Search Resources
 
Login เข้าระบบ
สมัครสมาชิกฟรี
ลืมรหัสผ่าน
 
  homenewsmagazinecolumnistbooks & ideaphoto galleriesresources50 managermanager 100join us  
 
 


bulletToday's News
bullet Cover Story
bullet New & Trend

bullet Indochina Vision
bullet2 GMS in Law
bullet2 Mekhong Stream

bullet Special Report

bullet World Monitor
bullet2 on globalization

bullet Beyond Green
bullet2 Eco Life
bullet2 Think Urban
bullet2 Green Mirror
bullet2 Green Mind
bullet2 Green Side
bullet2 Green Enterprise

bullet Entrepreneurship
bullet2 SMEs
bullet2 An Oak by the window
bullet2 IT
bullet2 Marketing Click
bullet2 Money
bullet2 Entrepreneur
bullet2 C-through CG
bullet2 Environment
bullet2 Investment
bullet2 Marketing
bullet2 Corporate Innovation
bullet2 Strategising Development
bullet2 Trading Edge
bullet2 iTech 360°
bullet2 AEC Focus

bullet Manager Leisure
bullet2 Life
bullet2 Order by Jude

bullet The Last page


ตีพิมพ์ใน นิตยสารผู้จัดการ
ฉบับ กรกฎาคม 2549








 
นิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2549
ภารกิจแรกของอภินันทน์ สุมนะเศรณี             
โดย น้ำค้าง ไชยพุฒ
 

   
related stories

46 ปี THAI ยังบินหลงเป้า?

   
www resources

โฮมเพจ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)

   
search resources

การบินไทย, บมจ.
Aviation
อภินันทน์ สุมนะเศรณี




แม้การบินไทยเพิ่งจะได้เรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี มานั่งเก้าอี้กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี คนที่ 14 เป็นที่เรียบร้อย เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคมที่ผ่านมา แต่ปัญหาที่หมักหมมอยู่ในองค์กรแห่งนี้ก็ยังคงอยู่

หลังงานแถลงข่าวและพิธีเซ็นสัญญาจ้างเรืออากาศโทอภินันทน์ สุมนะเศรณี ให้เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ หรือดีดี ของบริษัทการบินไทย เสร็จเรียบร้อย เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2549 ท่ามกลางสักขีพยานเต็มห้อง โดยเฉพาะทายาทของผู้ก่อตั้งสายการบินไทย

อภินันทน์ ดีดีคนใหม่ ก็เริ่มงานแรกด้วยการเป็นประธานงานเปิดภาพเขียน ผู้ก่อตั้ง "การบินไทย" ซึ่งจัดแสดงไว้บริเวณโถงชั้น 1 ของอาคารสำนักงานใหญ่ พร้อมกับทายาทผู้ก่อตั้งที่เดินทางมาร่วมงานด้วยตลอดทั้งวัน ก่อนเริ่มออกงานอื่นๆ อีกหลายครั้งในวันต่อมา

อภินันทน์ในวัย 57 ปี ดำรงตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายปฏิบัติการเป็นตำแหน่งสุดท้าย ก่อนได้รับเลือกให้เป็นดีดีคนล่าสุด หลังจบการศึกษาจากโรงเรียนนายเรืออากาศ ก็เริ่มเข้าปฏิบัติงานกับการบินไทยในตำแหน่งนักบินที่ 3 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2518 จนถึงปัจจุบันก็ย่างเข้าสู่ปีที่ 31 แล้ว

ความที่เป็นลูกหม้อของการบินไทยมากว่า 30 ปี และคลุกคลีในฐานะกัปตันของสายการบินไทยมายาวนาน ตลอดจนแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาแบบที่เขาบอกว่า "เข้าตา" ทั้งกรรมการและนายกรัฐมนตรี ณ เวลานั้น ทำให้คะแนนของเขาเข้าวิน และชนะใจจนได้เลือกเป็นดีดีในที่สุด

หากนับจำนวนดีดีการบินไทยทั้งสิ้น 14 คน และ 5 คนในบรรดาดีดีที่ได้รับตำแหน่งหลังจากที่การบินไทยปลดแอกจากกองทัพอากาศ มาดำเนินการในฐานะ รัฐวิสาหกิจที่มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จนกลายเป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อภินันทน์ถือว่าเป็นดีดีคนเดียวของการบินไทยที่มาจากคนในสายนักบินโดยตรง ตั้งแต่ร้อยตำรวจโทฉัตรชัย บุญยะอนันต์ นักเรียนเก่าอังกฤษที่เติบโตมาจากบริติช แอร์เวย์ จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งเป็นดีดีการบินไทยคนแรกในยุคที่การบริหารงานในการบินไทย พ้นมือของกองทัพอากาศ ที่เต็มไปด้วยประสบการณ์ด้านการตลาดการบินอย่างหาตัวจับยากคนหนึ่งของไทย

