุนในเมอร์เมดฯ เป็นยุทธศาสตร์ของทีมบริหาร เพราะธุรกิจขนส่งจะขึ้นๆ ลงๆ เมอร์เมดฯ จะเป็นตัวช่วยให้รายได้ของเราสม่ำเสมอ ขึ้น" นุช กัลยาวงศา ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี/การเงิน โทรีเซนไทยฯ กล่าว
โทรีเซนไทยฯ เชื่อว่าธุรกิจดังกล่าวมีอนาคตดี จากแนวโน้มของธุรกิจพลังงานที่มีทีท่าว่าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นไปอีกหลายปี ประกอบกับเรือขุดในลักษณะเดียวกับที่เมอร์เมดฯ ดำเนินการอยู่ ซึ่งเป็นเรือขุดที่ใช้ในทะเลที่มีคลื่นลมสงบและมีความลึกของทะเลไม่มากนักมีเพียง 22 ลำทั่วโลกเท่านั้น จึงน่าจะได้ผลตอบแทนคุ้มค่าการลงทุนภายในไม่เกิน 6 ปี ขณะนี้เรือทั้ง 2 ลำ มีลูกค้าเช่าไปจนถึงไตรมาส 4 ของปี 2552 แล้ว โดยอัตราค่าเช่าเรือดังกล่าวในปัจจุบันอยู่ในช่วงวันละ 40,000-44,000 เหรียญ และจะเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 55,000 เหรียญในปี 2552
ผลการดำเนินงานของเมอร์เมดฯ ในงวดไตรมาส 2 สร้างส่วนแบ่งรายได้ให้กับโทรีเซนไทยฯ 607 ล้านบาทและมีส่วนแบ่งกำไรสุทธิ 83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดไตรมาสแรกที่มีส่วนแบ่ง 341 ล้านบาท และ 52 ล้านบาทตามลำดับ และคาดการณ์ว่ายอดรายได้รวมของเมอร์เมดฯ ในปีนี้จะมีถึง 3,000 ล้านบาท
"ปีหน้าเมอร์เมดฯ จะมี growth ประมาณ 20% และคาดว่าในอีก 2-3 ปีข้างหน้าสัดส่วนรายได้ จากเมอร์เมดฯ จะเพิ่มขึ้นเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมด" นุชกล่าว
นอกจากเมอร์เมดฯ แล้ว โทรีเซนไทยฯ ยังให้ความสำคัญกับธุรกิจต่อเนื่องจากการขนส่งทางเรือเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจขนถ่ายสินค้าและลอจิสติกส์ ซึ่งขณะนี้มีโกดังให้เช่าอยู่ที่แหลมฉบัง ชลบุรี ซึ่งกำลังหาพื้นที่ก่อสร้างโกดังเพิ่มขึ้น รวมทั้งยังให้ความสนใจในธุรกิจศูนย์กระจายสินค้า (Distribution Center) อีกด้วย
สำหรับธุรกิจเดินเรือซึ่งเป็นธุรกิจหลักนั้น ผู้บริหารโทรีเซนไทยฯ เชื่อว่า อัตราค่าระวางในปีนี้ได้มาถึงจุดต่ำสุดแล้ว โดยช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ค่าระวางเฉลี่ยวันละ 11,000 เหรียญ และในไตรมาส 3 น่าจะเพิ่มขึ้นอีกวันละ 200-300 เหรียญ ซึ่งเป็นเรื่องปกติของธุรกิจ เพราะไตรมาส 3 และ 4 ถือเป็นช่วงที่ตลาดมีความต้องการสูง
กลยุทธ์สำคัญประการหนึ่งในการบริหารกองเรือของโทรีเซนไทยฯ คือ การแบ่งเรือออกให้บริการ 3 ลักษณะในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ การให้บริการแบบประจำเส้นทาง (Liner Service) การเช่าเหมาลำเป็นเที่ยว (Voyage Charter) และการให้เช่าเหมาเป็นระยะเวลา (Time Charter) โดยขณะนี้มีลูกค้าในส่วนของประจำเส้นทางคิดเป็นสัดส่วน 35-40% และการเช่าเหมาเป็นระยะเวลาอีก 42%
"การที่เราแบ่งสัดส่วนอย่างนี้ เวลาที่ค่าระวางตกเราก็ยังมีฐานลูกค้า liner อยู่กับเราอย่างน้อย 500-600 ล้านบาท ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นก็ไม่กระทบมาก เพราะลูกค้า 42% ที่เป็นการเช่า time charter ลูกค้าเป็นคนจ่ายค่าน้ำมันเอง"
ปัจจุบันกองเรือของโทรีเซนไทยฯ มีจำนวน 46 ลำ คิดเป็นระวางบรรทุกสินค้า กว่า 1.2 ล้านเดทเวทตัน มีอายุเฉลี่ยประมาณ 17 ปี คาดว่าในปีหน้าจะต้องซื้อเรือมาทดแทนที่ขายไปคิดเป็นขนาดระวาง 60,000 เดทเวทตัน
|
|
|
|
|