Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2549
46 ปี THAI ยังบินหลงเป้า?             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 

   
related stories

ภารกิจแรกของอภินันทน์ สุมนะเศรณี

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
Aviation




"ผู้จัดการ" เคยนำเสนอเรื่องของ "การบินไทย" มาหลายต่อหลายครั้ง และแทบจะไม่มีครั้งไหนเลยที่จะไม่กล่าวถึงปัญหาของสายการบินแห่งชาติแห่งนี้ ที่เขียนกี่ครั้ง กี่ครั้ง ก็ยังเป็นปัญหาเดิม

สภาพการแข่งขันด้านการบินที่เข้มข้นขึ้นทุกขณะ การเข้ามาของสายการบินต้นทุนต่ำ ประกอบกับปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่มักทำสถิติราคาสูงสุดในรอบหลายสิบปีแบบวันต่อวัน ไปจนถึงสภาพเศรษฐกิจทั่วโลกที่ยังเอาแน่เอานอนไม่ได้ ปัญหาไข้หวัดนกที่แม้แต่องค์การอนามัยโลกก็ยังหาวิธีแก้ไขการแพร่ระบาดไม่ได้ กลายเป็นปัญหาหนักอกของสายการบินทั่วโลก ชนิดที่ต้องกุมขมับกันอยู่ทุกวินาที

เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สายการบินมาเลเซียแอร์ไลนส์ หรือ Malaysia Airlines กลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลก เมื่อประกาศรายได้ล่าสุดในช่วงปีที่ผ่านมาแบบน่าตกใจ เนื่องจากสายการบินแห่งชาติของมาเลเซียแห่งนี้มีตัวเลขขาดทุนจากการดำเนินการถึงกว่า 1.3 พันล้านริงกิต

และเพื่อพยุงความเสี่ยงล่อแหลมที่ใครๆ บอกว่าสายการบินแห่งนี้อาจจะล้มละลายได้ Malaysia Airlines ต้องยอมละทิ้งเส้นทางการบินในประเทศทั้ง 19 เส้นทาง โดยเปิดทางให้กับ AirAsia สายการบินต้นทุนต่ำเข้ามาบินแทนเส้นทางทั้งหมด เช่นเดียวกับการโละระบบเส้นทางการบินระหว่างประเทศเสียใหม่ ผู้บริหารต้องมานั่งกุมขมับดูว่าเส้นทางการบินไหนไม่ก่อให้เกิดกำไร และต้องรื้อเส้นทางนั้นออกอย่างปฏิเสธไม่ได้

ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับ Malaysia Airlines เป็นผลกระทบอย่างชัดเจนจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น เทียบกับ load factors หรือ จำนวนผู้โดยสารต่อลำนั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัด แผนการตัดต้นทุนรายได้เพื่อช่วยให้สายการบินยังอยู่ได้ยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น แต่ยังรวมถึงการตัดกำลังพลหรือเลย์ออฟพนักงานซึ่งไม่จำเป็นออกกว่า 3,200 คน

สิ่งที่เกิดขึ้นกับ Malaysia Airlines กลายเป็นบทเรียนสำคัญ ที่ทำให้สายการบินทุกแห่งกลับมามองตัวเองอีกครั้ง ไม่นับรวมสายการบินอื่นๆ ที่ล้มหายตายจากไปจากวงการการบินโลกไปแล้วก่อนหน้านี้หลายปี เพราะพิษเศรษฐกิจ ระบบบริหาร ไข้หวัดนกและโรคซาร์ส

รวมถึงสายการบินไทยที่หลายคนกำลังกังวลกันว่า จะเดินไปในทิศทางไหนในช่วงที่ธุรกิจการบินทั่วโลกมีแต่ปัญหารุมเร้าเช่นนี้

สำหรับ "การบินไทย" ในสายตาคนทั่วไปแล้วเป็นสายการบินแห่งชาติ ที่บินไปไหนก็พ่วงเอาสัญลักษณ์ของความเป็นไทย และเป็นคนไทยติดสอยห้อยตามปีกเครื่องบินไปด้วย