ตามมาด้วยธรรมนูญ หวั่งหลี ลูกหม้อของการบินไทยคนแรกที่สามารถไต่เต้าขึ้นไปถึงตำแหน่งระดับผู้บริหารสูงสุด โดยเข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ต่อจากฉัตรชัย บุญยะอนันต์ เมื่อปลายปี 2536 แต่เขาผู้นี้เติบโตมาจากสายการเงินและบัญชีมาตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีก่อนได้รับตำแหน่งดีดีในที่สุด

จนถึงยุคพิสิฐ กุศลาไสยานนท์ ที่โตมาจากตำแหน่ง สายวางแผน ก่อนถูกปลดระวางให้นักการตลาดอย่างกนก อภิรดี มานั่งเก้าอี้ดีดีการบินไทยแทน และเป็นดีดีการบินไทยคนแรกที่มาจากคนนอก

ด้วยความที่เป็นคนในเป็นกัปตัน และทำงานคลุกคลีอยู่กับเส้นทางการบินมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปี จนเชื่อได้ว่า เขาน่าจะเป็นคนที่รู้ซึ้งถึงปัญหาที่อยู่ลึกๆ ของการบินไทยได้ดีไม่แพ้คนอื่น โดยเฉพาะหากมองในฐานะพนักงานการบินไทยเอง

ขณะที่มุมมองทางการตลาดที่แฝงอยู่ในตัวของอภินันทน์ถึงขนาดที่สมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรมการบริหาร ออกปากว่า

"มีคนนอกเข้ามาก็ fail บ้างเหมือนกัน ดังนั้นผมมีความมั่นใจว่าคนในอย่างกัปตันอภินันทน์ไม่ใช่เป็นเพียงแค่นักบินที่ดีเท่านั้น แต่ยังมี marketing mind set ที่ดีด้วย น่าจะนำมา daily operation ผ่านไปได้"

อภินันทน์จึงเป็นความหวังใหม่ของทั้งบอร์ดและพนักงานการบินไทยที่รอคอยการแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมานานในการบินไทย ไม่น้อยในเวลานี้

ตามธรรมเนียมของผู้บริหารใหม่ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นบริษัทที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ใน SET 100 และ SET 50 คือการออกไปพบปะกับนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อแสดงวิสัยทัศน์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนเหล่านั้น

แต่สำหรับอภินันทน์ โจทย์แรกของเขาหลังจากที่เข้ารับตำแหน่งไม่ต่างอะไรกับการเข้ามาปัดกวาดบ้านที่รกรุงรังอยู่

"ผมได้เปรียบคนอื่นตรงที่รู้ว่าจุดไหนเป็นจุดด้อย จุดไหนเป็นจุดแข็ง ดังนั้นผมจะทำงานได้ง่ายกว่า ผมก็แก้จุดด้อยและเสริมจุดแข็ง ซึ่งผมเองได้กล่าวเอาไว้ในการแสดงวิสัยทัศน์ว่า ผมจะสร้างความมั่นคงให้กับสายการบิน ในธรรมชาติลึกๆ แล้วคนที่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบิน ผมเชื่อว่าสิ่งนี้จะเป็นสิ่งแรกที่เขาจะต้องทำ ไม่ใช่เรื่องการบริการที่ดีเพียงอย่างเดียว หรือการบินไปทุกเส้นทางและแม้แต่การมีเครื่องบินที่ดีที่สุดเพียงเท่านั้น" เขากล่าวกับ "ผู้จัดการ" หลังเข้ารับตำแหน่งใหม่ได้ไม่ถึงเดือน

โจทย์เรื่องข้อด้อยของสายการบินแห่งชาติแห่งนี้ อภินันทน์ว่าคงหนีไม่พ้นเรื่องโครงสร้าง ด้วยความที่เป็นรัฐวิสาหกิจ โครงสร้างการบริหารที่ติดขัดอยู่กับระเบียบราชการ การจะผ่านเรื่องใดๆ แต่ละครั้ง มักต้องใช้คนเซ็นชื่อกำกับยาวนับสิบชื่อ ส่งผลถึงความล่าช้าในการทำงานและการตัดสินใจ อย่างชัดเจน อาทิ การจัดตารางการบิน เปลี่ยนแปลงเส้นทางการบินต้องได้รับการแก้ไขให้ตรงกับความต้องการและทันท่วงทีกับสถานการณ์

เขายอมรับว่าระบบรัฐวิสาหกิจนั้นไม่สามารถรื้อ หรือทำการ re-engineering ระบบย่อมทำไม่ได้ หนำซ้ำอาจจะก่อให้ปัญหาเกิดความซับซ้อนและยุ่งยากกว่าเดิม