ย่อมไม่แปลกนัก เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Malaysia Airlines เป็นสิ่งที่หลายคนก็อดคิดไม่ได้ว่า จะเกิดขึ้นกับการบินไทยบ้างหรือไม่ในอนาคต เพราะการบินไทยก็คงเป็นสายการบินที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดแบบเดียวกันกับสายการบินอื่นเช่นกัน

เมื่อปี 2543 ซึ่งเป็นปีแรกที่ "ผู้จัดการ" เริ่มโครงการ "ผู้จัดการ 100" ในการคัดสรรบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ที่สามารถทำยอดรายได้รวมสูงที่สุด 100 อันดับแรกของแต่ละปี "การบินไทย" เป็นบริษัทแรกที่ถูกจัดให้เป็นอันดับ 1 ของบริษัทที่มียอดรายได้สูงสุดจากผลประกอบการที่แสดงออกมาในปี 2542

เรื่อง "ศึกในอกของเบอร์หนึ่ง" ที่นำเสนอเป็นเรื่องจากปก ในครั้งนั้นได้สรุปใจความสำคัญปัญหาของเบอร์หนึ่งของผู้จัดการ และสายการบินแห่งชาติของไทยเอาไว้อย่างชัดเจน (รายละเอียด อ่านจากนิตยสารผู้จัดการ ฉบับเดือนมิถุนายน 2543 หรือ www. gotomanager.com)

แทบไม่น่าเชื่อว่า จากการพูดคุยกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบินไทยอีกหลายครั้ง ปัญหาเก่าที่เคยเล่ากันไว้แทบทั้งหมดจนถึง ปัจจุบันก็ยังไม่ได้หายไปไหน แต่ปัญหาก็ยังเป็นปัญหา ยากที่จะประเมินว่าแท้ที่จริงแล้วปัญหาดังกล่าวยังไม่ได้รับการแก้ไข หรือแก้ไขไม่ได้

ปัญหาเก่าที่นำมาเล่าใหม่ได้อีกครั้ง มีทั้งเรื่องของความคล่องตัวในการบริหารงาน แม้จะได้ชื่อห้อยท้ายว่าบริษัทมหาชน และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ แล้วก็ตาม แต่จนถึงปัจจุบันการบินไทยก็ยังมีสถานะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบจำนวนมาก

นี่กระมังเป็นผลให้การตัดสินใจแต่ละครั้งต้องผ่านขั้นตอนที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน จนไม่ทันกับการแข่งขันกับสายการบินคู่แข่ง โดยเฉพาะการตัดสินใจเกี่ยวกับการปรับปรุงห้องโดยสาร และสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ เทคโนโลยีเพื่อความบันเทิง ประเภทจอทีวี หูฟัง แม้แต่โปรแกรมหนังที่ฉายบนเครื่องที่บินระหว่างประเทศก็ดูเหมือนจะยุ่งยากซับซ้อนไปเสียหมด

เช่นเดียวกันกับปัญหาเรื่องการปรับลดต้นทุนการดำเนินงาน แม้รูปแบบของปัญหาจะเปลี่ยนไปตามสภาพของการบินไทยที่เติบโต และขยายไซส์ขึ้น แต่เรื่องต้นทุนก็ยังเป็นเรื่องหนักอกของสายการบินเบอร์หนึ่งของไทยอยู่เช่นเดิม

อดีตบอร์ดการบินไทยผู้หนึ่งเคยกล่าวกับ "ผู้จัดการ" เอาไว้ว่า การบินไทยมีปัญหาเรื่องวิธีบริหาร และนโยบายเรื่องเส้นทางการบินมาตลอดระยะเวลายาวนาน เป็นที่รู้กันดีว่า เส้นทางในประเทศของการบินไทยนั้นมีการเลือกบินและยกเลิกบินแบบไม่สมเหตุสมผลหลายครั้ง เป็นผลให้เส้นทางในประเทศขาดทุนมาตลอด แต่ที่การบินไทยอยู่รอดมาได้นาน นั่นเป็นเพราะต้องยอมรับว่าการบินไทยประสบความสำเร็จในการบินในประเทศใกล้เคียงหรือในแถบเอเชียด้วยกัน ซึ่งช่วยถัวเฉลี่ยให้รายได้การบินไทยยังน่าพอใจอยู่บ้าง

"Live with in your mean" คือคำพูดของอดีตบอร์ดผู้คลุกคลีอยู่ในการบินไทยอยู่นานหลายปีได้ให้ข้อคิดเอาไว้

เขาบอกกันว่า การที่การบินไทยต้องรู้ว่าเส้นทางไหนตัวเองถนัด ตัดทิ้งเส้นทางบินไกลๆ ไม่เป็นผลกำไร เช่น กรุงเทพฯ-นิวยอร์ก ซึ่งสายการบินไทยเป็นสายการบินเดียวที่บินระยะทางไกลติดต่อ 17 ชั่วโมง จากกรุงเทพมหานคร ตัดผ่านขั้วโลกเหนือ มุ่งหน้าเข้าสหรัฐอเมริกา โดยไม่แวะพักที่ไหน ทั้งๆ ที่บรรทุกผู้โดยสารไปเพียงสองร้อยกว่าชีวิต แทนที่จะแวะพักเพื่อรับและส่งคนที่ญี่ปุ่นดังเช่นก่อนหน้านี้ ซึ่งแม้จะสร้างภาพลักษณ์ แต่เมื่อคิดถึงต้นทุน เส้นทางบินนี้ก็ยังขาดทุนวันยังค่ำ ไม่นับรวมการที่ต้องนำนักบินและแอร์โฮสเตสในสายการบินที่ต้องใช้ถึง 3 กะ ช่างและวิศวกรการบินที่บินพ่วงไปกับเครื่องบินลำดังกล่าวด้วย

สมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการบริหารการบินไทย กล่าวกับ "ผู้จัดการ" ถึงปัญหาในเรื่องต้นทุน ตลอดจนการลดขั้นตอนต่างๆ ในการทำธุรกิจของการบินไทยว่า การบินไทยเองพยายามที่จะแก้ไขเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายที่สูงนี้ด้วยการแบ่งแยกงานต่างๆ ออกเป็นหน่วยธุรกิจ (Business Unit : BU) ในทางบัญชี ซึ่งเป็นการรวม cost ไว้ที่เดียวหรือที่เรียกว่า cost-profit center แต่ละ BU ก็ให้อำนาจกับผู้จัดการในการตัดสินใจ เพื่อที่จะให้การตัดสินใจนั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น ลดความซับซ้อนในการทำงานไปในตัวด้วย แต่ทั้งหมดก็ยังต้องอยู่ภายใต้กรอบนโยบายขององค์กรในฐานะที่ยังเป็นรัฐวิสาหกิจ

ประเด็นปัญหาของการบินไทยที่ไม่ขาดหายไปอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปัญหาเรื่อง "ยุทธศาสตร์" เพราะหัวใจสำคัญของธุรกิจการบินคือ "เครื่องบิน" แต่สิ่งที่สร้างรายได้กลับไม่ใช่ตัวเครื่องบินโดยตรง แต่กลับเป็น "การตลาด" และ "ยุทธศาสตร์" ในการบริหารจัดการ เครื่องบินให้เกิดประโยชน์และสร้างรายได้สูงสุด

ปัจจุบันการบินไทยยกเลิกเที่ยวบินบางเที่ยวที่สำคัญด้วยเหตุผลเรื่องต้นทุนที่สูง ประกอบกับจำนวนผู้โดยสารที่น้อย แต่เพิ่มเที่ยวบินไปยังเป้าหมายบางแห่งเพื่อสร้างภาพลักษณ์ และเชื่อว่าจะสร้างกำไรด้วยเครื่องบินลำใหม่ ลำเก่า คละเคล้ากันไป