ผลงานแรกของอภินันทน์ในความพยายามแก้ไขปัญหาเรื่องโครงสร้างที่ทับซ้อนและยุ่งยากจนตัดสินใจดำเนินธุรกิจล่าช้าที่เห็นชัดเจนมากที่สุดในวันนี้คือ การพยายามให้อำนาจการตัดสินใจแก่ BU (Business Unit) นั้นโดยตรง และลดโครงสร้างในการตัดสินใจไม่ให้ซับซ้อน โดยการยุบและรวมบางหน่วยงานเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับสถานการณ์ และเกิดอำนาจการตัดสินใจที่รวดเร็ว

อภินันทน์ยังเข้าไปแก้ที่หัว เพื่อให้หางไม่ส่าย ด้วยการเข้าไปพูดคุยกับผู้บริหารระดับสูงเพื่อให้เกิดบทบาทในการทำงานที่เปลี่ยนไปจากเดิม

"COO หรือ Chef Operation Officer ซึ่งในปัจจุบันการบินไทยเรียกว่า DO หรือรองกรรมการผู้อำนวย การใหญ่ ฝ่ายปฏิบัติการ ผมเองไม่อยากจะเรียก DO เพราะผมต้องการเปลี่ยนจากการทำงานแค่ Job description มาเป็นการเรียก COO ซึ่งกลายเป็นทำงานตามบทบาท ซึ่งจะครอบคลุมเนื้อหาการทำงานได้มากกว่าเดิมเหมือนกัน ผมเองก่อนหน้านี้เป็น DD ตอนนี้ไม่ใช่ บทบาทผมคือ CEO เช่นเดียวกันกับ CFO และ CMO ซึ่งหากให้บทบาทกับแต่ละคนแล้ว ก็ทำให้การทำงานง่าย ถือเป็นการแก้ที่หัว" อภินันทน์บอก

"ต้องรุก ฉับพลัน เด็ดขาด" คือนโยบายและยุทธศาสตร์ของการบินไทยในแนวความคิดของดีดีคนใหม่ และเป็นที่มาของแนวความคิดในการแก้ไขปัญหาความไม่แน่นอนในเรื่องการใช้สนามบินแห่งใหม่ และการใช้สนามบินดอนเมืองควบคู่กันไป ซึ่งอาจจะมีความเป็นไปได้ด้วยในเวลาเดียวกัน

อภินันทน์เป็นเจ้าของความคิดในการเปิดตัวสายการบินใหม่เพื่อทำธุรกิจการบินในประเทศและประเทศใกล้เคียง ในชื่อสายการบินเอื้องหลวง เพื่อลดปัญหาการแบกรับภาระค่าใช้จ่ายจากการเช่าพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิให้กับเครื่องบินที่ต้องบินในประเทศ ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่าสนามบินดอนเมืองหลายเท่าตัวในกรณีที่รัฐประกาศให้สายการบินต้นทุนต่ำสามารถใช้สนามบินดอนเมืองไปพร้อมกับสายการบินสุวรรณภูมิ

เขาบอกว่า ไม่เพียงแต่ช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการเช่าสนามบินลดลง แนวความคิดในการก่อตั้งสายการบินใหม่ซึ่งการบินไทยถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์นี้ยังจะช่วยในเรื่องการแยกบัญชีและลดค่าใช้จ่ายระหว่างการบินในประเทศและต่างประเทศชัดเจน เพราะที่ผ่านมาการบินไทยต้องประสบปัญหาตัวเลขบัญชีของเส้นทางบินในประเทศซึ่งขาดทุนมักกลบตัวเลขบัญชีสวยๆ ของเส้นทางบินระหว่างประเทศเสียทุกครั้งไป

ทุกวันนี้อภินันทน์มีกองเอกสารบนโต๊ะคอยให้เซ็นและพิจารณานับร้อย ต้องออกงานแถลงข่าวเพื่อเปิดตัวและการบินไทยไปในเวลาเดียวกัน ขณะที่เขายอมรับว่าแทบไม่มีเวลาเดินทางไปพบปะคู่ค้าหรือไปต่างประเทศเพื่อดูงานอะไรมากนัก นอกจากการอยู่กับที่ทำงาน เพราะภารกิจส่วนใหญ่อยู่ที่การ "ปัดกวาดบ้าน" ให้สะอาดที่สุดเสียก่อน ซึ่งเขาก็ยอมรับว่าต้องใช้เวลากวาดนานทีเดียว   




 








upcoming issue

จากโต๊ะบรรณาธิการ
past issue
reader's guide


 



home | today's news | magazine | columnist | photo galleries | book & idea
resources | correspondent | advertise with us | contact us