อาทิ เส้นทางการบินกรุงเทพฯ-จิตตะกอง, กรุงเทพฯ-นิวยอร์ก ไม่รวมกับกรุงเทพฯ-แอฟริกาใต้ ซึ่งจะออกบินเที่ยวแรกในสิ้นปีนี้

ไม่นับรวมปัญหาเล็กน้อยที่เกิดขึ้นในองค์กร คือความขัดแย้งของพนักงานฝ่ายต่างๆ ในองค์กร ซึ่งเป็นปัญหาหนักอกให้กับดีดีแทบทุกยุคทุกสมัย ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยเงินเดือนที่สูงขึ้น หรือโบนัสหลายเดือนในแต่ละปีแต่อย่างใด

เนื้อหาหลักที่ปรากฏอยู่ใน "สารจาก ดีดี" ที่เรืออากาศโท อภินันทน์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนใหม่ของการบินไทย ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา พิมพ์ออกมาแจกจ่ายให้พนักงานการบินไทยไปทั่วองค์กรในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ระบุใจความเอาไว้ชัดเจน บ่งบอกถึงปัญหาที่เรื้อรังดังกล่าวนี้ว่า

"สิ่งที่ผมต้องขอร้องจากพวกเราต่อไปจากนี้คือ ขอความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียวในหมู่ของพวกเรากันเอง ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำงานหรือเกิดจากส่วนตัว หนักนิดเบาหน่อย ขอช่วยให้อภัยกันและกัน อโหสิกรรมกันบ้าง จับมือกันมาร่วมกันทำงานให้เกิดประโยชน์กันดีกว่า คนดีๆ ด้วยกันคงไม่มีใครดีกว่ากัน "ความดี คือความดี" เลือดการบินไทยที่ดีด้วยกัน อย่ามาทำลายกันเอง มาร่วมกันทำลายเลือดเสียที่เป็นพิษให้หมดไปจะดีกว่า ทำงานให้มีเพื่อน อย่าทำงานให้มีพวก"

ปัญหาการแบ่งพรรคแบ่งพวกของพนักงาน โดยเฉพาะพนักงานบางระดับ เป็นตัวถ่วงสำคัญในการปรับตัวของการบินไทยเพื่อแข่งขันกับคู่แข่ง ในยุคน้ำมันแพง คู่แข่งอย่างสายการบินใกล้เคียง อาทิ สิงคโปร์แอร์ไลน์ที่แข็งแกร่ง ไปจนถึงภาวะที่สายการบินต้นทุน ต่ำเข้ามาบินทับเส้นทางแย่งลูกค้าในประเทศ และเส้นทางบินใกล้ๆ บางแห่ง เช่นเดียวกับการเข้ามาของสายการบินจากประเทศในตะวันออกกลางที่ร่ำรวยกว่าประเทศไทย อย่างสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งผู้บริหารหลายรายก็แสดงความวิตกกังวลออกมาอย่างเห็นได้ชัด

สายการบินตะวันออกกลาง เช่น สายการบินเอมิเรตส์ เป็นสายการบินที่มีเครื่องบินขนาดใหญ่ ขนผู้โดยสารข้ามประเทศจากจุดศูนย์กลางที่ไปได้แทบทุกทวีป ด้วยเส้นทางบินที่ใกล้กว่า ขณะที่ค่าตั๋วยังถูกกว่า ยิ่งเครื่องบิน Airbus A380 ซึ่งเป็นเครื่องบินจากค่าย Airbus ถูกส่งถึงมือสายการบินฝั่งตะวันออกกลางเร็วและมากขึ้นเท่าใดในอนาคต ความได้เปรียบในเรื่องการขนผู้โดยสารของสายการบินเหล่านี้ยิ่งมีมากกว่าการบินไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us